ข้าพเจ้า นายนันทพล สอิ้งรัมย์ ประเภทประชาชนทั่วไป ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบให้ระบบเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง ประกอบกับมาตรการในการป้อนกันการแพร่ระบาดของโรคฯ ทำให้สถานประกอบการจำนวนมากปิดกิจการชั่วคราว แรงงาน ลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระตกอยู่ในภาวะว่างงงาน ถือเป็นภัยพิบัติสาธารณะที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนและส่งผลกระทบต่อรายได้ คุณภาพชีวิต ประชาชนเป็นอย่างมาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติประชุมเห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการครอบคลุมพื้นที่ตำบลทั่วประเทศ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ และจ้างนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไป ร่วมพัฒนาพื้นที่ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ทักษะด้านต่างๆ อันนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนา และต่อยอดสู่การประกอบอาชีพต่อไป จึงทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้น
“โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) “
ผมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ และได้รับคัดเลือกเป็นผู้ปฎิบัติงาน ประเภทประชาชนทั่วไป เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ซึ่งโครงการเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในการค้นหาผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ หาจุดเด่น เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและสามารถต่อยอดเป็นอาชีพให้แก่ชาวบ้านในตำบลกระสัง โดยการแบ่งกลุ่มดังนี้
กลุ่ม A : ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร
หมู่ที่ 1 บ้านกระสัง หมู่ที่ 12 บ้านกระสัง หมู่ที่ 14 บ้านกระสัง หมู่ที่ 17 บ้านกระสังสุขสันต์
กลุ่ม B : ผลิตภัณฑ์งานเกษตรปลอดภัย
หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์ หมู่ที่ 7 บ้านดอนหวาย หมู่ที่ 13 บ้านน้อยสุขเจริญ หมู่ที่ 18 บ้านใหม่พัฒนา
กลุ่ม C : ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ
หมู่ที่ 5 บ้านหนองม้า หมู่ที่ 8 บ้านโพธิ์ไทร หมู่ที่ 9 บ้านหนองหว้า หมู่ที่ 15 บ้านโนนรัง
กลุ่ม D : ผลิตภัณฑ์งานจักสาน
หมู่ที่ 2 บ้านม่วงเหนือ หมู่ที่ 4 บ้านเครือชุด หมู่ที่ 11 บ้านลำดวน หมู่ที่ 16 บ้านม่วงเหนือพัฒนา
กลุ่ม E : พัฒนาท่องเที่ยวไทรโยง
หมู่ที่ 3 บ้านไทรโยง หมู่ที่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ หมู่ที่ 10 บ้านกลันทา
ผมได้ปฏิบัติงานใน กลุ่ม A : ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร พื้นที่รับผิดชอบคือ หมู่ที่ 1 บ้านกระสัง, หมู่ที่ 12 บ้านกระสัง, หมู่ที่ 14 บ้ากระสัง และหมู่ที่ 17 บ้านกระสังสุขสันต์ ในการทำงาน 4 เดือน สิ่งที่ได้จากการปฏิบัติงาน มีดังนี้
1.ความรู้ในการปฏิบัติงาน : ขั้นตอนการทำสบู่สมุนไพร
- เริ่มทำสบู่สมุนไพร
- การออกแบบบรรจุภัณฑ์
2.การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ด้านมาตรฐาน : ให้ความรู้ชาวบ้านในการอบรมขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์
3.การเพิ่มความรู้ เรื่อง การทำเจลแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยให้ชาวบ้านนำมาใช้ในครัวเรือนและป้องกันเชื้อไวรัสให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
4. การได้รับความร่วมมือร่วมใจและความสามัคคีของชาวบ้านในการทำบุญ โดยการแจกสบู่สมุนไพรเพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาดและร่วมกันทำบุญ
5.การจัดกิจกรรม “การถ่ายทอดความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์และเรื่องราวชุมชนสู่ประชาชนและเยาวชนอาสาตำบลกระสัง” โดยแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้ง 5 กลุ่ม ดังนี้
ฐานที่ 1 : สบู่
ฐานที่ 2 : ผ้าทอ
ฐานที่ 3 : เจล
ฐานที่ 4 : เกษตร และ ฐานที่ 5 : การทำปุ๋ย/ผักบุ้ง
6.ได้ความรู้ในเชิงวิชาการในการอบรม 4 ทักษะ คือ
- ทักษะภาษาอังกฤษ จำนวน 20 ชั่วโมง
- ทักษะดิจิทัล จำนวน 20 ชั่วโมง
- ทักษะการเงิน จำนวน 20 ชั่วโมง
- ทักษะสังคม จำนวน 20 ชั่วโมง
เดือนสุดท้ายของการทำงานผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ในด้านการปฏิบัติงานและด้านวิชาการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ให้ความรู้และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะช่วยให้ชาวบ้านสามารถต่อ ยอดและใช้ประโยชน์ หรือสามารถนำไปสร้างรายได้ให้ตัวเองและครอบครัวได้ต่อไป