ดิฉันนางสาวสุดารัตน์ ลิตรไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร ID10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
-งานที่ได้รับมอบหมาย
ดิฉันได้รับคัดเลือกเข้ามาทำงานในพื้นที่ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และก่อนการจะทำงานอาจารย์ที่ดูแลได้นัดประชุมกันเกี่ยวกับเรื่องของการทำงานและรายงานตัวทำความรู้จักกับคนในทีมงานและในส่วนของตำบลกระสังนั้นมีทั้งหมด 19 หมู่บ้านและอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มที่จะทำงานออกมาเป็นทั้งหมด 5 กลุ่มจากการสอบถามของคนในพื้นที่ของตำบลกระสังมีผลิตภัณฑ์อะไรที่น่าสนใจและพัฒนาต่อยอดได้และค้นพบว่ามีผลิตภัณฑ์อยู่ 5 อย่างที่สามารถพัฒนาได้แก่กลุ่ม A ผลิตภัณฑ์สบู่ กลุ่ม B ผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย กลุ่ม C ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ กลุ่ม D จักสาน กลุ่ม E การท่องเที่ยวไทรโยง และดิฉันได้ดูแลในกลุ่ม D ผลิตภัณฑ์จักสานที่ดิฉันดูแลรับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ 2 บ้านม่วงเหนือ หมู่ 4 บ้านเครือชุด หมู่ 11 บ้านลำดวน หมู่ 16 บ้านม่วงเหนือพัฒนาและรวมไปถึงการเก็บข้อมูล01 ข้อมูลรายได้ภายในครัวเรือน และ 02 ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบ covid 19 ในการอบรมทักษะทั้งหมด 4 ด้านได้แก่ 1.ด้านการเงิน 2.ด้านสังคม 3.ด้านดิจิตอล 4.ด้านภาษาอังกฤษ และนี่คืองานที่ดิฉันได้ทำในตอนแรกหลังจากอาจารย์ได้มอบหมายงานให้รับผิดชอบ
-การลงพื้นที่
ดิฉันตลอดระยะเวลา 10 เดือนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม ดิฉันเป็นคนนอกพื้นที่และได้รับผิดชอบในส่วนของตำบลกระสังและในกลุ่มของดิฉันมีทั้งหมด 3 คน 1. นายอำนวย จิตไทย ประเภทประชาชน 2. นางสาวศุภนิดา สุขประเสริฐ ประเภทบัณฑิตใหม่และดิฉันนางสาวสุดารัตน์ ลิตรไธสง ประเทศบัณฑิตจบใหม่ ลงพื้นที่ในเดือนแรกอาจารย์เข้าร่วมประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านที่หมู่ 1 บ้านกระสัง เพื่อไปรายงานตัวกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านเพื่อให้คุ้นเคยและลงพื้นที่ง่ายขึ้นและในช่วงบ่ายได้เข้าพบได้เข้าพบที่อบต.กระสังเพื่อรายงานตัววันต่อมาดิฉันได้ลงพื้นที่ในส่วนหมู่บ้านที่ได้รับผิดชอบต่อการเข้าไปหาผู้ใหญ่บ้านและแนะนำตัวเองมาจากนั้นได้ลงพื้นที่พบว่าหมู่ที่ 16 บ้านม่วงเหนือพัฒนาชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรทำนามา ทำสวนปลูกผักบุ้งเป็นส่วนมากและมีการส่งขายออกตามร้านค้าในจังหวัดบุรีรัมย์และมาในหมู่ที่ 2 บ้านม่วงเหนือก็มีการทำสวนปลูกผักบุ้งอยู่เป็นจำนวนมากและได้ส่งขายออกตามตลาดและเก็บไว้รับประทานเองด้วยส่วนหมู่ที่ 4 บ้านเครือชุดและหมู่ 11 บ้านลำดวนชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำอาชีพเกษตรกรทำนาและทำอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นหลัก
