การประดิษฐ์โคมไฟจากกระบอกไม้ไผ่
ข้าพเจ้านางสาวนภัสนันท์ ลาศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
การลงพื้นที่
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนด้านสภาพแวดล้อม ด้านภูมิทัศน์ต่างๆในชุมชน จึงมีการปรึกษาหารือกับชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชน ทำให้ข้าพเจ้าและทีมงานทำให้ได้ทราบข้อมูลในด้านต่างๆของพื้นที่ชุมชน รวมถึงความต้องการและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้มีความน่าสนใจ ที่จะสามารถช่วยยกระดับชุมชนผ่านการท่องเที่ยว โดยที่ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
โดยได้ข้อสรุปในการดำเนินการในขั้นตอนแรกคือการการจัดอบรมทักษะ ความรู้เรื่องต้นไผ่ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อปรับภูมิทัศน์พื้นที่ในชุมชนไปแล้วนั้น ถัดมาก็จะเป็นการจัดอบรมเรื่องการประดิษฐ์โคมไฟจากไผ่ ซึ่งรายละเอียดการจัดอบรมในหัวข้อดังกล่าวจะเป็นการจัดอบรมในเนื้อหาสาระประจำเดือนนี้ โดยจะมีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาให้ความรู้ในการจัดอบรมครั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับชุมชนให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวต่อไป
สำหรับในปัจจุบันนั้นก็มีการใช้ไม้ไผ่ในชีวิตประจำวัน และนับวันจะใช้มากขึ้นทุกที โดยเฉพาะงานหัตถกรรมจักสานซึ่งเป็นอาชีพรองของคนไทยมาช้านาน แม้กระทั่งทุกวันนี้ชาวบ้านตามชนบท ยังนิยมทำงานจักสานกันอยู่ทั่วไป แต่ก็ยังไม่ทำให้งานจักสานไม้ไผ่ของไทยได้ทัดเทียมกับของต่างประเทศ ทั้งนี้ เป็นเพราะงานจักสานของไทยประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อความจำเป็นในครอบครัวเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยจะเรียบร้อยและสวยงามและคุณภาพยังไม่คงทนถาวรพอ ถ้าหากผู้ประกอบการได้เรียนรู้ถึงวิธีการใหม่ ๆ เช่น การออกแบบที่สวยงาม การดัดแปลงให้สะดวกในการใช้ และรู้จักประดิษฐ์เครื่องมือที่จะทำให้เรียบร้อยยิ่งขึ้นแล้ว รวมทั้งศึกษาถึงกรรมวิธีต่าง ๆ ทั้งทางเคมี ฟิสิกส์ เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพของผลิตกัณฑ์จากไม้ไผ่ดังกล่าวให้มีคุณภาพดีขึ้นแล้ว ก็เชื่อได้แน่ว่าสินค้าผลิตกัณฑ์ไม่ไผ่ของไทยจะสามารถแข่งขันกับของ ต่างประเทศได้
โคมไฟเป็นของใช้และของตกแต่งทั้งภายในบ้านและภายนอกบ้าน ซึ่งโคมไฟเป็นสิ่งที่อำนวยความ สะดวกให้เราสามารถมองเห็นในที่มืดได้ เพราะโคมไฟเป็นสิ่งที่ให้แสงสว่างในเวลากลางคืนหรือแม้แต่ในที่มืดจึงถือได้ว่าโคมไฟเป็นของใช้ที่จำเป็นอย่างในชีวิตประจำวัน โคมไฟมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ โคมไฟแบบตั้งโต๊ะและแบบแขวน ซึ่งโคมไฟแบบตั้งโต๊ะเป็นโคมไฟที่ใช้ภายในบ้านและวางไว้ตามจุดต่างๆของบ้าน อาจจะวางไว้บนโต๊ะหรือบนโต๊ะทำงานเพื่อให้บริเวณนั้นมีแสงสว่างที่เพียงพอ นอกจากโคมไฟจะให้แสงสว่างแล้ว โคมไฟยังใช้เป็นของประดับและตกแต่งภายในบ้าน ซึ่งจะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสวยงามอีกด้วย โดยการประดิษฐ์โคมไฟจากกระบอกไม้ไผ่นั้นได้มีขั้นตอนการและวิธีการ ไว้ดังต่อไปนี้
วัสดุและอุปการณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์โคมไฟ ได้แก่
- กระบอกไม้ไผ่
- เครื่องตัดไม้
- สว่านเจาะรู
- กระดาษทราย
- หลอดไฟ
- สายไฟ
- ปลั๊กไฟ
- สเปรย์เคลือบเงา
วิธีการทำ
- นำกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมมาตัดเอา 1 ข้อแล้วมาทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าสามารถเลือกกระบอกไม้ไผ่ได้ตามความชอบ
- นำสว่านหลายๆขนาดมาเจาะรู ด้านข้างของกระบอกไม้ไผ่ เพื่อทำเป็นลวดลายของโคมไฟ
- นำกระดาษทรายมาขัดให้กระบอกไม้ไผ่ให้เรียบและสวยงาม
- ประกอบ ปลักไฟเข้ากับสาย และฐานหลอดไฟ จากนั้นเจาะรูด้านที่เป็นก้นโคมไฟเพื่อสอดสายไฟเข้าไป
- นำหลอดไฟที่เตรียมมาประกอบเข้ากับกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ จากนั้นพ่นสีเคลือบเงากระบอกไม้ไผ่และตกแต่งให้สวยงาม
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ได้โคมไฟจากกระบอกไม้ไผ่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
- ได้ความรู้และประสบการณ์ในการประดิษฐ์ของใช้และของตกแต่งบ้านจากทรัพยากรธรรมชาติภายในท้องถิ่น
- ได้นำทรัพยากรธรรมชาติภายในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
สรุปการลงพื้นที่
จากการลงพื้นที่นั้น การนำทรัพยากรทางธรรมชาติ ภายในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่ามากขึ้น แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟจากกระบอกไม้ไผ่ ทำให้ รู้ว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งของประดับตกแต่งภายใน บ้านและของใช้ภายในบ้านได้ พบว่าโคมไฟที่ประดิษฐ์จากจากกระบอกไม้ไผ่สามารถนำไปใช้เป็นของประดับตกแต่งภายในบ้านและ ของใช้ภายในบ้านที่ให้แสงสว่างได้ชัดเจน ส่วนด้านที่เจาะรูนั้นให้แสงสว่างน้อยแต่มีความสวยงามมาก และยังพบว่าชาวบ้านในชุมชนให้ความร่วมมือและให้ความสนใจตื่นตาตื่นใจในการประดิษฐ์โคมไฟจากกระบอกไม้ไผ่เป็นอย่างมาก แต่จะมีปัญหาและอุปสรรคของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้คือ กระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นกระบอกไม้ไผ่ที่เปียกชื้นยังไม่แห้งสนิท ทำให้ลำบากต่อการใช้สว่านในการเจาะรู ซึ่งหากใช้กระบอกไม้ไผ่ที่แห้งสนิทแล้วนั้นจะเกิดความสะดวกในการเจาะรูมากยิ่งขึ้น ในครั้งหน้าหากมีการจัดอบรมในลักษณะเช่นนี้ก็จะแก้ไขโดยการใช้กระบอกไม้ไผ่ที่แห้งสนิทต่อไป ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจ สมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนแห่งนี้เกิดความเข้มแข็งในการสร้างชุมชนให้เกิดชุมชนท่องเที่ยวสืบต่อไป
แบบทดสอบประจำเดือนสิงหาคม