ข้าพเจ้านาย ศิริชัย บุญธง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตรID-10 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสังอำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์

มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับเด็กตัวเล็กๆที่เกิดในชุมชนชนบท ที่ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯและกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง ผมคือหนึ่งในคนเหล่านั้นที่ได้มีโอกาสได้กลับมาทำงานและพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง ในพื้นที่ที่ผมเคยใช้ชีวิตมาตั้งแต่เด็กๆ หมู่บ้านโพธิ์ไทร ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ หลังจากได้รับข่าวและรายละเอียดของโครงการที่เปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ผมก็ได้ตัดสินใจที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ด้วยความรู้สึกที่อยากมีส่วนร่วมในการสร้างสิ่งดีๆให้กับชุมชนของตัวเอง

ผมขออนุญาตแนะนำตัวอีกครั้ง ผมชื่อศิริชัย บุญธง ชื่อเล่นชื่อ เอ็ม จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยจบจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมทำให้ผมมีความรู้ทางด้านทักษะการแสดงออก การควบคุมชั้นเรียน การประสานงาน การจัดการเอกสารทางราชการ รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่ามีประโยชน์และช่วยในการทำงานในโครงการ โดยใช้ทักษะที่ได้ศึกษามาต่อยอดและประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อให้งานที่ออกมาประสบความสำเร็จและนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวในบทความนี้

พื้นที่ในความรับผิดชอบเป็นพื้นที่ของตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งในตำบลนี้มีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน จึงมีการแบ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งกลุ่มของเราได้รับผิดชอบในการสำรวจทั้งหมด 4 หมู่บ้าน อันได้แก่

หมู่บ้านหนองม้า     หมู่ที่ 5 
หมู่บ้านโพธิ์ไทร     หมู่ที่ 8 
หมู่บ้านหนองหว้า    หมู่ที่ 9 
หมู่บ้านโนนรัง      หมู่ที่ 15

ด้วยกระบวนการทำงานเป็นการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล รวมถึงการจัดหาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ งานฝีมือและการท่องเที่ยวต่างๆ ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่รับผิดชอบ จากจุดเริ่มต้นในการค้นหาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นภายในพื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้าน จึงได้ข้อสรุปออกมา โดยทางกลุ่มของเราจะมุ่งเน้นไปในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มทอผ้าบ้านโนนรัง ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวบรวมงานฝีมือการทอผ้าและมีสมาชิกในกลุ่มจากทั้ง 4 หมู่บ้านนั้นเอง

การจัดการอบรมเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ
ศูนย์การเรียนรู้การทอผ้าบ้านโนนรังเป็นหนึ่งในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้การรับรองและจดทะเบียนตามมาตรฐานของกลุ่มOTOP นวัตวิถี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งในเรื่องการทอผ้าของพื้นที่ตำบลกระสัง ด้วยความที่กลุ่มทอผ้าบ้านโนนรังมีสมาชิกกระจายไปทั้ง 4 หมู่บ้าน ซึ่งทีมของเราได้รับผิดชอบและดูแลในการสำรวจ จึงทำให้งานที่รับผิดชอบในการยกระดับผลิตภัณฑ์ดูเป็นสิ่งที่ง่าย แต่ในความง่ายก็มีความยากในตัวของมันเอง เพราะกลุ่มทอผ้านั้นเข้มแข็งในตัวเองอยู่แล้ว จากการที่สมาชิกหลายๆคนของกลุ่มทอผ้ามีความสามารถและประสบการณ์ที่สามารถยกย่องได้ว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนและมีผลงานที่ได้รับการยอมรับหลายๆผลงานด้วยกันทำให้เป็นเรื่องยากที่จะยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งๆขึ้นไป ซึ่งในส่วนนี้หลังจากที่ได้ปรึกษาร่วมกับทางกลุ่มทอผ้า ทำให้เราได้ข้อสรุปว่าชาวบ้านอยากได้ลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและอยากได้ความรู้เพิ่มเติมในการทำสีหรือมัดย้อม และความรู้อื่นๆเกี่ยวการทอผ้าที่มีในปัจจุบัน จากการลงสำรวจแล้วจัดอบรมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การทอผ้าทำให้ผมได้เรียนรู้หลายๆสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเลี้ยงหม่อน ขั้นตอนเลี้ยงไหม การปั่นด้าย การมัดย้อม การทอผ้าและอีกหลายๆขั้นตอนในกระบวนการการทำผ้าให้ออกมา 1 ผืน ยังทำให้เราได้เปิดโลกกว้างที่หลายๆคนรวมถึงผมอาจจะยังไม่รู้ว่า การทอผ้านั้นไม่ใช่การทอผ้าออกมาเป็นผืน ผืนเดียวแล้วค่อยนำไปแปรรูปให้เป็นผ้าถุง ผ้าขาวม้า ผ้าพันคอหรือในรูปแบบอื่นๆ แต่เป็นการทอที่เจาะจงเฉพาะรูปแบบ แบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งก็จะมีกรรมวิธีที่แตกต่างกันไปตามชนิดของผ้า นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้หรือเป็นการนับหนึ่งใหม่ของตัวผมเองเมื่อได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเกี่ยวกับการทอผ้า

