โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค C0VID-19 ดังกล่าว ส่งผลกระทบให้ระบบเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง ประกอบกับมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฯ ทําให้สถานประกอบการจํานวนมากปิดกิจการชั่วคราว แรงงาน ลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระอยู่ในภาวะว่างงาน ถือเป็นภัยพิบัติสาธารณะที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนและส่งผลกระทบต่อรายได้คุณภาพชีวิตของ ประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทําการเก็บข้อมูลผ่าน“ระบบรายงาน ข้อมูลผู้เดินทาง เข้าหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) (Thai QM)” มีข้อมูลผู้เดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชนกว่า ๑,๑๙๗,๖๒๕ คน และมีผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จํานวน ๖.๔ล้านคน (ข้อมูลอ้างอิง ณ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๓)
คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวประชุม เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ เห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ดําเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม รายตําบลแบบบูรณาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตําบลแบบบูรณาการครอบคลุมพื้นที่ ๓,๐๐๐ ตําบลทั่วประเทศ โดยมีมหาวิทยาลัย ในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ (System Integrator) และจ้างนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่
และประชาชนทั่วไป จํานวนทั้งสิ้น ๖๐๐๐๐ อัตรา ร่วมพัฒนาพื้นที่ ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ทักษะด้านต่าง ๆ อันนําไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนา และต่อยอดสู่การประกอบอาชีพต่อไป
ID 10
กลุ่ม C พื้นที่รับชอบในการดูแล
หมู่ที่ 5 บ้านหนองม้า จำนวน 75 ครัวเรือน
หมู่ที่ 8 บ้านโพธิ์ไทร จำนวน 124 ครัวเรือน
หมู่ที่ 15 บ้านโนนรัง จำนวน 66 ครัวเรือน
หมู่ที่ 9 บ้านหนองหว้า จำนวน 58 ครัวเรือน
เจ้าหน้าดำเนินการปฏิบัติงานในพื้น 4 หมู่ทั้งหมดจำนวน 4 คน
ผม นายศิริชัย บุญธง กลุ่มบัณฑิตจบใหม่
นางสาวศุภนิดา สุขประเสริฐ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่
นายเรืองเดช กิชัยรัมย์ กลุ่มประชาชนทั่วไป
นางสาวพนิดา พรชัย กลุ่มนักศึกษา
อาจารย์กำกับและค่อยให้คำปรึกษา
อาจารย์วงจันทร์ พูลเพิ่ม
การยกระดับผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวในชุมชน
ในการลงพื้นที่สำรวจทั้ง 4 หมู่บ้านนั้น มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมายกระดับและต่อยอดได้หลายอย่าง ส่วนตัวขออนุญาตยกในส่วนของเรื่องการยกระดับและส่งเสริมการเลี้ยงไก่เพื่อจำหน่าย ไก่ที่พูดคือในชุมชนได้มีการเพาะพันธุ์ไก่บ้านและพันธุ์ไก่ชนสวยงาม และพันธุ์ไก่อื่นๆ ที่สามารถจำหน่ายได้ในกลุ่มคนที่รักการเลี้ยงไก่ชนสวยงวมและคนกลุ่มคนที่ชอบระประทานไก่บ้าน
ซึ่งในส่วนนี้ทั้ง 4 หมู่บ้านได้มีการเลี้ยงไก่ชนสวยงาม ทั้งด้วยความชอบและเพาะพันธุ์เพื่อขาย โดยมีการรับพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ผ่านการประกวดมาแล้ว นำเพาะเลี้ยงต่อเพื่อให้ได้พันธุ์ไก่ที่มีความต้องการของตลาด ชาวบ้านหลายๆท่านได้มีการเลี้ยงไก่ ซึ่งไม่ใช่แค่พันธุ์ไก่ชนสวยงาม แต่ยังมีไก่พื้นบ้านที่เลี้ยงไว้กินและจำหน่าย
โดยหากมีการส่งเสริมและพัฒนาหรือยกระดับในจุดนี้ให้ได้หรือเป็นไปตามมาตรฐานจะช่วยเพิ่มช่องทางและรายได้ให้ชาวบ้านหรือประชาชนในชุมชน ทั้งอาจทำให้การเลี้ยงไก่กลายมาเป็นอาชีพหลักของหลายๆคนในชุมชน ก็เป็นได้
บางครั้งในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อให้เป้าหมายที่เราทุกคนร่วมตั้งไว้สำเร็จ คือการร่วมแรงร่วมใจและความสามัคคีของทุกๆในชุมชน ทั้งในเรื่องการเพาะเลี้ยงไก่หรือเรืองอื่นๆ ที่ทุกคนต้องการจะพัฒนาและยกระดับ จึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งสิ่งที่สามารถยกระดับหรือพัฒนาต่อได้ในชุมชนนั้นมีหลากหลาย เช่น การส่งเสริมการปลูกผ้าปลอดสารพิษ การส่งเสริมการทอผ้าไทย การส่งเสริมการเพาะกล้าไม้จำหน่าย เป็นต้น ซึ่งหลายๆอย่างที่กล่าวมาก็มีในแต่ละชุมชน ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ในทุกวันแต่เราไม่คาดคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะต่อยอดไปได้ ลองมองรอบๆตัวดูสิว่า “ชุมชนของเรามีอะไรให้พัฒนาและยกระดับบ้าง”
นาย ศิริชัย บุญธง เจ้าหน้าปฏิบัติงานโครงการ กลุ่มปฏับัติงาน ID10 กลุ่ม C