บทความเดือนสิงหาคม
เรื่อง ลวดลายของโคมไฟ
ข้าพเจ้า นางสาววนาวิน ศรีสอาด ประเภท นักศึกษา
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานในเดือน สิงหาคม พุทธศักราช2564 ที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
การลงพื้นที่
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน และการจัดกิจกรรมการประชุมหารือเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Alnaysis) ของชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชน ทำให้ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทราบข้อมูลในด้านต่างๆของพื้นที่ชุมชน รวมถึงความต้องการและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้มีความน่าสนใจ ที่จะสามารถช่วยยกระดับชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยที่ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ จากข้อมูลที่ได้ดังกล่าวข้าพเจ้าและทีมงานได้นำมาประชุมหารือกันเพื่อวางแผนการดำเนินในขั้นตอนต่อไป
ข้าพเจ้าและทีมงานได้วางแผนการดำเนินงานโดยเริ่มจากต้องการปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ในชุมชนให้มีความน่าสนใจ โดยการเสริมสร้างแนวคิดสร้างสรรค์การปลูกต้นไผ่ เพื่อความสวยงามทางด้านการท่องเที่ยว หรือเป็นจุดแวะถ่ายรูป รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไผ่ ที่มีหลากหลายสายพันธุ์
สำหรับเนื้อหาบทความประจำเดือนสิงหาคมนี้ ข้าพเจ้าได้เขียนเพื่อนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ กิจกรรมหลักการประดิษฐโคมไฟจากต้นไผ่ จักสานไม้ไผ่เป็นงานฝีมือที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ภาพที่เห็นเครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้านล้วนแล้วแต่ทำมาจากการสานไม้ไผ่ด้วยกันทั้งนั้น และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ กลุ่มของข้าพเจ้า ได้คิดนำงานจักสานไม้ไผ่ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทยมาต่อยอด อวดสายตาชาวโลก ผ่านงานศิลปะโคมไฟจักสานไม้ไผ่
ถ้าเอ่ยถึง โคมไฟไม้ไผ่ หลายคนมองว่าไม่เห็นจะมีอะไรน่าสนใจ ซึ่งเหมือนกับงานจักสานทั่วไป แต่โคมไฟของเรา เชื่อว่าใครได้เห็นก็คงจะต้องทึ่งในฝีมือ และความวิริยอุตสาหะ อดทนในการทำงานชิ้นนี้ออกมาได้อย่างสวยงาม เพราะแต่ละชิ้นต้องใช้ความละเอียดลออแต่ละขั้นตอนเพื่อให้จักสานแต่ละพวงที่นำมาร้อยต่อกันออกมาเป็นโคมไฟจะต้องมีขนาดเท่ากัน นำมาต่อกันเป็นโคมไฟห้อยลงมาจากเพดาน และเมื่อจักสานไม้ไผ่กระทบแสงไฟจากหลอดไฟภายใน ยิ่งทำให้งานโคมไฟจักสานไม้ไผ่ของชุมชเรามันช่างเป็นงานฝีมือที่มีความงดงามจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ชุมชของเรายังคงมุ่งมั่นที่จะทำงานจักสานไม้ไผ่ลายดั้งเดิมแบบประยุกต์ร่วมสมัยต่อไป เพราะหวังว่าจะสร้างแบรนด์ ให้เป็นที่รู้จัก เป็นแหล่งท่องเที่ยว และยอมรับในสายตาของชาวต่างชาติ และคนไทย ที่ต้องการงานจักสานไม้ไผ่ เพราะส่วนหนึ่งต้องการสร้างอาชีพให้ได้สืบทอดงานฝีมือที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทยโบราณให้ยังคงอยู่ต่อไป
สรุปผลการดำเนินโครงการ
จากการดำเนินกิจกรรมในส่วนของภาคเช้ามีการบรรยายเรื่อง หลักการประดิษฐ์โคมไฟจากต้นไผ่ ทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์โคมไฟจากต้นไผ่ ประโยชน์ของโคมไฟไม้ไผ่ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ การเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรธรรมชาติ และวิทยากรสาธิตการใช้อุปกรณ์ช่างในการสร้างลวดลายบนกระบอกไม้ไผ่ และการลงมือปฏิบัติการทำโคมไฟจากไม้ไผ่ของผู้เข้าร่วมการอบรม ในส่วนของภาคบ่ายปฏิบัติต่อจากช่วงเช้า และมีการประกอบหลอดไฟใส่ในโคมไฟไม้ไผ่ จากนั้นร่วมกันสรุปการดำเนินกิจกรรมและปิดการอบรม