การจัดการอบรม
ครั้งที่ 1 การจัดกิจกรรม SWOT เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน ร่วมไปถึงอุปสรรค์ และโอกาสในพื้นที่
ครั้งที่ 2 การอบรมการออกแบบลายผ้า ในหัวข้อ“การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างต้นแบบเพื่อพัฒนาหรือยกระดับสินค้า/ผลิตภัณฑ์”
ครั้งที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติมาตรฐานงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในชุมชน

ในการทำงานช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม จะมีงานที่รับมอบหมายในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ตามเป้าหมายสูงสุดของโครงการเป็นการเก็บและสำรวจข้อมูลประชากรทุกหลังคาเรือนของหมู่บ้านที่ได้รับผิดชอบ ซึ่งแต่ละหมู่บ้านก็จะมีความยากง่ายในการเก็บข้อมูลที่ต่างกันไป อย่างเช่น ตัวผมเป็นคนในพื้นที่ โดยตัวผมเองอาศัยอยู่ในหมู่บ้านโพธิ์ไทรหมู่ที่ 8 ทำให้การลงพื้นที่เก็บและสำรวจข้อมูลมีความง่ายในระดับหนึ่ง แต่ด้วยความที่หมู่บ้านโพธิ์ไทรเป็นหมู่บ้านที่จัดได้ว่าเป็นหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่ง ด้วยการมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 124 ครัวเรือนและบ้านเรือนบางส่วนตั้งและแยกตัวออกห่างไกลจากชุมชน รวมถึงเนื่องจากมีการจัดตั้งโรงงานสินค้าในละแวกใกล้เคียงทำให้เหตุการณ์อพยพหรือการย้ายถิ่นฐานของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานสินค้า ทำให้มีประชากรใหม่ๆเข้ามาในพื้นที่ จึงเป็นงานท้าทายอีกแบบหนึ่ง เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ในช่วงวันธรรมดาจะมีการทำงานตั้งแต่เช้าจรดเย็นและช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ คนเหล่านี้อาจจะกลับต่างจังหวัดหรือที่อยู่เดิมของตน ทำให้โอกาสในการพบเพื่อสอบถามข้อมูลเป็นไปได้น้อยมาก จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยมีแบบสอบถามและแบบสำรวจดังนี้

–  แบบฟอร์ม01: แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน
–   แบบฟอร์ม02: แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19
–  แบบสอบถาม CDB การเก็บข้อมูลทรัพยากร
–  แบบสอบถามการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19
– แบบสอบถาม U2T-SROI

การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทำให้เราได้รับประสบการณ์ใหม่ๆทั้งในด้านการประสานงาน การติดตาม การสื่อสารและอื่นๆ ทำให้เราได้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านและคนในชุมชนที่มีความแตกต่างกันไปของแต่ละชุมชน อาจจะถือได้ว่าการลงพื้นที่เก็บและสำรวจข้อมูลเป็นการทำงานและการท่องเที่ยวเชิงวิถีไปพร้อมๆกัน

