ข้าพเจ้า นางสาวสุนิษา แก้วสีแสง ประเภทบัณฑิต ตำบลกระสัง
หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชุน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือนกันยายนข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในหมู่ 1 บ้านกระสัง ตำบลกระสัง จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเพณีที่จัดขึ้นทุกปีในเดือนเมษายน ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้คือผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 นายมนต์ แกจะสน

ประเพณีในเดือนเมษายนจะจัดขึ้นทุกปีในเดือนเมษายน

ในช่างวันที่ 13 14 และ 15 ผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า ในวันที่ 12 จะเป็นการประชุมชาวบ้านในการจัดกิจกรรม

วันที่ 13 การจัดกิจกรรมวันแรกจะเป็นการทำความสะอาดศาลหลวงปู่อรุณ ณ วัดจำปาทอง ซึ่งกิจกรรมในวันแรกอาจจะยังไม่มีซึ่งที่น่าสนใจแต่กิจกรรมที่สำหรับข้าพเจ้าได้ฟังจากผู้ใหญ่บ้านแล้วคิดว่าน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ แต่ข้าพเจ้าขอเกริ่นไว้ก่อนเลยว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน

วันที่ 14 ในช่วงเช้าจะเป็นการทำความสะอาดศาลตาปู่ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของคนในหมู่บ้าน หมู่ 1

 

ในช่วงบ่ายจะทำการนำกระดูกของบรรพบุรุษมาร่วมทำบุญและมีการเล่นแม่มดซึ่งจะมีลักษณะคล้ายๆการเข้าทรง ในการเล่นเเม่มดนั้นจะมีการให้วิญญาณที่ล่วงลับไปแล้วเข้ามาในร่างของคนที่ทำพิธี หรือวิญญาณอาจจะเข้าผู้ร่วมพิธี

 

ข้าพเจ้าซึ่งไม่เคยเข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว จึงได้สัมภาษณ์ถึงบรรยากาศในงาน ผู้ใหญ่บ้านเล่าว่าวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้วมาเข้าร่างของผู้คนในงาน วิญญาณคนที่ตายไปแล้วจะมาเข้าร่างแล้วบอกในสิ่งที่ต้องการ อย่างเช่น วิญญาณของหลวงปู่อุดมได้มาเข้าร่างของแม่มดแล้วได้บอกกล่างแก่ชาวบ้านว่า ขับรถเสียงดังไม่ให้ความเคารพ และวิญญานที่เข้าที่ทำให้ข้าพเจ้าประหลาดใจมาก คือ วิญญาณ นายกอ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า ก่อนตายนายกอเป็นใบ้ไม่สามารถพูดได้ ทุกคนคิดเมื่อวิญญาณตายไปแล้วจะสามารถพูดได้หรือไม่ ซึ่งวิญญาณนายกอที่เข้ามานั้น ก็ไม่สามารถพูดได้เหมือนตอนที่มีชีวิตอยู่ ข้าพเจ้าจึงสงสัยว่า ถ้าพูดไม่ได้จะบอกสิ่งที่ต้องการได้อย่างไร ผู้ใหญ่บอกว่า นายกอก็แสดงท่าทาง ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกใหม่มาก

เมื่อวิญญาณเข้ามาในร่างแล้ว ส่วนใหญ่วิญญาณจะหิว และขอบุญ และชาวบ้านมีความเชื่อว่าถ้าไม่ทำตามวิญญาณจะเอาไปอยู่ด้วยและเมื่อวิญญาณได้สิ่งที่ต้องการแล้ว ก็จะออกจากร่างไปเอง

ในช่วงเย็นของวันที่ 14 จะมีวงดนตรี และการแสดงให้ความสนุกสนานแก่ชาวบ้าน

ในวันที่ 15 จะเป็นการทำบุญตักบาตร

ประเพณีนี้จะจัดขึ้นทุกปีในวันที่ 13-15 เมษายน แต่ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิค-19 ทำให้ไม่ได้จัดงานมา 2 ปีแล้ว แต่ไม่ว่าอย่างไรประเพณีนี้ก็เป็นความเชื่อของชาวบ้านที่เคารพต่อศาลหลวงปู่อรุณ หลวงปู่อุดม และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ขอให้ใช้วิจารณญาณในการอ่าน และเคารพความศรัทธาของชาวบ้าน

 

อื่นๆ

เมนู