ดิฉันนางสาวสุดารัตน์   ลิตรไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร ID10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

จากการทำงานของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ออกมาและได้จัดอบรมวันที่18 กรกฎาคม 2564 ณ หอประชุมคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ในช่วงเช้าอบรมเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์และในช่วงบ่ายอบรมเรื่องเครื่องหมายการค้าและการขอสิทธิบัตรจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับความรู้และขั้นตอนการขออนุญาตสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.เครื่องหมายการค้า (Trademark)

เครื่องหมายการค้า หมายถึง  ภาพ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ  ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันที่ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าหรือบริการใช้เครื่องหมายอื่นได้

1.1ประเภทเครื่องหมายการค้ามีทั้งหมด 4  ประเภท ดังนี้

1) เครื่องหมายการค้าคือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายถึงเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นเช่น บรีส มาม่า กระทิงแดงเป็นต้น

ที่มาของภาพ: http://www.thaismescenter.com/

2) เครื่องหมายบริการคือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่นเช่น เครื่องหมายของสายการบินธนาคาร โรงแรม เป็นต้น

ที่มาของภาพ: http://www.thaismescenter.com/

3) เครื่องหมายรับรองคือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองหรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่นเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้าหรือบริการนั้นเช่น เซลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล

ที่มาของภาพ: https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail

4) เครื่องหมายร่วมคือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกันหรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่นตราช้างของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัดเป็นต้น

ที่มาของภาพ: http://www.thaismescenter.com

1.2 ขั้นตอนการจดเครื่องหมายการค้า

 

ที่มาของภาพ: https://www.copyri.com/the-picture-shows-the-procedure-to-register-a-trademark/

สถานที่ยื่นคำขอ

-กรมทรัพย์สินทางปัญญา

-สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

-ยื่นทางไปรษณีย์ถึงนายทะเบียน

-ยื่นผ่านระบบออนไลน์

  1. สิทธิบัตร (Patent)

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสิทธิพิเศษ ที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว  ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การประดิษฐ์ (Invention) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ  ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์  ยารักษาโรค วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น

อนุสิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น การขอรับความคุ้มครอง

2.1 สิทธิบัตรมีอยู่ 2  อย่างดังนี้

1) สิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร คือ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นอันเป็นผลให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใหม่

2) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบ ของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ สามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุสาหกรรมรวมถึงทั้งหัตถกรรมได้

2.2 ขั้นตอนการขอแบบคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

1) แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร สป/สผ/อสป/001-ก

2) ข้อถือสิทธิ

3) ภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์

4) คำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์(ถ้ามี)

5) เอกสารอื่นๆ เช่น

– คำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ แบบ สป/สผ/อสป/001-ก(พ) หรือ หนังสือโอนสิทธิ หรือ สัญญาว่าจ้าง

– หนังสือมอบอำนาจ

ค่าธรรมเนียมต่อ 1 คำขอ ชำระตามแต่ละขั้นตอนดังนี้

– ยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 250 บาท

-คำขอรับสิทธิบัตรสำหรับแบบผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน ยื่นขอในคราวเดียวกันตั้งแต่ 10 คำขอขึ้นไป 2,250 บาท

– ขอแก้ไขเพิ่มเติมครั้งละ 50 บาท

– ขอให้ประกาศโฆษณา 250 บาท

– ขอให้ออกสิทธิบัตร 500 บาท

– ยื่นอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดี ฉบับละ 500 บาท

– คำขอตรวจค้นคำขอรับสิทธิบัตร คาขอละ 50 บาท

– การคัดสำเนาเอกสาร หน้าละ 3 บาท

– การรับรองสำเนาเอกสาร

-เอกสารเกิน 10 หน้า ฉบับละ 50 บาท

-เอกสารไม่เกิน 10 หน้า หน้าละ 5 บาท

– คำขออื่นๆ(ดังต่อไปนี้) ฉบับละ 50 บาท

– คำขอถือสิทธิให้วันยื่นในต่างประเทศเป็นวันยื่นในไทย

– คำขอขึ้นทะเบียนตัวแทนสิทธิบัตร ฉบับละ 50 บาท

– คำขอรับใบแทนสิทธิบัตร หรือใบแทน ใบอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร

– คำขอรับใบแทนหนังสือสาคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร

สถานที่ยื่นคำขอ

-กรมทรัพย์สินทางปัญญา

-สำนักงานพาณิชย์จังหวัด

-ยื่นทางไปรษณีย์

ที่มาของข้อมูล: http://www.ipthailand.go.th/th/design-patent-001.html

สรุป การอบรมที่ผ่านมาเรื่องของเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตรได้ความรู้เรื่องการขอสิทธิบัตรและการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตราฐานของมผชก่อนถึงจะขึ้นจดเครื่องหมายการค้าและการยื่นขอสิทธิบัตรนี้และในกลุ่มของดิฉันจะได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นตามที่มผชและดิฉันหวังว่าคนที่เข้ามาศึกษาจะได้ความรู้และนำข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดต่อไป ขอบคุณค่ะ

ลิงก์แบบทดสอบ

https://forms.gle/Rt2cgs5pymZwh91BA

ลิงก์วิดีโอประจำเดือน

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู