ข้าพเจ้านาย ศิริชัย บุญธง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตรID-10 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสังอำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์

สำหรับบันทึกการปฎิบัติงานประจำเดือนธันวาคมและตลอดการปฏิบัติงานในระยะเวลาการจ้างงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้แก่ประเทศ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ บทความนี้จะสะท้อนความรู้สึกและความเห็นต่างๆ จากการทำงานในพื้นที่เพื่อเป็นแนวทาง พัฒนา ต่อยอดให้กับพื้นที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์

การปฎิบัติงาน

โดยตลอดระยะเวลาที่ทำงานมาแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 – เดือนธันวาคม 2564 พื้นที่ที่ได้รับผิดชอบในการดูแล การลงพื้นที่ การสำรวจข้อมูล การประสานงานต่างๆ คือตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน จากการประชุมวางแผนงานได้แบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 5 กลุ่ม โดยตัวผมได้ดูแลในส่วนหลักๆจะเป็นหมู่บ้าน

1. หมู่บ้านหนองม้า    หมู่ที่  5
2. หมู่บ้านโพธิ์ไทร    หมู่ที่  8
3. หมู่บ้านหนองหว้า หมู่ที่  9
4. หมู่บ้านโนนรัง       หมู่ที่  15

การลงสำรวจในพื้นที่ทำงานจะเป็นการเก็บข้อมูลในหลายด้าน ทั้งการเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมของชุมชน แบบฟอร์ม 01 ซึ่งเป็นแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน เพื่อนําข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย  แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 แบบสอบถาม U2T-SROI แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและการเปลี่ยนแปลงจากโครงการต่อพื้นที่ชุมชน และการเก็บข้อมูล CBD เพื่อสำรวจทรัพยากรของชุมชนในด้านต่างๆ

การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ชุมชน

ตลอดระยะเวลาในการทำงานตลอดทั้งการจ้างงานได้มีการดำเนินการจัดการอบรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และให้ความรู้กับชุมชนที่รับผิดชอบทั้งหมด 6 ครั้ง ดังนี้
การอบรมครั้งที่1 ในหัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการออกแบบลายผ้า
การอบรมครั้งที่2 ในหัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัติมาตรฐานงานหนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
การอบรมครั้งที่3 ในหัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการพัฒนารูปแบบสีของผ้า
การอบรมครั้งที่4 ในหัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัติอบรมการวิพากย์และติดตามผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
การอบรมครั้งที่5 ในหัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัตินักเล่าเรื่องชุมชน
การอบรมครั้งที่6 เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ ผลิตภัณฑ์และเรื่องราวของชุมชนตำบลกระสังสู่ประชาชนและเยาวชนอาสาตำบลกระสัง โดยได้ดำเนินการจัดให้กับโรงเรียนภายในเขตบริการตำบลกระสัง 3 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านกระสัง(หรุ่นราษฎร์รังสรรค์) โรงเรียนบ้านโพธิ์ดอนหวาย และโรงเรียนบ้านหนองม้า

สิ่งที่ได้รับจากการปฎิบัติงาน

จากการลงพื้นที่ในชุมชน ทำให้ผมได้เห็นถึงความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งจะมีสภาพพื้นที่และบริบทที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมในของชุมชน ส่วนใหญ่แล้วนอกจากพื้นที่ชุมชนก็จะเป็นพื้นที่ที่มีการทำนาปลูกข้าว การปลูกพืชผักบริเวณตัวบ้าน การเลี้ยงสัตว์ ไก่ ไก่ชน เป็ด วัว ทำให้ทราบได้ว่าส่วนใหญ่แล้วคนในชุมชนจะประกอบอาชีพเกษตรกร และเนื่องจากผมเป็นคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบทำให้สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงภายในชุมชนได้มากกว่าคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาในชุมชนและได้เห็นถึงสิ่งใหม่ที่ผมไม่เคยรู้ว่ามีในชุมชน ได้รับประสบการณ์จากการลงพื้นที่ ได้รับรู้ถึงปัญหาต่างๆของคนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงาน และผลกระจากการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากประสบการณ์จากการสำรวจและยังได้รับประสบการณ์ในการประสานงานการติดต่อกับผู้นำชุมชน หน่วยงานส่วนท้องถิ่นต่างๆรวมทั้งการทำงานกับเพื่อนในทีม ซึ่งได้รับการตอบและรับช่วยเหลือเป็นอย่างดี

สิ่งที่สามารถนำมาพัฒนาและต่อยอดให้กับชุมชน

ตลอดการปฎิบัติงานระยะเวลา11เดือนที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่ยังสามารถส่งเสริมต่อยอดได้ซึ่งมีอีกมาก ทั้งศักยภาพของคนในชุมชน เอกลักษณ์วัฒนธรรม การดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถนำจุดเด่นต่างๆ มาส่วนส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผลผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ทั้งสบู่สมุนไพรมะสังข์ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านโนนรัง การปลูกผักบุ้ง การทำเกษตรอินทรีย์ หากสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาจัดและวางแผนให้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวในตำบลกระสัง ก็จะทำให้ทั้งตำบลเป็นที่รู้จักยิ่งขึ้นไปอีก
ตามความคิดเห็นส่วนตัวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือแบบเดิมมาเป็นผ้าทอมือที่มีเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านโนนรังนั้น เนื่องจากแต่เดิมผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของชุมชนมีมากมายหลากหลายประเภท เอกลักษณ์ของผ้าทอมือจะเป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสานอยู่และซึ่งยังไม่มีจุดเด่นที่แปลกแยกออกมาให้เห็นได้ชัด ส่วนตัวผมคิดว่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือสามารถพัฒนาและสามารถต่อยอดได้มากกว่านี้ จากที่เราได้พัฒนาลายผ้าใหม่ได้แล้ว หากมีการต่อยอดโครงการU2T ในระยะที่2 ควรพัฒนารูปแบบสีและการจัดวางลายของผ้า เนื่องการแฟชั่นหรือความนิยมการสวมใส่ผ้าไทยส่วนใหญ่นิยมรูปแบบสีของผ้าที่สามารถใช้งานได้ในหลายโอกาส จึงอยากให้โครงการ U2T ได้ทำต่อและการที่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชนหรือกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ตรงกับเป้าหมาย

รูปปฏิบัติงาน

วิดีโอประจำเดือนธันวาคม

วิดีโอนำเสนอผลิตภัณฑ์ผ้าทอ

อื่นๆ

เมนู