ข้าพเจ้านายเรืองเดช กิชัยรัมย์ ประเภท ประชาชน

หลักสูตร ID10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

สำหรับบทความในเดือนสิงหาคม ข้าพเจ้าเขียนบทความในหัวข้อการส่งเสริมความรู้ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สู่การยกระดับสินค้าผ้าทอบ้านโนนรัง

ในการปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคมนี้ ทางคณะทำงานได้ดำเนินการจัดการอบรมการออกแบบลายผ้า ในหัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัติมาตรฐานงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)(กลุ่มผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ) ในวันอาทิตย์ ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2564 ณ ศาลาประชาคมบ้านโนนรัง หมูที่ 15 ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ซึ่งการอบรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริงองค์ความรู้ในงานงานมาตรฐานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าในชุมชน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร คือ นางทานตะวัน จรูญ นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ  ได้มาให้ความรู้ในครั้งนี้ซึ่งมีชาวบ้านผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้จำนวน 15 คน

ช่วงเช้า

เป็นการบรรยาให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวงานมาตรฐานงานด้านหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มต้นจากการทบทวนความรู้พื้นฐานที่ชุมชนมีความรู้อยู่แล้ว เพราะชุมชนนี้เป็นหมู่บ้านโอท๊อปนวัตวิถี ดังนั้นสมาชิกบางคนจะได้ผ่านการอบรมมาแล้วเบี้องต้น แต่บางส่วนก็ยังไม่รู้จักหรือยังไม่เข้าใจ งานด้านหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กิจกรรมนี้จึงเป็นการให้ความรู้ในองค์ประกอบที่ขาดหายไป

โดยในช่วงแรกวิทยากรได้เก็บประเดินต่างๆเพื่อการให้ความรู้ที่ตรงชุดและเพื่อการมีคุณภาพในองค์ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยเน้นไปที่การให้ความรู้เกี่ยวกับการยื่นของมาตรฐานสินค้าภายในกลุ่มทอผ้าโดยได้มีการให้ความรู้ดังนี้

ทั้งในส่วนของการยื่นเอกสารและการรับคำขอรวมไปถึงขั้นตอนการส่งชิ้นผ้าเข้าไปตรวจสอบมาตรฐานที่ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ) และมีการแนะนำในในการส่งตัวอย่างผ้าเข้าไปตรวจสอบมาตรฐานในขั้นตอนนี้จะต้องนำผ้าตัวอย่างไปย้อมสี เพื่อทดสอบอาการตกสี ทั้งในส่วนของของการหาสารเคมีจากสีย้อมผ้า หากยยังไม่ผ่นมาตรฐาน จะต้องส่งกลับมาให้ผู้ส่งได้นำชิ้นงานกลับมาแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ช่วงบ่าย

เป็นการอบรบที่พูดถึงการยกระดับสิ้นค้า OTOP ที่ทางกลุ่มได้มีผลิตภัณฑ์เดิมอยู่แล้ว ซึ่งทางวิทยากรได้มีการให้ความรู้ถึงระดับของเกรดในสินค้า OTOP ซึ่งทางกลุ่มทอผ้าบ้านโนนรัง อยู่ในระดับ C และจากการอบรมในกิจกรรมนี้ทำให้ได้ทราบว่าทางหมู่บ้านมีเพจขายสินค้าออนไลน์อยู่แล้ว แต่ผู้ดูแลเพจเป็นชาวบ้านอีกหมู่บ้านหนึ่งทำให้ไม่มีความต่อเนื่องในการทำงานทำให้ส่วนนี้คือส่วนเพิ่มเติมที่วิทยากรได้เพิ่มเติมข้อมูลให้เกี่ยวกับการขายสินค้าออนไลน์

ซึ่งได้บอกเทคนิคในการถ่ายภาพรวมไปถึงแนวทางการขายสินค้า การใส่แคปชั่น และทักษะการบรรยายถึงตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มความสนใจให้กันสินค้าที่อยู่ในชุมชน

และในกิจกรรมสุดท้ายทางวิทยากรและคณะทำงานร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ได้วิพากษ์ลายผ้าจากการอบรมครั้งที่แล้วมาพูดคุยกันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่ให้กับชุมชน

 

อื่นๆ

เมนู