บทสัมภาษณ์การทำเกษตรของ คุณพชร ฉิ่งเล็ก

 

1.ประวัติของเกษตรกรในพื้นที่ 

นาง พชร ฉิ่งเล็ก อายุ 73 ปี อยู่บ้านโพธิ์ เลขที่ 59 หมู่ 6 ต.กระสัง อ.เมืองบุรีรัมย์ 31000

 

2.ประวัติก่อนการมาทำอาชีพเกษตร / ความเป็นมาทำไมถึงมาทำเกษตร

ก่อนที่ คุณพชร จะมาทำอาชีพเกษตรกร คุณพชร รับราชการ เป็นอาจารย์ สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในตำแหน่ง ผู้ช่วยศาตราจารย์ หลังจากเกษียณอายุราชการ ก็ได้หันมาทำการเกษตร เพื่อที่จะได้มีงานทำหลังเกษียณ และยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจไปในตัวอีกด้วย ทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัว จนเป็นอาชีพที่มั่นคงได้อีกด้วย

 

3.ปลูกพืชผักอะไรบ้าง / ปุ๋ยที่ใช้

ได้แก่ มะม่วง ส้มโอ กล้วยน้ำว้า มะขามเปรี้ยวยักษ์ ฯลฯ ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ เท่านั้น

 

4.เป็นการทำเกษตรชนิดไหน (ปลอดสาร อินทรีย์ … )

ที่สวนทำเกษตรอินทรีย์อย่างเดียว ใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู ขี้ไก่ หรือที่หาได้ตามชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง

5.ทำไมเลือกทำเกษตรชนิดนั้น (ต่อจากข้อ4)

เพราะมีความปลอยภัย ทั้งกับตัวเกษตรเองและผู้บริโภค และยังให้ความอุดมสมบูรณ์กับพื้นที่ ทั้งดินที่จะไม่เสื่อมโทรม และยังช่วยให้ตัวคุณพชร ได้มีสุขภาพจิตที่ดีจากการได้ปลูกพืชของตัวได้อีกด้วย

 

6.ประสบการณ์การทำเกษตร (ทำมาแล้วกี่ปี)

มีประสบการณ์ในการทำการเกษตรมากกว่า 20 ปี และยังไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาในการทำเกษตร เพื่อให้การเกษตรอยู่คู่กับเราไปได้อย่างยังยืน

7.มีวิธีการจัดการศัตรูพืชอย่างไร

วิธีการกำจัดศัตรูพืช จะใช้วิธีทั่วไป คือ ถ้าเป็นพวกวัชพืชจะใช้วิธีการ ตัดหรือถาง เพียงเท่านั้น และถ้าเป็นพวกแมลงก็จะใช้การป้องกันโดยถุงกระดาษในการห้อหุ้มเท่านั้น หรือปล่อยไปตามธรรมชาติ

 

8.ตลาดที่ส่งขาย ขายที่ไหนบ้าง

โดยส่วนใหญ่ผลผลิตที่ได้จะส่งขายให้กับห้างสรรพสินค้าทวีกิจซุปเปอร์เซ็นเตอร์ และนำบางส่วนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ และส่งขายตามร้านค้าทั่วไป

 

9.ความคุ้มทุนในการทำเกษตร (ราคาปุ๋ย ราคาเมล็ดพันธุ์แพงไปมั้ย)

ในเรื่องของการคุ้มทุนนั้น ถือได้ว่ายังไม่คุ้มทุนในเรื่องของการเงิน แต่ในทางจิตใจและความสุขที่ได้จากการทำการเกษตรนั้นถือว่ามากกว่าทุนที่ลงไป ส่วนในเรื่องของปุ๋ยนั้นถือว่าไม่ได้สูงมากเพราะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการทำเกษตร ส่วนราคาพืชพันธุ์นั้นก็ถือว่าปกติตามท้องตลอด

