ข้าพเจ้า นางสาวสุนิษา แก้วสีแสง ประเภทบัณฑิต ตำบลกระสัง
หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชุน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในปี 2564 เป็นการตลาดในยุคความไม่แน่นอน ท่ามกลางวิกฤตโควิค-19 และสถานการเศรษฐกิจ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาคู่แข่งทางสินค้าและบริการ ส่งผลต่อการวางแผนรับมือ และจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคจำกัดการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจและพิจารณาว่าเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่
สบู่จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าสิ้นเปลือง เป็นสินค้าอุปโภคที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันทุกบ้านต้องมีสบู่ แม้แต่โรงแรม รีสอร์ท ก็ต้องมีสินค้าอย่างสบู่ไว้บริการลูกค้าด้วยทั้งนั้น ตลาดของสบู่จึงถือว่ามีมูลค่าสูงแต่ในทางกลับกันผู้แข่งขันก็มาก
ตลาดสบู่ มี 2 กลุ่มหลักๆ คือ
1.สบู่เพื่อความงาม เป็นตลาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสุงมากมูลค่าในตลาดก็หลายพันล้านบาทต่อปี สบู่ในหมวดหมู่นี้เช่น สบู่กลูต้า, สบู่เน้นผิวขาว, สบู่สิว เป็นต้น อย่างไรก็ดีข้อดีของยุคนี้คือการมีธุรกิจOEMที่ช่วยในการผลิตเพียงแต่ผู้ประกอบการจะต้องจับกลุ่มตลาดที่ตัวเองต้องการให้ได้ว่าสบู่แบบไหนที่จะเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายที่สุด
2.สบู่สมุนไพร กระแสคนรักสุขภาพที่มาแรงก็ทำให้สบู่สมุนไพรเป็นอีกตัวเลือกที่คนหันมาทำเป็นสินค้ากันมาก ส่วนผสมของสบู่สมุนไพรส่วนใหญ่ก็จะเป็นเครื่องเทศสมุนไพรไทยอย่าง ขมิ้น อัญชัญ มะขามป้อม กวาวเครือ ใบบัวบก รวมถึงพวกสบู่ชาร์โคลต่างๆ ด้วย การจะทำแบรนด์สบู่เป็นธุรกิจก็ควรจะโฟกัสไปเลยว่าเราจะเลือกตลาดไหนซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความถนัดของเรา
(ที่มา:http://www.thaismescenter.com/)
ช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ทำให้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการฆ่าเชื้อ เรื่องความสะอาด รวมทั้งผลิตภัณฑ์ Personal Care เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะสบู่ ในปี 2563 มูลค่าตลาดรวมของสบู่ประมาณ 16,000 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นสบู่ก้อน 9,000 ล้านบาท การเติบโตของกลุ่มสบู่เหลว มีมูลค่าทางการตลาดรวมประมาณ 7,400 ล้านบาท
ทั้งนี้สบู่ก้อนและสบู่เหลว ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.สบู่แอนตี้แบคทีเรีย มีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 35
2.สบู่สมุนไพร เป็นอีกประเภทที่เติบโตสูงมากกว่าร้อยละ 40
3.สบู่สมุนไพรแบรนด์ไทย สบู่เด็ก สัดส่วนประมาณร้อยละ 15
4.สบู่อื่น ๆ ประมาณร้อยละ 10
ที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีแบรนด์สบู่จากในประเทศและต่างประเทศมากมาย แต่ปัจจุบันมีการแบรนด์จำนวนน้อยลง บางแบรนด์หายไปจากตลาด สบู่ก้อนแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2490 คือ นกแก้ว จากนั้นมีบริษัทต่าง ๆ นำเข้าสบู่มาจำหน่าย เช่น ผลิตภัณฑ์เริ่มแรกของของพีแอนด์จี อย่างสบู่ไอเวอรี่ สบู่โดรฟ สบู่ลัก สบู่แคร์ สบู่วาสลีน เป็นต้น
สบู่สมุนไพร เป็นสบู่แบรนด์ไทยที่ แบรนด์อินเตอร์ แทบจะไม่มีส่วนแบ่งทางการตลาดในนี้เลย แม้จะมีความพยายามในการทำสบู่ผสมสมุนไพรออกมาบ้าง แต่ไม่สามารถเข้ามาในตลาดนี้ได้ ในส่วนของแบรนด์ไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในตลาด มีจำนวนมาก เช่น สบู่เบนเนท สบู่วิภาดา
นอกจากจะได้รับความนิยมในประเทศและ ยังมีการส่งออกสบู่สมุนไพรไทย ไปยังต่างประเทศด้วย ในปี 2562 ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าสบู่และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวอันดับที่ 9 ของโลก มีมูลค่าส่งออกกว่า 279 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นมูลค่าการส่งออกไป18 ประเทศสูงถึง 221 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของการส่งออกสินค้าสบู่ของไทยทั้งหมด สำหรับช่วง มกราคม – กุมภาพันธ์ ปี 2563 ไทยส่งออกสบู่สูงถึง 48 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสบู่ของไทย มีจุดเด่นคือ ความแปลกใหม่และการมีส่วนผสมจากวัตถุดิบธรรมชาติหรือสมุนไพรที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติมาก
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง สำหรับผู้บริโภค คือ ก่อนหน้านี้ที่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยอดขายสบู่ก้อนตกลงมาเพราะผู้บริโภคหันไปนิยมใช้สบู่เหลว ด้วยเหตุผล 2-3 ข้อ คือ สบู่ก้อนใช้ยาก ต้องมีที่ลอง และเวลาถูมักลื่นหลุดจากมือ ในขณะที่สบู่เหลวสามารถปั๊มออกมาใช้เพียงแค่กดครั้งเดียว ที่สำคัญผู้บริโภคมีความกังวลว่า สบู่ก้อนอาจเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้
ในเวลาต่อมา มีผลการศึกษาจากสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า แบคทีเรียไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการล้างมือ และมีงานวิจัยจากนักสาธารณสุขยืนยันว่า การล้างมืออย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะจากสบู่ประเภทใด ก็สามารถป้องการเชื้อโรคได้ ทำให้อัตราการเติบโตของสบู่ก้อนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้น เมื่อกระแสการรักษ์โลก เพราะการใช้สบู่เหลวก่อให้เกิดขยะพลาสติก ทั้งขวดพลาสติก จุกกดปั๊ม และสติกเกอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นสบู่แบบก้อนหรือสบู่เหลว ขอให้ทุกคนล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี บ่อย ๆ เพื่อป้องกัน ไม่ใช้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายในภาวะแพร่ระบาดของโควิด – 19 (ที่มา:www.thestorythailand.com)
จากสถานการ์โควิค-19 นี้เองที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้สื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และการที่กักตัวอยู่บ้านส่งผลถึงพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลความงามเพิ่มมากขึ้นตลอดทั้งวัน จึงเป็นการโอกาสในการเพิ่มยอดขาย การสร้างเพจfacebook จึงเป็นการทำการตลาดรูปแบบออนไลน์ที่ได้รับความนิยม ซึ่งผู้หญิงมีการใช้ facebook ร้อยละ 51 จากบัชชีfacebook ทั้งหมด 51 ล้านบัชชีในไทย
การสร้าง Facebook page มักเป็นจุดเริ่มต้นของใครหลายๆคนที่จะเริ่มทำการตลาดออนไลน์แรกๆ บทความนี้สำหรับหลายๆคนที่สงสัยเกี่ยวกับวิธีการสร้างเพจ facebook ขายของหรือทำธุรกิจต่างๆ
การสร้างเพจ Facebook นั้น เราจะต้องทำการสร้างเพจจากเฟสบุ๊คส่วนตัวดังนั้นหากใครยังไม่มีบัญชี Facebook ก็ทำการสมัครบัญชีส่วนตัวก่อน
วิธีการสร้างเพจ Facebook Page
ขั้นตอนที่ 1 : สร้างเพจขายของบนเฟสบุ๊ค (FACEBOOK PAGE)
-เข้าไปที่ https://www.facebook.com/pages/create
-จากนั้นคลิกเลือกประเภทของเพจ (ถ้าคุณอยากเปิดร้านค้า แนะนำให้เลือกเป็น “ธุรกิจหรือแบรนด์” ค่ะ)
ขั้นตอนที่ 2 : ใส่รายละเอียด
-ตั้งชื่อเพจ ควรตั้งให้จำง่ายและมีคีย์เวิร์ดของสินค้าที่เราขาย
-เลือกหมวดหมู่
-คลิก ‘ดำเนินการต่อ’ หรือ ‘สร้างหน้า’
ขั้นตอนที่ 3 : ตั้งรูปโปรไฟล์และภาพปก (PROFILE & COVER IMAGE)
-เลือกภาพปก (Cover Image) (ขนาด 1,640 x 856 px)
-กด ‘อัปโหลดรูปภาพหน้าปก’
Tips: รูปภาพหน้าปก ควรจัดวาง ข้อความ รูปภาพ ใจความสำคัญไว้ส่วนกลางของรูปภาพ เนื่องจากการแสดงผลบนโทรศัพท์ จะแสดงผลความกว้างรูปภาพเพียง 1,255 px เท่านั้นค่ะ