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

  • เนื่องจากการทำงานในช่วงสถานการณ์ของโรคระบาด covid-19 ทำให้ปัญหาในการทำงานมีมากขึ้นไปไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านบุคคลเอกสารการลงพื้นที่เซ็งซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีมาตรการกฎและข้อห้ามตามหน่วยงานของคมโรคระบาด covid-19 ที่ต่างกันไปทำให้เราต้องศึกษาและติดต่อประสานงานอยู่เรื่อยๆเพื่อเข้าสำรวจในพื้นที่นั้นๆ
  • หัวข้อการจัดการอบรมก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เรียกได้ว่าสำคัญเพราะสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านโนนรังไปหลายท่าน มีระดับความชำนาญประสบการณ์และความรู้ในเรื่องการทอผ้าที่เรียกได้ว่าเป็นปราชญ์ของชุมชนได้เลย ในเรื่องการทอผ้า ดังนั้นจึงมีการประชุมและปรึกษาเพื่อให้ได้การอบรมที่ช่วยเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆให้กลับชาวบ้านที่อยากจะรู้
  • การประสานงานวิทยากรเพื่อมาจัดการอบรมในแต่ละครั้งต่อถือได้ว่าเป็นปัญหาอีกหนึ่งเรื่อง ทั้งจากเหตุผลในเรื่องความเหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องที่อบรมและบางครั้งก็มีปัญหาในเรื่องของเวลาที่ไม่ตรงกัน จึงทำให้ไม่สามารถที่จะอบรมได้ตามเวลาที่กำหนด
  • การสำรวจและเก็บข้อมูลก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งเนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่มีอาชีพรับจ้างซึ่งหลายท่านออกจากบ้านตั้งแต่ก่อน 7:00 น และกลับถึงบ้านประมาณ 19:00 น ทำให้การเก็บข้อมูลบางครั้งอาจต้องรอเวลาหรือช่วงเวลาพิเศษเช่นช่วงมีกิจกรรมหมู่บ้านซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะอยู่และเข้าร่วมกิจกรรมก็จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเก็บข้อมูล แต่ก็ยังมีปัญหาในบางหมู่บ้านด้วยความที่คนที่อยู่ที่บ้านมีแต่คนชราทำให้ได้รับข้อมูลบางอย่างทางสถิติที่อาจจะผิดพลาดไปบ้างเนื่องจากความชราของผู้ให้ข้อมูล
  • สุนัขเป็นปัญหาที่ขาดไม่ได้ในการลงพื้นที่ที่เราอาจจะไม่คุ้นชิน หลายๆครัวเรือนมีการเลี้ยงสุนัขเพื่อดูแลบ้านและบ้านเรือนส่วนใหญ่ไม่มีกำแพงกั้นทำให้แก่เหตุการณ์สุนัขวิ่งไล่กัดตอนที่เขาสำรวจในพื้นที่

ความประทับใจต่อการทำงานในพื้นที่

หากพูดถึงความประทับใจจากการทำงานทั้งการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล การประสานงานและการร่วมทำงานกลับผู้นำชุมชน ชาวบ้านในชุมชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้วยกัน จากการทำงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม ก็มีเรื่องที่ประทับใจมากมายโดยขอหยิบยกตัวอย่างของเรื่องประทับใจอย่างนี้

1.ประทับใจต่อความร่วมมือในการช่วยเหลือของผู้นำชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้านอันได้แก่

  • นายสมนึก ไม้งาม ซึ่งท่านเป็นทั้งกำนันตำบลกระสังและผู้นำชุมชนบ้านโพธิ์ไทรหมู่ที่ 8 ระหว่างการทำงาน ท่านให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือในการประสานงานผู้นำชุมชนต่างๆและการประสานงานจิตอาสาของชุมชน มีการประกาศประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้รู้ถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมได้เข้าร่วมโครงการการอบรม การเก็บข้อมูลต่างๆจนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  • นายประภัย ผาบุตร ท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนของบ้านหนองม้าหมู่ที่ 5 ระหว่างการเก็บข้อมูลท่านได้มีส่วนช่วยเหลืออย่างมากทั้งในเรื่องการจัดประชุมการประชาสัมพันธ์และความช่วยเหลือในการให้ข้อมูล ที่บางครั้งที่เข้าไปขอข้อมูลต่างๆในชุมชนของบ้านหนองม้า ท่านได้ชวนเรานั่งพูดคุยเกี่ยวกับปัญหา งานโครงการและความต้องการต่างๆของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้เรารับทราบถึงปัญหาและสภาพปัจจุบันของหมู่บ้านเพื่อสะดวกในการทำงานของเราท่านเป็นผู้นำคนหนึ่งที่ไม่เคยพลาดการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นมาของเรา
  • นายสอน เปารัมย์  ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองหว้าหมู่ที่ 9 ฉันเป็นผู้ใหญ่บ้านที่มีรอยยิ้มในการทำงานเสมออาจจะเรียกว่าฉันเป็นคนที่อารมณ์ดีตลอดเวลาเลยก็ว่าได้ ท่านได้ให้ความร่วมมือและความรู้ในการลงพื้นที่ในชุมชนของท่านนอกเหนือจากนั้นท่านยังให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพการเลี้ยงหนูนา การทำโคกหนองนา ซึ่งผมได้นั่งคุยเรื่องเหล่านี้กับท่านตั้งแต่ตอนเที่ยงวันจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าเลยทีเดียว
  • นางลำไย แขนรัมย์ ผู้นำหมู่บ้านโนนรังหมู่ที่ 15 ที่เรียกได้ว่าผมได้ติดต่อและประสานงานกับท่านมากที่สุดในระหว่างผู้นำชุมชนเนื่องจากท่านเป็นผู้นำกลุ่มทอผ้าบ้านโนนรัง ท่านเป็นผู้ที่ให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับการทำงาน การประสานงานและการช่วยเหลือในการจัดอบรมต่างๆ ท่านเป็นผู้นำชุมชนที่เป็นหญิงแกร่งและคล่องแคล่วคนหนึ่ง ด้วยความช่วยเหลือของท่านทำให้งานออกมาล่วงไปได้ด้วยดี

2.นอกจากผู้นำชุมชนแล้วชาวบ้านในพื้นที่ก็ได้ทิ้งความประทับใจไว้ให้กับผมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในการลงสำรวจข้อมูล เรื่องเล่าของความประทับใจอาจจะเริ่มต้นจากการที่เราเข้าสำรวจข้อมูล ถึงจะมีประชาสัมพันธ์ของผู้นำชุมชนที่ได้แจ้งถึงการมาถึงของพวกเราเพื่อเข้าสำรวจข้อมูลก็ยังมีชาวบ้านหลายๆท่านที่ยังไม่ไว้วางใจและคิดว่าเราเป็นมิจฉาชีพ จึงเป็นเรื่องยากที่ผมจะเก็บข้อมูลได้ในวันนั้น แต่ก็เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความประทับใจต่อชาวบ้านในชุมชน ซึ่งหลังจากที่เห็นผมเดินไปเดินมาและไม่มีคนให้ข้อมูล ก็มีชาวบ้านคนหนึ่งเดินเข้ามาถามและอาสาที่จะนำทางและเข้าไปร่วมพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อช่วยผมในการเก็บข้อมูลอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องราวความประทับใจในน้อยที่เกิดขึ้นระหว่างการลงพื้นที่

3.ก็จะมีการจัดการอบรมเราก็ต้องเข้าไปศึกษาความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการทอผ้า การสำรวจสมาชิกแต่ละท่านของกลุ่มทอผ้าและก็ทำให้ผมได้รู้ว่า สมาชิกกลุ่มทอผ้าแต่ละท่านมีความน่ารักเป็นกันเองและพร้อมที่จะให้ความรู้และรอยยิ้มกับทุกๆคนที่อยากศึกษาในเรื่องการทอผ้า บางครั้งหลังจากนั่งคุยกันสักพัก ก็ชักชวนให้เรากินข้าวด้วยกันอีกด้วย เป็นความประทับใจที่เหมือนกับเราได้กลับบ้านไปหาคุณตาคุณยายของเราและท่านได้นั่งเล่าเรื่องต่างๆให้เราได้ฟัง

เมื่อผมได้มองย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มเข้าร่วมโครงการและแผนการประชุมจะได้หัวข้อการพัฒนาผ้าทอ ซึ่งในตอนนั้นอาจจะบอกได้ว่าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทอผ้าเลย จากวันนั้นจนถึงวันนีัผมอาจจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการทอผ้าแต่ผมก็สามารถตอบและอธิบายขั้นตอนกรรมวิธีต่างๆในการทอผ้าได้ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยให้ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องทอผ้า นั่นคือความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ การให้ความร่วมมือและความใจดีของชาวบ้านของสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านโนนหลังที่น่ารักทุกๆท่าน

แบบสอบถามเดือนตุลาคม https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSent69l8bdUiSwX7ZTE1SSJ3neRziU73bnWPcbnJ1cUuUIgdg/viewform?usp=sf_link

 

อื่นๆ

เมนู