10.ปัญหาที่พบในการทำเกษตร / วิธีแก้ปัญหา

ปัญหาที่พบในการทำการเกษตร ก็จะมีปัญหาเรื่องของ แมลง เช่น แมลงวันทอง เป็นต้น และยังมีในเรื่องของต้นทุนต่างๆไม่ว่าจะเป็นค่าแรงงาน ค่าปุ๋ยมูลสัตว์ เป็นต้น ส่วนวิธีแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ในเรื่องของแมลงวันทอง ก็ใช้วิธีนำถุงกระดาษไปห้อผลของไม้ชนิดนั้นๆ และในเรื่องแรงงานก็เน้นใช้แรงงานในครอบครัวเพื่อประหยัดต้นทุน ส่วนเรื่องปุ๋ยก็ใช้เศษอาหารที่ใช้ในครัวเรือนมากหมักทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้

 

11.ข้อดี / ข้อเสียของการทำเกษตร

ข้อดี

-สบายใจ

-ได้ออกกำลังกายไปในตัว

-ได้อากาศที่บริสุทธิ

-ได้ร่มเงา

-ได้ทานพืชผักที่ปลอยสารเคมีที่ได้จากสวนของตน

-ได้ความมั้นคงให้กับลูกหลาน

ข้อเสีย

-ไม่มีทุนที่มากพอในการทำการเกษตรแบบครบวงจร

 

12.ช่วง Covid-19 ได้รับผลกระทบอะไรไหม มาก-น้อยแค่ไหน

ไม่ได้รับผลกระทบทางการเกษตรมากนัก ได้รับผลกระทบเพียงราคาผลิตไม่ได้สูงตามเป้าหมาย

13.รัฐบาลมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเกษตรกรมาก-น้อยแค่ไหน อย่างไร (โครงการต่าง ๆ )

ไม่ได้รับความช่วยเหลือ

14.เป้าหมายในการทำเกษตร / แผนพัฒนาในการทำเกษตรของเกษตรกร

เป้าหมายหลักในการทำการเกษตร เพื่อที่จะใช้เวลาว่างหลักเกษียณให้เกิดประโยชน์ และเพื่อความสุขความสบายใจ ได้อยู่ได้กินในสิ่งที่ตนเองปลูกและปลอดภัยกับสุขภาพของตนเองและผู้บริโภค และมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อน และได้อากาศที่บริสุทธิ และอยากได้ร่มเงา ส่วนแผนในการพัฒนาการเกษตร ก็จะทำให้เป็นสวนเกษตรแบบผสมผสารและครบวงจร

 

15.สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร

อยู่ในสวนแบบสบายๆ ร่มรื้น และทำให้อยู่กับธรรมชาติ และได้อยู่กับตัวเองมากขึ้นไม่ต้องไปหาความสุขจากนอกบ้านของตัวเอง เป็นนายตัวเอง เหนื่อยก็นอนมีแรงก็ทำ และพืชผลที่สวนก็ยังพาสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทาง

สรุปจากการสัมภาษณ์

จากที่กระผมได้ไปสัมภาษณ์คุณพชร ฉิ่งเล็ก ผู้ที่ทำการเกษตรหลังเกษียณราชการ พบว่าการทำเกษตรในฉบับของคุณพชรนั้น เป็นการทำการเกษตรที่มีเป้าหมายอย่างชัดเจนคือ การทำเกษตรแบบอินทรีย์ร้อยเปอร์ ไม่ใช่สารเคมีเลย และส่งผลดีต่อตัวคุณพชรและครอบครัวและผู้บริโภคที่จะได้ทานพืชผักอย่างปลอดภัยจากสารเคมี ทั้งยังทำให้คุณพชรมีความสุขมากที่ได้อยู่ในสวนของตัวเองในวัยหลังเกษียณ “ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่มีความคุ้มค่ามากกว่าเงินทองที่จะได้ เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว”(คุณพชรกล่าว)

 

อื่นๆ

เมนู