ข้าพเจ้านางสาววนาวิน ศรีสอาด ประเภทนักศึกษา ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

ดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำงานในพื้นที่ของตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้ชื่อโครงการ ID10 “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน” ซึ่งตำบลกระสัง มีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน โดยดิฉันได้รับมอบหมายทำงานในพื้นที่ของหมู่ 3 บ้านไทรโยง หมู่ 10 บ้านกลันทา และหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ในหัวข้อ “การยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนโบราณบ้านไทรโยง” โดยมีเป้าหมายเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลของชุมชนโบราณบ้านไทรโยงเชิงการเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของตำบลกระสัง ให้เป็นที่รู้จักเพื่อต่อยอดและพัฒนาชุมชนต่อไปในอนาคต

 

โดยตลอดระยะเวลาที่ทำงานมาแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 – เดือนตุลาคม 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่ทำงานในหลายด้าน ทั้งการเก็บข้อมูลชุมชน แบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และการเก็บข้อมูล CBD ในด้านต่างๆ ของชุมชน

                

การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคนในชุมชน โดยจะดำเนินการจัดการอบรมทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งดิฉันและทีมงานได้จัดการอบรมในพื้นที่ที่รับชอบไปแล้ว 3 ครั้ง ได้แก่

การอบรมครั้งที่ 1 การจัดอบรมทักษะ ความรู้เรื่องต้นไผ่ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

การอบรมครั้งที่ 2 การจัดอบรมทักษะ ความรู้เรื่องการประดิษฐ์โคมไฟจากต้นไผ่ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

การอบรมครั้งที่ 3 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการปรับภูมิทัศน์ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

 

           

       

         

การฝึกทักษะเพิ่มความรู้ทั้ง 4 ด้าน ได้ผ่านการฝึกอบรมแล้ว ได้แก่ ทักษะด้านการเงิน ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านสังคมและทักษะด้านดิจิทัล

สิ่งที่ได้รับจากการทำงาน

-ได้ลงพื้นที่เข้าไปในชุมชน ทำให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ได้เห็นการใช้ชีวิตการเป็นอยู่ของแต่ละ ครัวเรือนที่แตกต่างกันออกไปบางบ้าน ก็จะมีการปลูกพืชเกษตรไว้ขายและกินเอง เช่น ผักบุ้ง ต้นหอม ผักชี และเห็ด บางบ้านก็จะเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ วัว เป็ดและสุกร ทำให้เราได้ทราบว่าคนส่วนใหญ่มีรายได้จากเกษตรกร

-ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันของคนหลายกลุ่ม ได้ความรู้จากพี่ๆในทีมที่คอยบอกคอยช่วยเหลือในระหว่างการทำงานและได้รับความร่วมมือที่ดีจากคนในชุมชนในระหว่างการลงพื้นที่สอบถามความเป็นอยู่ การลงพื้นที่เก็บข้อมูลภายในชุมชนในด้านต่างๆ ซึ่งตลอดการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากคนในชุมชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อยู่ตลอด การทำงานร่วมกันในทีมก็ไม่มีปัญหาอะไรเนื่องจากมีสมาชิกในทีมเป็นคนในพื้นที่นั้นอยู่แล้ว การทำงานก็แบ่งหน้าที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี คอยช่วยเหลือกันตลอด

-ได้รับประสบการณ์การการเข้าหาผู้คน จากการลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูล ทำไห้ได้พูดคุยกับ ลุง ป้า น้า อา คุณตาที่อายุมากๆแต่แข็งแรง ที่มานั่งเล่าประวัติของหมู่บ้านให้ฟัง ตั้งแต่สมัยที่คุณตายังเป็นวัยรุ่น ที่ได้ลงพื้นที่ทำการเกษตรที่นาของตนเองได้ขุดพบชิ้นส่วน ของโบราณ เช่น กำไร สำริด ไหโบราณ แต่เก็บไว้ภายในครัวเรือนของตนเองไม่ได้มอบไว้ให้ใครดูแล ส่วนใหญ่ที่ลงพื้นที่สอบถามข้อมูลก็จะได้ข้อมูลจากแม่ๆป้าๆที่อยู่บ้านเลี้ยงหลาน ส่วนคนวัยทำงานก็จะไม่ค่อยได้พบเจอมากนักต้องรอวันหยุด ถึงจะได้เข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

-ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำโครงการ การจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับชุมชน  ทีมงานประชุมวางแผนการจัดโครงการ ทีมงานจัดหาวิทยากรมาดำเนินกิจกรรมในโครงการ จากนั้นก็จัดทำกำหนดการที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะจัดขึ้น จัดทำหนังสือเรียนเชิญวิทยากร หนังสือขอใช้สถานที่ มีผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับการจัดโครงการและให้ช่วยประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนในชุมชนให้เข้าร่วมกิจกรรม ทำการจัดกิจกรรมตามกำหนดการที่วางไว้ หลังจบโครงการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน

-ได้ฝึกการเขียนบทความเกี่ยวกับการทำงานในแต่ละเดือนและจัดทำคลิปวีดีโอเพื่อเป็นการสรุป และทบทวนผลการดำเนินงานของตนเองในแต่ละเดือนทำให้เห็นว่าแต่ละเดือนตัวเราทำงานอะไรไปบ้าง มีการดำเนินงานไปถึงขั้นไหนแล้ว จากนั้นก็รายงานอัพลงในลิ้งค์ต่างๆที่จะมีคนในทีมคอยจัดทำ

ความประทับใจต่อการทำงานในพื้นที่

ความประทับใจในการลงพื้นที่จัดกิจกรรมครั้งแรกคือ ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านคอยให้ความช่วยเหลือต้อนรับเป็นอย่างดีโดยมีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านไทรโยง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 บ้านกลันทา และ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ความประทับใจในชุมชนคือทุกคนล้วนเป็นมิตร อัธยาศัยดีมีน้ำใจ ให้ความร่วมมือในการทำงานแต่ละครั้งเป็นอย่างดี ทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จัดขึ้นทั้ง 3 ครั้ง กิจกรรมการปลูกต้นไม้ ชุมชนชมเพลิน ที่ชาวบ้านได้ร่วมกับปลูกต้นไม้ เพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่สะอาด สวยงามของชุมชน

    

ปัญหา/อุปสรรคในการทำงาน

– อุปสรรคด้านสภาพอากาศในช่วงมรสุม ฝนตกบ่อย ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ หรือไม่สามารถจัดกิจกรรมกับชุมชนได้ วันไหนที่ฝนไม่ตกและสามารถลงพื้นที่ได้ก็จะพยายามเก็บข้อมูลชุมชนให้ได้มากที่สุด เพื่อชดเชยวันที่ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ หากวันที่ต้องจัดกิจกรรมกับชุมชนมีฝนตก ก็จะประสานกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อแจ้งเลื่อนกิจกรรมเป็นวันอื่น หรือเลื่อนเวลาออกไปรอให้ฝนหยุดตกก่อนแล้วจึงค่อยเริ่มจัดกิจกรรม ซึ่งทีมงานได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ใหญ่บ้านและคนในชุมชน

– อุปสรรคด้านระยะทางระหว่างหมู่บ้านที่ค่อนข้างอยู่ห่างกัน เช่น หมู่ 10 ที่อยู่ห่างจากหมู่ 3 หมู่ 19 ประมาณ 2 กิโลเมตรและระยะทางระหว่างคุ้มไพลของหมู่ 19 ประมาณ 3 กิโลเมตร จึงทำให้ต้องระมัดระวังในการเดินทางไปลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง

จากการทำงานที่ผ่านมาทำไห้ดิฉันได้รับประสบการณ์มากมายจากคนในพื้นที่ ได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม ได้พบเจอคนหลายรูปแบบ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่พบเจอและได้รู้วิธีแก้ปัญหาในการทำงาน ในระยะเวลาที่เหลือของการทำงานดิฉันและทีมงานก็จะทำงานให้เต็มที่ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการที่ได้ตั้งไว้ และทำไห้งานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ

 

วีดีโอ 

 

อื่นๆ

เมนู