ข้าพเจ้านางสาวฉัตรวลี โขงรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายการทำงานในพื้นที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล(มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยได้เริ่มต้นการทำงานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นระยะเวลา 2 เดือน ได้รับมอบหมายงานในพื้นที่ของ 4 หมู่บ้าน คือ บ้านโพธิ์ บ้านดอนหวาย บ้านน้อยสุขเจริญ และบ้านใหม่พัฒนา เป็นการทำงานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรของชุมชน มีรายละเอียดการทำงานดังนี้
1.การเก็บข้อมูล CBD และการเก็บข้อมูล 01,02
2.การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ทางด้านการเกษตรแก่ชาวบ้านในชุมชน
3.กิจกรรมนักเล่าเรื่อง (เกษตรปลอดภัยดอนหวาย)
4.กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์และเรื่องราวชุมชนสู่ประชาชนและเยาวชนอาสาตำบลกระสัง โรงเรียนภายในเขตบริการตำบลกระสัง 3 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านกระสัง (หรุ่นราษฎร์รังสรรค์) โรงเรียนบ้านโพธิ์ดอนหวาย และโรงเรียนบ้านหนองม้า
5.การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
สิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติงานในพื้นที่
1.จากการลงพื้นที่ทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมในชุมชน ปัญหาที่เกิดในชุมชน ทั้งการว่างงาน ความยากจน และยาเสพติด
2.ทำให้ทราบว่าในชุมชนของเรายังมีสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชนต่าง ๆที่เป็นอาชีพของชาวบ้าน และสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น
3.การทำงานร่วมกันเป็นทีม ถือเป็นการปฏิสัมพันธ์กับคนในกลุ่มทำให้สนิทกันมากขึ้น เราสามารถที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ง่าย ทำให้งานที่ทำสำเร็จราบรื่น และยังทำให้เพื่อนๆในทีมแสดงความคิดที่หลากหลายทำให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากการแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือกันภายในทีม
4.ได้ประสบการณ์ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้
จากการทำงานที่ผ่านมาถึงจะมีระยะเวลาที่ไม่นานมากนัก ก็ทำให้ได้เห็นหลายสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน การได้รับการต้อนรับจากชาวบ้านที่เป็นกันเอง การให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ถึงแม้จะมีอุปสรรคเล็กน้อยแต่เราก็ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ข้าพเจ้ามีข้อเสนอแนะที่สามารถพัฒนาชุมชนได้ไม่มากก็น้อยดังนี้
1.จากการที่ข้าพเจ้าเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่โดยตรง จึงทราบว่าส่วนมากเกษตรกรในพื้นที่นิยมเลี้ยงโคเป็นหลักหลายหลังคาเรือน ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเราทำการมุ่งเน้นการพัฒนาด้านการเลี้ยงโค โดยการให้ความรู้ในการบริหารจัดการให้เป็นระบบ เช่น
– ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ด้านต่าง ๆ
– พื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์ เพราะมีเกษตรกรที่มีพื้นที่เยอะและมีพื้นที่ไม่มากให้สามารถที่จะเลี้ยงโคได้
– อาหารในการเลี้ยงสัตว์ การปลูกหญ้าซึ่งใช้สามารถนำมาเลี้ยงสัตว์และจำหน่ายได้
– ระบบตลาด การแนะนำช่องทางการตลาดต่าง ๆให้กับเกษตรกร เช่น พ่อค้าปลีก หรือตลาดนัดโค-กระบือ
ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นจะโครงการที่ทำให้ชาวบ้านสนใจและเข้าร่วมมากยิ่งขึ้น เพราะจะเป็นประโยชน์กับตัวเกษตรกรเอง และยังสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ถือเป็นการยกระดับเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่ง
2.การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชน บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญต่อตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก เป็นสิ่งแรกที่ทำให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคเห็นสินค้าของเรา เป็นตัวช่วยเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมด้านการตลาด
ยิ่งบรรจุภัณฑ์ของเรามรความสวยงาม โดดเด่นมากเพียงใดก็จะสามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการเกษตร ข้าพเจ้าคิดว่าการออกแบบหรือวัสดุที่จะใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ควรจะเป็นสิ่งที่ได้มาจากธรรมชาติที่หาได้ในชุมชนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กระทงใบตองใส่แหนมหรือไส้กรอก ตอกไม้ไผ่มัดพืชผักสวนครัว กาบกล้วยรองพืชผักแทนการใช้โฟม เป็นต้น
จาก 2 ประเด็นข้างต้นนี้เป็นข้อเสนอแนะที่ข้าพเจ้าคิดว่าสามารถที่จะนำมาพัฒนาความเป็นอยู่และผลิตภัณฑ์ และต่อยอดให้กับชาวบ้านได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทและความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้
แบบทดสอบhttps://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdDIET4PYn68VP2EyVVMq2UeviugqGUnAt1ZpGfn7vwtb1-ig/viewform