ความรู้ที่ได้จากการจัดอบรมเรื่องดินและปุ๋ย

 

การจัดอบรมของเชิงปฏิบัติการสร้างต้นแบบเพื่อพัฒนาหรือยกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์ของการเกษตรปลอดภัย โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ให้ความรู้ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์สุรพงษ์ ทองเชื้อ ข้าราชการบำนาญ อดีตอาจารย์ประจำคณะพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และอาจารย์วงจันทร์ พูลเพิ่ม อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีหัวข้อในการอบรมคือ การผลิตปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกพืชผักอินทรีย์ จัดขึ้นในวันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ณ วัดทรงศิลาราม หมู่ 7 ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  มีเนื้อหาความรู้ดังต่อไปนี้

 

การผลิตปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกพืชผักอินทรีย์

                การปลูกผักและไม้ผลอินทรีย์ คือ การปลูกผักและไม้ผลที่มีระบบการผลิต ที่คํานึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลย์ธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยเคมีหรือ สารกําจัดศัตรูพืชต่างๆ โดยหันกลับมาใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักปุ๋ยพืชสด ไถกลบเศษพืชและปุ๋ยชีวภาพ ในการปรับปรุงบํารุงดินให้มีความอุดมสมบรูณ์เพื่อให้ผักและไม้ผลมีความแข็งแรงเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษและไม่ทําลายสภาพแวดล้อม

         ปุ๋ย (Fertilizer) หมายถึง สารอาหารหรือธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในดินหรือน้ำ(Hydroponic) แล้วทำให้พืชเจริญเติบโตและผลิตใบ ดอก ผล ลำต้นเพิ่มขึ้น และต้องไม่เป็นอันตรายต่อพืช แบ่งได้ดังนี้

        ปุ๋ยอนินทรีย์ (ปุ๋ยเคมี) เช่น ปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ได้แก่ 16-20-0, 16-16-8, 15-15-15, 16-16-16, ยูเรีย(46%N) ฯลฯ

        ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น มูล ปัสสาวะ เศษกิ่งไม้ ใบไม้ ฯลฯ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยพืชสด

        ปุ๋ยชีวภาพ ได้จากการย่อยสลายของพืชหรือสัตว์ผ่านกระบวนการหมัก(น้ำหมักหรือEnzyme) และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ไรโซเบียม แหนแดง ไตรโคเดอมา

          ดิน(Soil) หมายถึง หินที่ย่อยสลาย โดยขบวนการทางธรรมชาติ เช่น ทางกายภาพ ทางเคมี ผสมคลุกเคล้ากับอินทรีย์วัตถุเกิดเป็นดิน  น้ำ 25%  อากาศ 25%  แร่ธาตุ 45%  อ.ก.5%

 

1.ปุ๋ยอินทรีย์

-ปุ๋ยคอก เช่น   ไก่ผ่านพันธุ์  สุกรผ่านพันธุ์  วัวคราวผ่านพันธุ์

-ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน (กำลังเป็นที่นิยม)

2.ปุ๋ยชีวภาพ

– น้ำหมัก หรือEnzyme พืช สัตว์

-จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ

-จุลินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้น

-สาหร่ายต่างๆ เช่น แหนแดง

3.ปุ๋ยเคมี 

– ปุ๋ยเดี๋ยว     ใส่ทางดิน

-น้ำผสม      ใส่ทางดิน

-น้ำเกล็ด     อยู่ในรูปคีเลท(ผ่านทางใบ)

-น้ำน้ำ         อยู่ในรูปคีเลท(ผ่านทางใบ)

 

องค์ประกอบของดินที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช

ดินโดยทั่วไปแบ่งตามเนื้อดิน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1.ดินหยาบ(ทราย)

2.ดินปานกลาง(ร่วน)

3.ดินละเอียด(เหนียว)

            อินทรีย์(Organic) หมายถึง (ร่างกาย)หรือสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ส่วนที่มีขนาดใหญ่ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดเล็ก(จุลินทรีย์) ที่มองด้วยเปล่าไม่เห็น

            เกษตรอินทรีย์ หมายถึง การทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผัก พืชไร่ พืชสวน(ผลไม้) ไม้ดอก ไม้ประดับ การปศุสัตว์ การประมง โดยปราศจากการใช้สารเคมีต่างๆ ในการผลิต เช่น ปุ๋ย ฮอร์โมน สารกำจัดศัตรูพืช

 

ข้อดี – ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี

ตารางเปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยอินทรีย์

ข้อดี

ข้อเสีย

1. ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน

1.มปีริมาณธาตุอาหารพืชน้อย

2. อยู่ในดินนาน (ค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่ พืชอย่างต่อเนื่อง)

2. ใช้เวลานาน กว่าธาตุอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อพืช

3. ช่วยให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์มากขึ้น

3. ราคาแพง เมื่อเปรียบเทียบต่อหน่วยธาตุอาหารพืช

4. ส่งเสริมสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดิน

4. หายาก ถ้าต้องการในปริมาณมากๆ

5. มีจุลธาตุ

5. ไม่สะดวกในการนำไปใช้

ปุ๋ยเคมี

ข้อดี

ข้อเสีย

1.มีปริมาณธาตุอาหารพืชสูงมาก(ใช้ในปริมาณน้อยก็เพียงพอ)

1. ปุ๋ยที่ประกอบด้วยแอมโมเนียมทาให้ดินเป็นกรด

2. ราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบต่อหน่วยธาตุอาหารพืช

2. ไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงดินให้โปร่ง ร่วนซุย

3. หาซื้อได้ง่าย

3. มีความเค็ม

4. ใช้สะดวก

4. ผู้ใช้ต้องมีความรู้พอสมควร

5. ได้ผลเร็ว

 

จากเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการอบรมนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ไปปรับใช้กับการทำเกษตรได้ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับพืชสวนไร่นาของผู้เข้าร่วมอบรมได้ เพื่อให้การทำเกษตรปลอดภัยจากสารเคมี และช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และปลอดภัยกับตัวเองและผู้บริโภค และทีมงานจะจัดการอบรมครั้งต่อไปในเรื่องการกำจัดศัตรูพืชและแมลงให้ปลอดภัยจากสารพิษ และยังมีครั้งต่อๆไป และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมเกษตรปลอดภัยตำบลกระสัง เพื่อยกระดับเกษตรกรให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและปลอดภัยจากสารพิษ

 

   

 

   

 

อื่นๆ

เมนู