ข้าพเจ้านางสาวศุภนิดา สุขประเสริฐ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
หลักสูตร ID10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
จากการที่ดิฉันได้เข้ามาทำงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ การเขียนบทความในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการทำงานตลอดระยะเวลา 11 เดือนนี้ ดิฉันจะเล่าถึงมุมมองการทำงานและสิ่งที่ได้พบเจอเกี่ยวกับตำบลกระสัง ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาของตัวดิฉันเอง
การทำงานในตำบลกระสัง ได้มีการแบ่งกลุ่มการทำงานออกเป็น 6 กลุ่ม ดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำงานใน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 2 บ้านม่วงเหนือ หมู่ 4 บ้านเครือชุด หมู่ 11 บ้านลำดวน หมู่ 16 บ้านม่วงเหนือพัฒนา เริ่มแรกได้มีการลงสำรวจพื้นที่เพื่อเสาะหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาส่งเสริมหรือพัฒนาให้เกิดรายได้แก่ชุมชนและเกิดเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับมาตรฐานในระดับสากล ในการสำรวจพื้นที่นั้นได้พบว่าชาวบ้าน การยกระดับผลิตภัณฑ์ในพื้นที่นั้นเป็นไปได้ยาก แต่ยังรู้มาว่าบ้านกลันทามีผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการทำฝาชีที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ จึงได้มุ่งทำการพัฒนาฝาชี ทั้งการจัดอบรมการทำฝาชีเบื้องต้นตั้งแต่เลือกไผ่ เตรียมตอกไม้ไผ่ ไปจนถึงการขึ้นรูปฝาชี แต่เนื่องจาก ปัญหาด้านพื้นที่ การเข้าไปทำกิจกรรมไม่ได้รับความร่วมมือกับคนในพื้นที่ ปัญหาด้านบุคคล คนที่สนใจอยากทำเพื่อเป็นอาชีพมีจำนวนน้อยมาก ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ เนื่องจากวัสดุต้องสั่งผลิตจากต่างจังหวัด จึงทำมาถึงล่าช้าและให้ไม่เพียงพอต่อการจัดอบรม อีกทั้งยังเกิดปัญหาด้านการติดต่อสื่อสารกับทางวิทยากร ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ทำให้การที่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์จักสานนั้นต้องยุบไป จึงหันกลับมาสนในสิ่งที่ทั้ง 4 หมู่บ้านมี ซึ่งทางทีมงานได้เห็นผักบุ้ง เป็นผักที่ชาวบ้าน บ้านม่วงเหนือและบ้านม่วงเหนือพัฒนาปลูกทั้งเป็นอาชีพและเป็นอาชีพเสริมเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก จึงทำการจัดอบรมเพื่อหาความต้องการของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ได้ข้อสรุปว่า อยากให้ทำการส่งเสริมด้านการตลาด ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ดิฉันได้เห็นจากการทำงาน และอยากที่จะพัฒนาต่อ
ด้านผลิตภัณฑ์จักสาน ฝาชีของบ้านกลันทาเป็นฝาชีที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ ที่มีความปราณีต เป็นงานฝีมือที่ควรส่งเสริมและพัฒนาต่ออย่างมาก โดยอาจจะเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง การที่ฝาชีมีขนาดเล็กลงจะทำให้ใช้งานง่ายขึ้น เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งจะทำให้ราคาถูกลง สามารถจับต้องได้ และทำให้ได้มาตรฐานสินค้า เช่นมผช. O-TOP จะทำให้ได้รับความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น แต่การที่จะพัฒนาถ้าหากกลับไปส่งเสริมหรือพัฒนาที่หมู่บ้านเดิมก็จะเกิดปัญญาในแบบเดิมๆ จึงอยากจะนำออกมาส่งเสริมที่หมู่บ้านที่สนใจในผลิตภัณฑ์จริงๆ
ด้านผักบุ้ง ผักบุ้งของทั้ง 2 หมู่ มีกลุมเกษตรกรที่เข้มแข็งมาก และผักบุ้งของกลุ่มมีตลาดรองรับผลผลิตอยู่แล้ว ขาดแต่เพียงช่องทางการติดต่อที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่ม สำหรับเพื่อการขายปลีกให้ผู้บริโภคและผู้ที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมหรือเรียนรู้การปลูกเพื้อการค้าขาย ผักบุ้งเป็นผักที่น่าสนใจนำมาแปลรูปเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นงานที่ท้าทายความคิดสร้างสรรค์และความสามารถอย่างมาก
วิดีโอส่งเสริมการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน
วิดีโอสรุปกิจกรรมนักเล่าเรื่องชุมชน
แบบสอบถามประจำเดือน
https://forms.gle/HLLN5pH7gEy4zDYb7