ตอนนี้เราก็สร้างเพจเรียบร้อยแล้ว แต่ยัง..ยังไม่ครบกระบวนการ
ขั้นตอนที่ 4 : ตั้งค่าข้อมูลเพจ ข้อมูลร้านค้า
-กด ‘เพิ่มคำอธิบายสั้นๆ’ เพื่อเข้าสู่กระบวนการตั้งค่าข้อมูลเพจร้านขายของของเรา ซึ่งจะให้เราใส่ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเพจ วิธีการติดต่อกับร้าน ตำแหน่งที่ตั้งร้าน วันและเวลาเปิด-ปิดร้าน (สามารถกดข้ามและย้อนมาใส่ภายหลังได้ ให้เข้าไปที่ ตั้งค่า ▶︎ ข้อมูลเพจ)
1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเพจ
-คำอธิบายเพจ ในส่วนนี้ แนะนำให้คุณแม่ค้าใส่รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า (ขายอะไร, ขายยังไง) การจัดส่ง และข้อมูลการติดต่อ ให้ลูกค้าอ่านแล้วรู้ได้ทันทีเลยว่าเราขายอะไร และจะติดต่อเราได้ยังไงค่ะ
–หมวดหมู่ เลือกหมวดหมู่ให้ตรงกับประเภทสินค้าที่เราขาย เพราะเฟสบุ๊คจะเลือกแนะนำเพจเราไปให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ชอบสินค้าที่เราขาย
2.การติดต่อ
-เลขโทรศัพท์มือถือ หากใส่เบอร์ไว้จะทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อร้านได้ง่าย เป็นอีกวิธีที่ปิดการขายง่าย
–เว็บไซต์ (Website) ถ้ามีเว็บไซต์ให้เอาลิงก์เว็บไซต์มาวางไว้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถกดเข้าไปดูสินค้าตัวอื่นของเราได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสการซื้อมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีคุณแม่ค้าท่านไหนยังไม่มีเว็บไซต์ สามารถว่างไว้ได้ หรือสามารถสมัครใช้งาน Page365 Store เว็บไซต์ฟรีที่ดึงสินค้าจากเพจเฟสบุ๊คไปแสดงในรูปแบบเว็บไซต์
–อีเมล (Email)
–ตำแหน่งที่ตั้ง ให้ใส่ที่อยู่ร้านค้า-เวลาทำการ ให้ระบุช่วงเวลาทำการของร้าน
ขั้นตอนที่ 5 : สร้าง URL ให้ร้าน เพื่อให้คนเข้าถึงและแชร์ได้ง่ายๆ
ควรสร้างชื่อที่จำง่าย พิมพ์ง่าย เพื่อให้แฟนเพจติดต่อเราได้ง่าย แชร์ข้อมูลเราได้ง่าย ขั้นตอนนี้ถ้ายังคิดชื่อไม่ออก สามารถกดข้ามและมาตั้งค่าย้อนหลังได้ กด ‘สร้างชื่อผู้ใช้ของเพจ’ ที่อยู่ใต้ภาพโปรไฟล์ (Profile Image) จากหน้าแรกของเพจได้เลย
ขั้นตอนที่ 6 : สร้างปุ่มให้ลูกค้า INBOX ง่ายขึ้น
-คลิก ‘+ เพิ่มปุ่ม’
-เลือก ‘ส่งข้อความ’
-คลิก ‘Messenger’
-และคลิก ‘เสร็จสิ้น’
ตอนนี้เราก็มีปุ่ม ส่งข้อความ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลูกค้าที่เข้ามาดูสินค้าในเพจเราก็สามารถกดปุ่มนี้เพื่อส่งข้อความถึงคุณแม่ค้าได้ทันที
ขั้นตอนที่ 7 : เชื่อมต่อ INSTAGRAM ร้านค้าให้จัดการได้ในที่เดียวกัน
สำหรับข้อนี้ ถ้าหากร้านค้าของคุณมีบัญชี Instagram ด้วย สามารถเชื่อมบัญชี Instagram ร้านค้าเข้ากับเพจร้านค้าของคุณได้ค่ะ ข้อดีก็คือเราสามารถสร้างโฆษณาบน Facebook Page ที่ปรากฎบน Instagram ได้เลยค่ะ
-คลิก ‘ตั้งค่า’
-เลือก Instagram
-คลิกที่ปุ่ม ‘เชื่อมต่อ’
-จากนั้นลงชื่อเข้าใช้บัญชี Instagram ร้านค้าที่เราต้องการเชื่อมต่อ
ขั้นตอนที่ 8 : เพิ่มประสิทธิภาพให้ร้านออนไลน์ด้วย PAGE365 ฟรี!
-เข้า https://www.page365.net/
-คลิกที่ปุ่ม สมัครใช้ฟรี
-อ่านรายละเอียด และ คลิก “สมัครใช้งานผ่าน Facebook”
-คลิก “เปิดใช้งาน” ตรวจเพจร้านค้าของคุณ
การเข้าใช้ระบบจัดการร้านค้าของ Page365 ก็ไม่ยากเลย ถ้าใช้บนคอมพิวเตอร์ แค่เข้าไปล็อกอินที่ https://page365.net หรือจะใช้ผ่านแอพบนมือถือ ก็ได้
ต่อไปนี้ ไม่ว่าลูกค้าถามรายละเอียดสินค้าผ่านคอมเม้นท์ (Comment) ใต้ภาพสินค้า ส่งแมสเสจเข้ามาในอินบ็อกซ์ (Inbox) ของหน้าเพจ หรือ คอมเม้นท์จาก Instagram ร้านค้า คุณก็สามารถตอบกลับได้ง่ายๆ ในที่เดียวผ่านระบบ Page365 เลยค่ะ (ที่มา:https://www.digitalmindhub.com/)