บทความเดือนพฤษภาคม

        เรื่อง ประโยชน์การดูแลไผ่ และการแปรรูป

ข้าพเจ้า นางสาววนาวิน ศรีสอาด ประเภท นักศึกษา

      ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานในเดือน พฤษภาคม พุทธศักราช2564 ที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

      ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

      การลงพื้นที่

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน และการจัดกิจกรรมการประชุมหารือเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Alnaysis) ของชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชน ทำให้ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทราบข้อมูลในด้านต่างๆของพื้นที่ชุมชน รวมถึงความต้องการและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้มีความน่าสนใจ ที่จะสามารถช่วยยกระดับชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยที่ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ จากข้อมูลที่ได้ดังกล่าวข้าพเจ้าและทีมงานได้นำมาประชุมหารือกันเพื่อวางแผนการดำเนินในขั้นตอนต่อไป

ข้าพเจ้าและทีมงานได้วางแผนการดำเนินงานโดยเริ่มจากต้องการปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ในชุมชนให้มีความน่าสนใจ โดยการเสริมสร้างแนวคิดสร้างสรรค์การปลูกต้นไผ่ เพื่อความสวยงามทางด้านการท่องเที่ยว หรือเป็นจุดแวะถ่ายรูป รวมถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไผ่ ที่มีหลากหลายสายพันธุ์

สำหรับเนื้อหาบทความประจำเดือนพฤษภาคมนี้ ข้าพเจ้าได้เขียนเพื่อนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ ประโยชน์การดุแลไผ่ และการแปรรูป จากการสีบค้นข้อมูลจากระบบออนไลน์ในแหล่งต่างๆ ซึ่งได้ข้อมูลดังนี้

     ประโยชน์การดูแลไผ่

               ไม้ไผ่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงมาก และคนไทยได้ใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่มาตั้งแต่อดีตหลายร้อยปี ปัจจุบันมีการพัฒนาการใช้ไม้ไผ่ให้มีประโยชน์กว้างขวางยิ่งขึ้น ได้แก่ ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และยังใช้ในเรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ การแก้ปัญหาโลกร้อน ใช้เป็นไม้ทดแทนไม้จริงในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ ในอนาคตไม้จริงจะหายากขึ้นและมีราคาแพงมาก ใช้ทำเส้นใยเสื้อผ้าคุณภาพดี เป็นพลังงานทดแทนได้ดี ให้ถ่านไม้ไผ่ที่มีคุณภาพสูง

                    อีกทั้งหน่อไม้ก็เป็นอาหารที่มีรสชาติดี มีราคาถูก เป็นอาหารที่สำคัญของชาวชนบท ซึ่งไม้ไผ่ในประเทศไทยกำลังถูกทำลายอย่างมาก ไม้ไผ่ที่อยู่ในธรรมชาติก็ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร พื้นที่ปลูกลดลงอย่างรวดเร็ว ด้วยประโยชน์อันหลากหลายมากมายของไผ่ จึงถือว่าไผ่เป็นพืชมหัศจรรย์จริงๆ เราจึงต้องช่วยกันเพิ่มพื้นที่การปลูกไผ่ให้มากยิ่งขึ้น และพัฒนาการใช้ประโยชน์ให้สูงยิ่งขึ้นไป เพราะไผ่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายสิบปีกว่าต้นไผ่จะตาย

ไผ่ เป็นพืชตระกูลหญ้าที่มีขนาดลำต้นใหญ่โต ให้น้ำหนักชีวมวลต่อไร่ในระยะเวลาที่เท่ากันสูงกว่าพืชชนิดอื่น เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ทุกส่วนของต้นไผ่ประกอบด้วยเซลลูโลสซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นชีวมวลผลิตเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนได้หลากหลาย ได้แก่ สกัดเป็นน้ำมันดิบได้ในอนาคต ทุกชิ้นส่วนของต้นสดบดเป็นผง แล้วนำไปหมักจะได้ก๊าซชีวภาพ (มีเทน) ที่มีค่าพลังงานสูงมาก ผลิตเม็ดพลังงานแห้งซึ่งโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการสูง และยังใช้ผลิตถ่านไม้ไผ่ที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น

