ข้อเสนอแนะที่มีต่อชุมชนท่องเที่ยวคูเมืองโบราณบ้านไทรโยง
ข้าพเจ้านางสาวนภัสนันท์ ลาศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานที่ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
การลงพื้นที่
โดยตลอดระยะเวลาของการทำงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยเริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนมาถึงเดือนธันวาคม 2564 ในส่วนของเดือนแรกนั้นได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลบุคคล ครัวเรือนและชุมชน และแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และต่อมาจึงได้มีการเก็บข้อมูล CBD ขึ้นเพิ่มเติม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและด้านอื่นๆต่อชาวบ้าน ชุมชนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการสืบต่อไป ส่วนด้านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนด้านสภาพแวดล้อม ด้านภูมิทัศน์ต่างๆในชุมชนนั้น จึงมีการปรึกษาหารือกับชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชน ทำให้ข้าพเจ้าและทีมงานทำให้ได้ทราบข้อมูลในด้านต่างๆของพื้นที่ชุมชน รวมถึงความต้องการและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันส่งเสริม แก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
หลังจากที่ได้เก็บรวมรวมข้อมูลต่างๆมาได้บางส่วนแล้วนั้น จึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือกับอาจารย์และสมาชิกในกลุ่มเพื่อไปนำเสนอสิ่งที่ได้จากการประชุมให้กับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในการร่วมกันแสดงความคิดเห็น จากนั้นจึงได้เกิดการจัดอบรมครั้งที่ 1 เกิดขึ้นคือ เรื่องการจัดอบรมทักษะความรู้เรื่องต้นไผ่ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การอบรมครั้งที่ 2 เรื่องการจัดอบรมทักษะความรู้การประดิษฐ์โคมไฟจากต้นไผ่ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การอบรมครั้งที่ 3 เรื่องการอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับภูมิทัศน์ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และการจัดอบรมครั้งที่ 4 ครั้งสุดท้ายนั้น เกี่ยวกับเรื่องนักเล่าเรื่องในชุมชน ซึ่ง การจัดอบรมทั้ง 4 ครั้งนั้น สามารถเกิดประโยชน์ต่อชาวบ้านและคนในชุมชนเป็นอย่างมาก รวมถึงเป็นแนวทางในการสร้างรายได้และพัฒนาทางด้านอาชีพต่างๆ อีกทั้งในส่วนของพื้นที่ในชุมชนก็จะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น จากการร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานลงพื้นที่ในทั้ง 3 หมู่บ้านนั้น ทำให้ได้เห็นลักษณะการดำเนินชีวิตและวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่แตกต่างกันออกไป ชาวบ้านบางคนทำเกษตร ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ บางคนเลี้ยงสุกร เลี้ยงโค เลี้ยงกระบือ บางคนไม่มีที่ดินทำกินก็ออกไปทำงานรับจ้างทั่วไป บางคนเปิดร้านค้าขาย แต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำอาชีพรับจ้างทั่วไป นอกจากจะได้รู้ถึงประสบการณ์และวิถีชีวิตของคนในชุมชนแล้วนั้น ยังได้ประสบการณ์การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น การสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อผู้นำชุมชนและคนในชุมชนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาชุมชนต่อไป
ข้อเสนอแนะ
ก่อนอื่นต้องขอเล่าถึงความประทับใจที่มีต่อชุมชนของการทำงานลงพื้นที่ในครั้งนี้นั้น ผู้นำชุมชนและคนในชุมชนให้ความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอมา ไม่ว่าการลงพื้นที่จะพบปัญหาใดก็ตามทุกท่านคอยยื่นมือช่วยเหลือมาโดยตลอด ความมีน้ำใจของผู้นำและคนในชุมชนแสดงให้เห็นว่าคนไทยไม่เคยทิ้งกัน ทุกท่านร่วมแรงร่วมใจกันในการพํฒนาชุมชน แม้ว่าจะมีอุปสรรคบ้างแต่ทุกท่านก็พร้อมใจกันสู้ไม่ถอย ซึ่งข้าพเจ้าได้เห็นความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของคนในชุมชน จึงมีข้อเสนอแนะที่จะพัฒนาชุมชนโบราณบ้านไทรโยง ดังต่อไปนี้
1.ควรมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนและบุคคลภายนอกได้มาศึกษาหาความรู้
2.ควรมีการปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบเมืองโบราณ พร้อมทั้งควรมีการเอาผักตบชวาหรือวัชพืชต่างๆที่อยู่ในคูน้ำออก
3.ควรมีการปลูกต้นไผ่เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มจำนวนต้นไผ่ในการทำซุ้มอุโมงค์ถ่ายภาพ
4.ควรมีการจัดทำซุ้มนั่งเล่นและซุ้มถ่ายภาพพร้อมทั้งจัดทำป้ายชื่อชุมชนให้มีความน่าสนใจ
5.ควรมีการสร้างสะพานไม้ไผ่เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน
6.ควรส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อนำมาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
7.ควรหาอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้
8.ควรมีการจัดทำเพจของชุมชนเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้ง่าย
9.ควรมีการจัดพื้นที่ให้กับพ่อค้าแม่ค้าให้เป็นสัดเป็นส่วน
10.ควรมีการวางแผนการท่องเที่ยวในระยะยาวเพื่อไม่ให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวแค่ช่วงแรกๆ
ทั้งนี้ในการทำงานร่วมกันกับคนหมู่มากนั้นย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา อยู่ที่ว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหานั้นให้ดีขึ้นได้อย่างไร อีกทั้งหากจะทำให้ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนท่องเที่ยวคูเมืองโบราณบ้านไทรโยง ก็ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของผู้นำและคนในชุมชน และต้องอาศัยงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจึงจะบรรลุตามวัตถุประสงค์นี้ได้ ตลอดระยะเวลาของการทำงานนี้ต้องขอขอบคุณผู้นำและคนในชุมชนทุกท่านทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์มากมายที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงานในครั้งนี้ หลังจากนี้ข้าพเจ้าและกลุ่มของข้าพเจ้าจะใช้ประสบการณ์ที่มีเพื่อพัฒนาชุมชนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวบ้าน ชุมชน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป
บทความประจำเดือน
https://forms.gle/rqWiiPzpzJCSDjhs9