ข้าพเจ้านายเรืองเดช กิชัยรัมย์ ประเภท ประชาชน

หลักสูตร ID10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือนกันยายน ข้าพเจ้าจะขอเล่าถึงประเพณีบุญข้าวสาก ของบ้านโนนรัง ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

บุญข้าวสาก เป็นประเพณีการทำบุญที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประจำทุกปีของประเพณีสิบสองเดือน หรือ “ฮิตสิบสอง” (ฮีต มาจากคำว่า จารีต ฮีตสิบสอง คือ จารีตประเพณีสิบสองเดือน) ของชาวอีสาน

จากการสอบถามของนางหนูปั่น สายนาค เล่าบอกว่าโดยปกติวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ตอนเช้าจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรซึ่งประกอบไปด้วยข้าวสวย อาหารคาวหวาน ตัวอย่าง ปลาดุกย่าง ข้าวต้มมัด และจะมีผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดอีกด้วย และจำไปถวายก่อน พอถึงเวลาประมาณ 9 – 10 โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลองโฮม(รวม)  ญาติโยมจะนำอาหารทั้งคาวและหวานที่เตรียมไว้มาถวายพระสงฆ์  ซึ่งแต่ละครอบครัวจะต้องมาจัดลำดับว่าใครมาก่อนมาหลังเพื่อที่จะได้เป็นลำดับไว้ โดยในละครอบครัวจะมีผู้ที่เป็นหัวหน้าจะกล่าวนำคำถวายสลากภัต  ญาติโยมว่าตามจบแล้วนำไปให้พระเณร   และครอบครัวนั้นๆจะนำพาข้าว(สำรับกับข้าว) และเครื่องปัจจัยไทยทานก็นำไปประเคนให้พระเณร จากนั้นพระเณรจะฉันเพล ให้พรญาติโยมจะพากันรับพรแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

ที่มา (https://today.line.me/th/v2/article/Z9O3Z7)

และเสร็จจากนี้แล้ว แต่ละครอบครัวจะนำเอาห่อข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณวัด  พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ ซึ่งในถ้อยคำในการกล่าวมีดังนี้ “เอิ่นชื่อญาติพี่น้องเฮาที่เสียไป แล้วต่อด้วยว่ามาเด้อมารับเอาข้าวมีแต่แนวที่สุเจ้ามัก เหล้ายาปลาปิ้งกะมี มารับเอาไปกินเด้อ”   นอกจากนี้  ชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยง ตาแฮก ณ ที่นาของตนด้วย เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก

ที่มา (https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/896391)

ซึ่งในการสัมภาษณ์ในครั้งนี้จะทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้เห็นถึงความแตกต่างของประเพณีในพื้นที่และบ้านของผู้สัมภาษณ์ คือที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ในส่วนของช่วงเวลาของการประกอบพิธีต่างๆ ซึ่งในพิธีกรรมของคนอีสานตอนบนจะนิยมไปวัดช่วง 11 โมงและจะให้พระเณรจับสลาก   พระเณรจับได้สลากของใครจะต้องไปทำพิธีกับพระเณรรูปนั้น และอีกหนึ่งสิ่งที่มีความแตกต่างกันคือตัวข้าวสากเพราะในทางอีสานตอนบนจะมีความเหนียวและแข็งมากกว่าทางอีสานตอนใต้ทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้มีการสังเกตุความแตกต่างของวัฒนธรรม

และจากคำบอกเล่าของคนในชุมชนจะทำให้ได้ทราบถึงข้อมูลว่าบ้านโนนรังไม่ได้มีวัดภายในหมู่บ้านซึ่งชาวบ้านจะนิยมไปทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่วัดบ้านโพธิ์ไทร ในพื้นที่บ้านโพธิ์ไทร ซึ่งห่างจากบ้านโนนรังเพียง 1 กิโลเมตร บริเวณภายในวัดมีความร่มรื่นด้วยต้นไม่ใหญ่ ซึ่งมีศาลาหลังเก่าถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานแต่ก็ได้มีการบูรณะให้สวยงามอยู่ภายในวัดและชาวบ้านจะนิยมสวมใส่ผ้าทอของตนเองที่มีไปวัด และมีการประผ้าสะไบขิดที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไปวัดด้วย

ซึ่งปกติในเทศกาลบุญข้าวสากในทุกๆปีจะมีความสนุกสนานร่วมไปถึงการมีกิจกรรมอื่นๆเสริมเข้ามา ซึ่งในแต่ละปีชาวบ้านบ้านโนนรัง และบ้านใกล้เคียงจะมาร่วมกันทำบุญด้วยกันทุกปีและจะมีการทำผ้าป่าเพื่อเป็นการสบทบทุนให้กับวัดใช้ในกิจการต่างๆภายในวัด ซึ่งในปีนี้ความแตกต่างไป โดยปกติจะต้องไปวัดพร้อมกันแต่สำหรับปีนี้ต่างคนต่างไปแล้วในส่วนของการทำผ้าป่าก็ไม่มีทำให้กิจกรรมและประเพณีในส่วนนี้ขาดหายไป และหนึ่งสิ่งที่จะพบได้คือวัฒนธรรมของชาวอีสานที่เป็นวัฒนธรรมของชาวอีสานซึ่งพื้นที่นี้จะอยู่ในเขตเมืองซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยเขมรทำให้เราได้สัมผัสถึงความแตกต่างระหว่างชาวอีสานและชาวไทยเขมร

อื่นๆ

เมนู