หลักสูตรID:10 ข้าพเจ้านางสาวสุดารัตน์ ลิตรไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
การลงพื้นที่
จากการลงพื้นที่ได้สอบถามการจัดทำจักสานไม้ไผ่ของหมู่ที่10 บ้านกลันทา นางสาวพัชราพร มาติโก (พี่ปอ) ได้ทราบข้อมูลมาว่าการทำจักสานไม้ไผ่จากฝาชีพบว่าการทำแต่ละครั้งได้ทำการสั่งซื้อไม้ไผ่มาจากจังหวัดจันทบุรีเพราะไม้ไผ่ที่ต้องใช้ต้องเป็นไม้ไผ่ที่นำมาจากบนภูเขาและมีลำต้นสูงขนาด2-3 เซนติเมตร และมีปล้องขนาดใหญ่
ชนิดของไม้ไผ่
ต้นไผ่ ถือเป็นทรัพยากรสำคัญ สามารถนำส่วนต่างๆ ของไผ่มาใช้ได้ ตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ ประโยชน์ หลากหลายด้าน โดยเฉพาะด้านงานหัตถกรรมจักสาน ใช้ทำเป็น ข้าวของเครื่องใช้มากมาย เช่น กระบุง ตะกร้า แคร่ กระจาด ฝาชีกรอบรูป กระเป๋า เป็นต้น ไม้ไผ่ที่พบในประเทศไทยและนิยมนำมาใช้ในงาน หัตถกรรมจักสานที่สำคัญ ดังเช่น ไผ่สีสุก หรือไผ่โจด พบทั่วไปและมีมากในภาคกลาง และภาคใต้ มีลักษณะขึ้นเป็นกอใหญ่หนาแน่นมาก มีลำต้นกลวง เนื้อหนา ผิวเป็นมันปล้องยาว ลำต้นมีเนื้อหนาและเหนียว ทนทานดีมาก ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ชนิดนี้มีความสวยงาม คงทน และเป็นที่นิยมนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากกว่าไผ่ ชนิดอื่น เช่น ใช้ทำเครื่องจักสาน เฟอร์นิเจอร์ ใช้ในการก่อสร้าง ไผ่ซาง หรือไผ่ซางดอย พบทั่วไป แต่พบมากทางภาค กลางและภาคเหนือของประเทศไทย นิยมนำลำต้นมาใช้ในการก่อสร้างและนำมาจักตอกทำเครื่องจักสาน เช่น สานเข่ง ตะกร้า กระบุง บุ้งกี๋ และใช้ทำเครื่องเรือนต่าง ๆ ไผ่รวก พบทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกเป็นแนว รั้วบ้าน เหมาะสำหรับนำมาทำเครื่องเรือนไม้ ไผ่รวกดำ หรือไผ่รวกใหญ่ เป็นไม้ไผ่ที่พบทางภาค เหนือ นิยมนำมาใช้ประโยชน์ใช้ทำโครงร่ม โครงพัด เครื่อง ประดับบันได ใช้สานเข่งสำหรับบรรจุผักและผลไม้ และทำเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เนื่องจากลำต้นมีเนื้อไม้ที่แข็งแรง ทนทาน ไผ่ไร่ พบมากในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไปทั่วทุกภาค นิยมใช้ทำด้ามไม้กวาด ทำไม้เท้า ทำรั้วบ้าน ทำค้างผักต่าง ๆ และเนื่องจากมีเนื้อต้นคล้ายหวาย จึงสามารถนำมาตัดให้โค้งงอได้ เหมาะสำหรับทำเก้าอี้ และ เฟอร์นิเจอร์รูปแบบต่าง ๆ ไผ่ผาก พบทางภาคใต้ และจังหวัดกาญจนบุรี นิยมนำ ลำต้นใช้ทำเข่งใส่ถ่าน เครื่องใช้ในครัวเรือน ไผ่ข้าวหลามหรือไผ่กาบแดง พบมากทางภาคเหนือ ตอนเหนือของจังหวัดกาญจบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางส่วน นิยมนำลำต้นใช้ทำกระบอกข้าวหลาม เครื่องจักสานต่าง ๆ ไผ่เฮี้ยะ พบทางภาคเหนือ นิยมนำลำต้นใช้ในการทำ โครงสร้างอาคารบ้านเรือน และเครื่องจักสานต่าง ๆ ไผ่หก หรือไผ่นวลใหญ่ พบทางภาคเหนือ และจังหวัด กาญจนบุรี นิยมนำลำต้นใช้ในการก่อสร้างชั่วคราว ทำ กระดาษและเครื่องจักสาน .ไผ่บงดำ พบมากในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ นิยมนำลำต้นใช้ทำเสื่อรำแพน เครื่องจักสาน เครื่องเรือน ทำก้านร่ม ไผ่บง พบขึ้นปะปนอยู่กับพันธุ์ไม้ชนิดอื่น ๆ ในป่าเบญ พรรณทางภาคเหนือและภาคกลางนิยมนำลำต้นไปใช้ ประโยชน์เพื่อการก่อสร้าง และงานจักสาน
แหล่งที่มา: https://www.sacict.or.th/uploads/items/attachments/957d6e060bd7c0125f9b60b1558c6257/_4286c2cae49107f882748af522d4782c.pdp (สืบค้นวันที่17 พฤษภาคม 2564).
