ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ )

ข้าพเจ้า นางสาววนาวิน ศรีสอาด ประเภท นักศึกษา

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานในเดือน เมษายน พุทธศักราช 2564  ที่หมู่ 3 บ้านไทรโยงและหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลของชุมชน และคนในชุมชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย( จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

หลักสูตร ID  10: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ประเพณี/วัฒนธรรมในพื้นที่

                     นอกจากวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีที่กำลังจะมาถึงนี้ก็เป็นอีกประเพณีที่จัดขึ้นในทุกๆปีของแต่ละหมู่บ้าน นั้นก็คือ ประเพณีวันสงกรานต์ และวันขึ้นปีใหม่ ชาวยบ้านยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง เช่น เทศกาลเดือนห้า มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวให้ผู้สูงอายุ และประเพณีก่อเจดีย์ทรายเป็นประจำในทุกปี  เทศกาลเข้าพรรษามีการประกวดเทียนเข้าพรรษา เทศกาลเดือนสิบสองมีประเพณีลอยกระทง แล้วยังมีงานประเพณีของชาวจังหวัดบุรีรัมย์ที่สืบต่อกันมาอีกหลายงาน

ประเพณีก่อเจดีย์ทราย เป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของชาวไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยคนไทยผูกโยงกับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัดในรูปของเจดีย์ทรายและเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ และยังเป็นกุศลโลบายของคนไทยในอดีตให้มีการรวมตัวของคนในชุมชน เพื่อร่วมกันจัดประเพณีรื่นเริงเป็นการสรรค์สร้างความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย  การก่อเจดีย์ทรายส่วนหนึ่งเพื่อให้เราได้ทำบุญด้วยการขนทรายเข้าวัด เพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนา แล้วยังเพิ่มความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวที่ได้ร่วมใจกันประกอบกิจอันเป็นกุศล

ประเพณีว่าวอีสานช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหรือย่างเข้าสู่ฤดูหนาว มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดแรง คนชนบทก็พากันทำว่าวแอก ซึ่งมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เล่นกันทุกหมู่บ้าน เป็นประเพณีการละเล่นของท้องถิ่นของชาวอีสานนานมาแล้ว เพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์ของอีสานใต้ให้คงอยู่และเผยแพร่ให้เป็นทรู้จักกว้างขวาง เปิดโอกาสให้คนทุกตำบล ทุกหมู่บ้านทำว่าวแอกมาแข่งขันชิงรางวัลกัน

ประเพณีแซนโฎนตาประเพณีเซ่นไหว้ผีและบรรพบุรุษ อาจเรียกว่า เป็นประเพณีในเทศกาลสารท บางคนก็เรียกว่า “สารทเขมร” (คล้ายๆ กับสารทจีน สารทไทย) คล้ายกับประเพณีสลากภัต ตานก๋วยสลาก หรือบุญเดือนสิบในภาคอื่นๆ แต่อาจแตกต่างในรายละเอียดพิธีกรรม โดยประเพณีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษ ตำนานที่สืบทอดนานกว่า 1,000 ปีของชุมชนชาวเขมรพื้นเมือง

 

ของเซ่นไหว้ที่สำคัญของประเพณีนี้คือ ข้าวต้มมัด

หรือภาษาเขมรเรียกว่า “บายเบ็ณฑ์” ซึ่งหมายถึง ข้าวที่ปั้นเป็นก้อนเพื่อใช้ใส่บาตรพระ

ข้าวต้มมัดจากข้าวใหม่ที่เพิ่งออกรวง

โดยบายเบ็ณฑ์จะเป็นการใช้ข้าวใหม่ ที่เพิ่งออกรวงเป็นน้ำนม นำมาตำแล้วผสมด้วยนม ถั่ว งา น้ำตาล น้ำใบเตย เพื่อให้มีสีเขียวสวยงามและมีกลิ่นหอม แล้วทำให้สุกปั้นเป็นก้อนใส่พานเป็นรูปทรงกรวยคล้ายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

แต่ต่อมาบายเบ็ณฑ์ อาจหมายความรวมถึง ข้าวต้มมัดที่ชาวบ้านนิยมทำกันด้วย เป็นขนมที่ทำด้วยข้าวเหนียวผสมด้วยกะทิ ถั่ว กล้วย หรือส่วนผสมอื่นๆ แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อาจห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อนหรือใบกล้วย

ข้าวเหนียวเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี

โดยเชื่อกันว่า ข้าวเหนียวเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี และนอกจากทำข้าวต้มมัดถวายพระสงฆ์แล้ว ชาวบ้านยังนิยมกินข้าวกันมากในเทศกาลนี้ เพราะถือเคล็ดว่ามีความหมายดี ญาติมิตรจะเกาะเกี่ยวกัน ไม่พลัดพราก

ประเพณีลอยกระทงเป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ

นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย

ประเพณีแห่งเทียนพรรษา เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติ กิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี งานประเพณีแห่เทียนพรรษา

 

สรุปการทำงานในครั้งนี้

ข้าพเจ้าและทีมงานมีความสนใจเกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่ และต้องการให้ผู้คนในพื้นที่ได้มองเห็นความสำคัญ ความโดดเด่นของพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ ร่วมกันพัฒนาพื้นที่และยกระดับพื้นที่ให้มีความน่าสนใจ ดึงดูดคนนอกพื้นที่เข้ามาเยี่ยมชม ทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

อื่นๆ

เมนู