ดิฉันนางสาวพนิดา พรชัย ผู้ปฎิบัติงานประเภทนักศึกษา ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บันทึกการทำงานประจำเดือนธันวาคมตลอดระยะเวลาการปฎิบัติงาน 11 เดือน กับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้แก่ประเทศ สำหรับบทความประจำเดือนนี้ดิฉันจะสะท้อนความเห็นความรู้สึกจากการทำงานในพื้นที่และสิ่งที่คิดสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดให้กับพื้นที่ตำบลกระสังอำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉันได้รับมอบหมายทำงานในพื้นที่ของหมู่ที่ 5 บ้านหนองม้า หมู่ที่ 8 บ้านโพธิ์ไทร หมู่ที่ 9 บ้านหนองหว้า และหมู่ที่ 15 บ้านโนนรัง โดยตลอดระยะเวลาที่ทำงานมาแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 – เดือนธันวาคม 2564 ดิฉันได้ลงพื้นที่ทำงานในหลายด้าน ทั้งการเก็บข้อมูลชุมชน แบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชนเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และการเก็บข้อมูล CBD ในด้านต่างๆ ของชุมชน

การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคนในชุมชนและโรงเรียนในเขตบริการตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้ดำเนินการจัดการอบรมทั้งหมด 6 ครั้ง ดังนี้

1. การอบรมครั้งที่1 เรื่องการออกแบบลายผ้า
2.การอบรมครั้งที่2 เรื่องมาตรฐานงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
3.การอบรมครั้งที่3 เรื่องการส่งเสริมมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการพัฒนารูปแบบสีของผ้า
4.การอบรมครั้งที่4 เรื่องการวิพากย์และติดตามผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
5.การอบรมครั้งที่5 เรื่องอบรมเชิงปฏิบัตินักเล่าเรื่องชุมชน
6.การจัดกิจกรรมครั้งที่6 เรื่องการถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์และเรื่องราวชุมชนสู่ประชาชนและเยาวชนอาสาตำบลกระสัง ในโรงเรียนเขตบริการตำบลกระสัง 3 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านกระสัง (หรุ่นราษฎร์รังสรรค์) โรงเรียนบ้านโพธิ์ดอนหวาย และโรงเรียนบ้านหนองม้า

สิ่งที่ได้รับจากการปฎิบัติงาน

1. การได้ลงพื้นที่ในชุมชนที่รับผิดชอบ ทำให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเห็นบริบทสภาพพื้นที่ของชุมชนที่ยังมีการทำการเกษตร เห็นได้จากบริเวณโดยรอบชุมชนเป็นพื้นที่การทำนาปลูกข้าว การปลูกพืชผักบริเวณตัวบ้าน การเลี้ยงสัตว์ ไก่ ไก่ชน เป็ด โค กระบือ ทำให้ทราบได้ว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร และมีรายได้หลักมาจากผลผลิตที่ได้จากการเกษตร
2.ได้รับประสบการณ์จริงจากการลงพื้นที่ เนื่องจากอาศัยดิฉันอยู่ในพื้นที่ก็สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนได้มากกว่าคนนอกที่เข้ามาในชุมชน  ประสบการณ์ในการลงพื้นที่ บางครั้งก็เกิดปัญหาบ้าง บริบทของคนในชุมชนสภาพพื้นที่ของชุมชน ปัญหาต่างๆของคนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงาน และผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19

3. ได้ฝึกทักษะประสานงานการติดต่อสื่อสารกับผู้นำในแต่ละชุมชนคนในชุมชน และการทำงานกับเพื่อนในทีม และได้รับการตอบรับช่วยเหลือเป็นอย่างดี การทำงานร่วมกันของคนในทีมงานก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะมีสมาชิกในทีมที่เป็นคนในพื้นที่ที่รับผิดชอบจึงทำให้การทำงานในพื้นที่ชุมชนไม่ค่อยมีปัญหา ทุกคนในทีมก็แบ่งหน้าที่กันทำงานและช่วยกันทำงานเป็นอย่างดี

4.ได้ฝึกการเขียนบทความเกี่ยวกับการทำงานในแต่ละเดือนเพื่อเป็นการสรุปและทบทวนผลการดำเนินงานของตนเองในแต่ละเดือนทำให้เห็นว่าแต่ละเดือนตัวเราทำงานอะไรไปบ้าง ผลการดำเนินมีความก้าวหน้าไปอย่างไร ทำให้มองเห็นภาพรวมของการทำงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการเขียนบทความไปวางแผนการทำงานเดือนต่อๆ ไปในอนาคต เพื่อให้งานดำเนินไปเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

 บริบทที่ส่งเสริมให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

ศักยภาพของพื้นที่แล้วถือได้ว่าเป็นข้อดีและเป็นประโยชน์ต่อดิฉันและทีมงาน เพราะพื้นที่ที่ปฎิบัติงาน เป็นชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกันทำให้การลงพื้นที่ทุกครั้งไม่มีข้อจำกัด รวมไปถึงการได้รับความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายในชุมชนไม่ว่าจะเป็นกำนันตำบลกระสัง และผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในชุมชนที่ได้รับมอบหมาย และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน

สิ่งที่สามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดให้กับพื้นที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
การที่ดิฉันปฎิบัติงานตลอดระยะเวลา 11 เดือนที่ผ่านมาได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมไปถึงศักยภาพของคนในชุมชน เอกลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละชุมชนที่ถ่ายทอดผ่านกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในชุมชน  พื้นที่หมู่บ้านโนนรัง ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และมีผลผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่คือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ที่ชุมชนต้องการให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือแบบเดิมมาเป็นผ้าทอมือ ที่มีเอกลักษณ์ของชุมชนโดยปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนที่โครงการ U2T จะเข้าไปทำงานร่วมกับชุมชน พบว่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของชุมชน มีมากมายหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นผ้าสไบขิด หรือผ้าถุงทอ ผ้าต่างก็ไม่มีเอกลักษณ์ที่ถ่ายทอดถึงความเป็นชุมชนบ้านโนนรัง แต่หลังจากที่ โครงการ U2T ลงพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา อาทิ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ลวดลายผ้าทอมือที่เป็นเอกลักษณ์ ให้แก่คนในชุมชนโดยใช้องค์ความรู้และงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือให้มีความเป็นเอกลักษณ์มายิ่งขึ้นและเพิ่มช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์ เป็นต้น
ดิฉันคิดว่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือสามารถพัฒนาและสามารถต่อยอดได้มากกว่านี้ ถ้าหากมีโครงการU2T ในระยะที่2 ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ นักศึกษาได้ความรู้ อาจารย์ก็ได้ให้วิชาทั้งกับชุมชน รวมถึงผู้ได้รับการจ้างงานจึงอยากให้โครงการ U2T ได้ทำต่อและการที่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชนหรือกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน ถือได้ว่าตรงกับเป้าหมายและดิฉันคิดว่ายังสามารถที่จะพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือให้มีเอกลักษณ์และสะท้อนถึงความเป็นบ้านโนนรังให้ได้มากที่สุด

ภาพกิจกรรม

 

วิดีโอประจำเดือนธันวาคม

วิดีโอนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

อื่นๆ

เมนู