ที่มา: https://www.bansuanporpeang.com/node/29019
ลักษณะเด่นของไม้ไผ่ที่เหมาะสมต่อการทำจักสาน
ไม้ไผ่ (ฺbamboo) เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่นิยมนำมาทำเครื่องจักสานกันแพร่หลายที่สุด เพราะมีทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศ ไม้ไผ่ในประเทศไทยมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้ดีแตกต่างกันไป โดยที่นิยม คือ
-ไม้ไผ่สีสีสุก นิยมนำมาทำเครื่องจักสานกันอย่างแพร่หลายทุกภาคของประเทศ เพราะมีผิวสวย เนื้อหนา และแข็ง ลำต้นตรง นำมาทำเครื่องจักสานและใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-ไม้ไผ่ซาง เป็นไม้ขนาดกลาง ปล้องยาว เนื้ออ่อน ขึ้นทั่วไปในภาคเหนือ นิยมนำมาทำเป็นเครื่องจักสานได้ดี
-ไม้ไผ่บงหรือไผ่ตง ไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นตรง ไม่มีหนาม นำมาทำเป็นเครื่องจักสานได้ดี
-ไม้ไผ่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบทำเครื่องจักสานได้ยังมีอีกหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ไม้ไผ่หก ไม้ไผ่รวก -ไม้ไผ่ ป้าว ไม้ไผ่เหล่านี้นำมาทำเครื่องจักสานได้มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ทำเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระบุง ตะกร้า กระจาด จนถึงทำเป็นเครื่องมือสำหรับ ดัก จับ ขัง สัตว์น้ำจำพวกตะข้อง กระชัง สุ่ม อีจู้ ฯลฯ เป็นต้น
แหล่งที่มา: http://treedd.blogspot.com/2011/07/blog-post_5011.html (สืบค้นเมื่อวันที่17 พฤษภาคม 2564).
การเลือกทำฝาชีจากไม้ไผ่
วัสดุที่ในการทำฝาชีมีหลายประเภท นอกจากไม้ไผ่และหวายที่ใช้เป็นวัสดุหลักที่พบได้ทั่วไปแล้ว ยังมีการสานฝาชีด้วยใบตาล ใบลาน ใบมะพร้าวหรือแม้กระทั่งผักตบชวาด้วย ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละพื้นที่มีวัตถุดิบชนิดใดเป็นจำนวนมากก็มักจะใช้วัตถุดิบใกล้ตัวนั้นๆ มาทำฝาชี
โดยทั่วไปฝาชีมักจะเป็นเครื่องสานธรรมดา ไม่มีลวดลายอะไรมากนัก แต่ก็ยังพบฝาชีที่มีการตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม เช่นฝาชีในภาคเหนือ เป็นงานไม้ไผ่สานรูปทรงกรวยสูงยอดแหลมตกแต่งด้วยงานไม้แกะสลัก เคลือบผิวทั้งหมดด้วยยางรักและเขียนลวดลายประดิษฐ์ด้วยชาดบริเวณส่วนล่างและส่วนยอด ปล่อยพื้นที่ส่วนกลางเป็นสีดำของรัก อาจมีการใช้งานกับขันโตกของชนชั้นสูงและพระสงฆ์ที่เป็นเครื่องเขินเช่นเดียวกัน
ในปัจจุบันฝาชียังคงมีความจำเป็นสำหรับการใช้งานในครัวเรือนอยู่ เนื่องจากในประเทศไทยนั้นเป็นพื้นที่มีแมลงวันแมลงหวี่ชุกชุม ซึ่งเป็นพาหะนำโรคหากมาตอมบนอาหาร แต่ก็มีการพัฒนาวัสดุในการทำฝาชีซึ่งแต่เดิมใช้วัสดุธรรมชาติซึ่งหาได้ตามท้องถิ่นมาเป็นวัสดุอื่นๆ ตามยุคสมัย เช่น พลาสติก อลูมิเนียม ที่มีความทนทานและสะดวกในการหาซื้อ แต่ก็ยังมีอีกหลายชุมชนที่ยังคงใช้วัสดุในธรรมชาติที่หาได้ตามท้องถิ่นนั้นๆ มาทำฝาชีอยู่ โดยมีการพัฒนากรรมวิธี เทคนิค ลวดลายและความคิดสร้างสรรค์ใส่ลงในฝาชีจนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าในการซื้อหาไปใช้งานหรือเป็นของฝากอีกด้วย
แหล่งที่มา https://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=197 (สืบค้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2564).
ที่มาของรูปภาพ: พิชชา ทองขลิบ.2564
ลิงก์แบบทดสอบ
https://docs.google.com/forms/d/1t7r8ifDqfyvO-ya8CjEsbavNQkr1AUO5-KtKd3zyoDY/edit
ลิงค์วิดีโอ