หลังจากการทำงานผ่านมาได้ 4 เดือนค้นพบว่าในตอนแรกที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ผักบุ้งปลอดสาร แต่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้และได้ปรึกษากับอาจารย์และเพื่อนร่วมทีมทำให้เห็นว่าต้องเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นดิฉันกับเพื่อนร่วมทีมได้ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์และได้ข้อมูลจากทางพี่ยาที่ทำงานที่พัฒนาชุมชนตำบลกระสังว่ามีกลุ่มจักสานที่รวมตัวกันอยู่ทั้งหมด 4 หมู่บ้านและหนึ่งในนั้นมีหมู่บ้านที่ดิฉันรับผิดชอบ คือหมู่ที่4 บ้านเครือชุดและก็ยังมีอีก 3 หมู่ที่เหลือคือ หมู่8 บ้านโพธิ์ไทร หมู่ 9 บ้านหนองหว้า หม่10 บ้านกลันทา ได้เข้าไปติดต่อขอข้อมูลจากพี่ยาพบว่ามีพี่ปอที่อยู่บ้านกลันทาทำจักสานและทำฝาชีส่งออกขายดิฉันฉันได้ปรึกษากับอาจารย์และอาจารย์ให้คำแนะนำมาว่าให้หาคนในชุมชนวิทยากรมาอบรมเกี่ยวกับจักสาน และดิฉันกับเพื่อนร่วมทีมก็ได้เก็บข้อมูลในวันต่อมาโดยเก็บเอกสารคือ 01 ข้อมูลภายในครัวเรือนและข้อมูล 02 ข้อมูล covid 19 โดยแบ่งกันเก็บคนละโซนและได้เก็บข้อมูลเสร็จก็จะนำข้อมูลไปคีย์ในระบบของเดือนต่อมามีการเก็บข้อมูลสำรวจเพิ่มเติม03 ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโควิด
-การจัดกิจกรรมอบรม
หลังจากดิฉันได้ลงพื้นที่กับเพื่อนร่วมทีมได้ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาและมาทำเรื่องเอกสารการขอจัดกิจกรรมอบครั้งที่ 1 2 3 ดังต่อไปนี้
- จัดกิจกรรมอบรมครั้งที่ 1 เรื่องทฤษฎีเบื้องต้นในงานจักสานและการเตรียมตอกไม้ไผ่ ได้จัดอบรมที่ศาลาประชาคมหมู่ที่ 10 บ้านกลันทาโดยจะนำชาวบ้านจากหมู่ที่ 4 บ้านเครือชุดที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมอบรมวิทยากรเป็นคนในพื้นที่คือ นางสาวพัชราภรณ์ มาติโก หรือ(พี่ปอ)เป็นการอบรมเกี่ยวกับการนำไม้ไผ่มาทำตอกเพื่อทำจักสานฝาชี เป็นการอบรมเชิงทฤษฎีเบื้องต้นและหลังจากนั้นมาดิฉันได้รับมอบหมายงานมาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรม covid-wick เป็นการรณรงค์การฉีดวัคซีนและมอบป้ายรณรงค์การฉีดวัคซีนให้แต่ละชุมชนและร่วมไปถึงการมอบแมสและเจลแอลกฮอลให้แก่วัดและชุมชน
- กิจกรรมอบรมครั้งที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล่องสบู่โคมไฟจากไม้ไผ่โดยทางวิทยากรคนเดิมจากการอบรมครั้งที่ 1 อบรมต่อยอดจากครั้งแรก และมีกิจกรรมส่งเสริมการทำอุปกรณ์การป้องกันโควิด19 กลุ่มของดิฉันได้อบรมเรื่องการทำเจลแอลกฮอลให้กับชาวบ้าน
- กิจกรรมอบรมครั้งที่ 3 เรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้า ในส่วนของการอบรมครั้งนี้ได้เชิญชาวบ้านที่ร่วมสนใจให้เข้าร่วมประชุมพร้อมกันโดยมีวิทยากรมาจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดมาอบรมเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และวิทยากรอีกคนมาจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดมาอบรมเรื่องสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า และมีกิจกรรมแทรกเข้ามาเพิ่มคือ กิจกรรมชุมชนชมเพลินโดยให้แต่ละหมู่บ้านเลือกต้นไม้มาปลูกในชุมชนให้สวยงาม
-ปัญหาและอุปสรรค
- เรื่องของบริบทเชิงพื้นที่ เนื่องจากหมู่บ้านที่ดิฉันรับผิดชอบนั้นจะมีบริบทพื้นที่คือหมู่2 เรบ้านม่วงเหนือและหมู่16 บ้านม่วงเหนือพัฒนาเป็นหมู่บ้านที่ถนนใหญ่ตัดผ่านตรงกลางระหว่างสองหมู่ซึ่งจะค่อนข้างลำบากและเสี่ยงอุบัติเหตุมากในการลงพื้นที่แต่ละครั้งและในส่วนของหมู่4 บ้านเครือชุด จะมีถนนทางเข้าคดเคี้ยวและเสี่ยงอุบัติเหตุได้เหมือนกัน สุดท้ายหมู่11 บ้านลำดวนเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่มากและอยู่กลางเมืองและชนบททำให้ในชุมชนจะมีบ้านที่อยู่ข้างนอกกันเป็นจำนวนมาก
- เรื่องของปัญหาการลงพื้นที่ เนื่องจากดิฉันเป็นคนนอกพื้นที่และอาศัยอยู่หอพักในเมืองจึงบางครั้งดิฉันก็ไม่สามารถมาลงพื้นที่ได้ทุกวันและในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลบางอย่างก็ต้องอาศัยเพื่อนร่วมทีมที่อยู่พื้นที่เก็บข้อมูลให้และการสื่อสารภาษาคือชาวบ้านส่วนใหญ่จะพูดภาษาเขมรส่วนตัวดิฉันฟังไม่ออกก็ติดทำให้การเก็บข้อมูลล่าช้าบ้าง
- เรื่องของการจัดกิจกรรม หลังจากดิฉันได้ลงพื้นที่ที่ผ่านมาพบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีแต่คนแก่ที่อยู่บ้านทำให้เวลาจะให้เข้าร่วมอบรมการจัดกิกรรมต่างๆจะไม่ค่อยมีคนมาได้และชาวบ้านกับผู้นำในชุมชนขาดการติดต่อประชาสัมพันธ์กันและที่พบเห็นอีกอย่างก็คือบ้างหมู่บ้านไม่มีศาลากลางหมู่บ้านทำให้การที่จะลงไปจัดกิจกรรมในหมู่บ้านนั้นเป็นไปค่อนข้างยาก
- เรื่องของปัญหาโควิด เนื่องจากดิฉันพักอยู่ในตัวเมืองเวลามาลงพื้นที่ชาวบ้านจะรู้สึกหวาดระแวงและกลัวเลยเลี่ยงการที่จะให้ข้อมูลกับดิฉันร่วมไปถึงการจะจัดกิจกรรมอบรมในแต่ละครั้งทำให้จัดกิจกรรมยากละคนสนใจน้อยลงและส่งผลให้งานล่าช้าลงเพราะไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้
-ความประทับใจในการทำงาน
ส่วนตัวของดิฉันนั่นรู้สึกประทับใจกับอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมทีมที่ค่อยให้คำแนะนำและตักเตือนเวลาทำงานและค่อยช่วยเหลือกันมาตลอดระยะเวลาทำงานที่ผ่านมาทั้งต้องขอบคุณผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านและชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือตลอดมาเวลาไปลงพื้นที่ทำกิจกรรมต่างๆก็จะค่อยเลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำมาให้ตลอด และความน่ารักเป็นกันเองของชาวบ้านทำให้ดิฉันรู้สึกมีความสุขทุกครั้งเวลาได้พูดคุยกับชาวบ้านซึ่งทำให้ดิฉันเป็นคนกล้าคิดกล้าแสดงออกเพิ่มมากขึ้น
ลิงก์บทความประจำเดือน
https://forms.gle/s4xCRr1rH5sv5vfq9
ลิงก์วิดีโอ