             ข้อดีของการปลูกไผ่คือ ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายและการกัดเซาะหน้าดิน ดูดซึมน้ำลงสู่ใต้ดินได้อย่างรวดเร็วในปริมาณมาก และช่วยลดปัญหาอุทกภัยที่ตามมาด้วย พันธุ์ไผ่ที่ให้ปริมาณชีวมวลในปริมาณมาก ได้แก่ พันธุ์กิมซุ่ง ตงลืมแล้ง ซางหม่น และวะโซ่ เป็นต้น ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก ไผ่จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปลูกเป็นพืชพลังงานทดแทนของโลกต่อไปในอนาคต

( ที่มา https://sites.google.com › prayochn-khxng-tn-phi )

 ประโยชน์ของไม้ไผ่

1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ 
–   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
–   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
–   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
–   ให้ความร่มรื่น
–   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
 2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์ 
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
   3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่ 
– เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
– เส้นไยใช้ทำไหมเทียม
– เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
– ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่  ได้แก่  เก้าอี้  โต๊ะ  ชั้นวางหนังสือ  ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง  ท่อส่งน้ำ    รางน้ำ
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่  ถาดใส่ขนม   ทัพพีไม้    ตะเกียบ    ไม้เสียบอาหาร
กรอบรูป  ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัด  
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่  โครงโคมกระดาษ   โครงพัด  โครงร่ม  ลูกระนาด
คันธนู  พื้นม้านั่ง  แผงตากปลา  สุ่มปลา  สุ่มไก่
       5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก

      การแปรรูป

 

เก้าอี้นั่ง

แก้วน้ำจากไผ่

ร้านอาหาร คาเฟ่ จากไผ่                                                                            ตะกร้าใส่ของจากไผ่

 

 

  บ้านจากไผ่

ไม้ไผ่’ เป็นไม้พลัดใบมีลักษณะเด่นชัด คือ กอลำต้นเป็นปล้อง มีความแข็งแรงสูงในขณะเดียวกันกลับมีความยืดหยุ่นและเหนี่ยวแน่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติเด่นที่สุดของวัสดุชนิดนี้ จึงทำให้นิยมเลือกใช้งานในหลากหลายประเภท ทั้งด้านสถาปัตยกรรม การสร้างอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ

ด้วยความที่ไม้ไผ่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและถูกหยิบมาใช้งานโดยดีไซน์เนอร์ชื่อดังมากมาย จนถูกจำแนกให้วัสดุชนิดนี้เป็น Bamboo Design หรือการออกแบบด้วยไม้ไผ่ และสำหรับวันนี้พวกเราทีมงาน Homedeedee จึงได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกใช้ไม้ไผ่เพื่อเพิ่มไอเดียสร้างสรรค์และการเลือก D.I.Y. วัสดุชนิดนี้มาฝากกันครับ


‘ไม้ไผ่’ กับสถาปัตยกรรมภายนอกอาคาร

สำหรับการเลือกใช้ ‘ไม้ไผ่’ เป็นวัสดุสำหรับงานสถาปัตยกรรมภายนอกอาคาร สามารถเลือกใช้งานได้หลายรูปแบบด้วยกัน เริ่มตั้งแต่งานโครงสร้างที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะด้วยคุณสมบัติเด่นที่นอกเหนือจากความแข็งแรงของตัววัสดุแล้ว

 

ไม้ไผ่ยังสามารถบิดโค้งได้อย่างอิสระ สามารถเล่นดีไซน์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างได้หลากหลาย อีกทั้งปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมเพื่อลดรอยปริแตก และผุกร่อนเข้ามาใช้ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับไม้ไผ่ที่เลือกใช้เป็นโครงสร้าง

นอกจากใช้ไม้ไผ่ในงานโครงสร้างแล้ว อีกหนึ่งรูปแบบที่ถูกนำไปใช้งานอย่าง ฟาซาดดีไซน์หรือใช้เป็นระแนงบังแดดภายนอกอาคารก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน ด้วยน้ำหนักเบาบวกกับทนต่อสภาพอากาศภายทั้งแดด-ฝนได้ดี จึงทำให้มักถูกนำไปใช้งานในรูปแบบของ การใช้เพื่อบังแดดที่จะเข้าสู่ภายในอาคาร รวมถึงช่วยเพิ่มเสน่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับอาคารนั้นๆอีกด้วย

 

(ที่มาD.I.Y : ‘ไม้ไผ่’ กับการออกแบบที่หลากหลาย มาพร้อมคุณสมบัติที่ถูกมองข้าม – Homedeedee)

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู