ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ )

ข้าพเจ้า นางสาววนาวิน ศรีสอาด ประเภท นักศึกษา

                           ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานในเดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2564  ที่หมู่ 3 บ้านไทรโยง หมู่ 10 บ้านกลันทา และหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน และคนในชุมชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย( จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)

             หลักสูตร ID  10: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

                            กลุ่มของข้าพเจ้า มีสมาชิกจำนวน 4 คน โดยแบ่งเป็น ประเภท ประชาชน 1 คน บัณฑิตจบใหม่ 2 คน และนักศึกษา 1 คน ได้รับผิดชอบตำบลกระสัง ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 จากการสำรวจพบว่าทั้งสามหมู่บ้านมีลักษณะเป็นชุมชนชนบท ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ปลูกผัก เพาะเห็ด ปลูกพืชไร่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป โดยชาวบ้านหมู่ 3 บ้านไทรโยง และหมู่ 10 บ้านกลันทา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

 ลักษณะที่อยู่อาศัยของชุมชนของ หมู่ 3 บ้านไทรโยง ค่อนข้างแออัด บ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกัน คนในชุมชนใกล้ชิดกันแบบเครือญาติ ชุมชนมีลักษณะเด่นคือเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณมีคูน้ำสามชั้นล้อมรอบหมู่บ้าน ปัจจุบันชุมชนได้ทำการขุดลอกคูน้ำรวมกันเป็นคูเดียว แต่ยังคงเหลือร่องรอยคูน้ำเดิมอยู่เล็กน้อย ซึ่งคูน้ำนี้เชื่อมต่อกับคูน้ำของหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับหมู่ 3 บ้านไทรโยง จากการสอบถามคนในหมู่บ้านพบว่าในตอนแรกพื้นที่บริเวณที่คูน้ำล้อมรอบเป็นหมู่บ้านเดียวกันคือหมู่ 3 บ้านไทรโยง ต่อมาได้มีการสร้างถนนตัดผ่านกลางหมู่บ้าน แยกหมู่บ้านออกเป็นสองฝั่งจึงได้มีการตั้งหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือขึ้น ลักษณะที่อยู่อาศัยของหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ แบ่งออกเป็น 2 คุ้มใหญ่ คือคุ้มไทรโยงเหนือ และคุ้มบ้านพะไล โดยคุ้มไทรโยงเหนือจะอยู่บริเวณที่คูน้ำล้อมรอบ ส่วนคุ้มบ้านพะไลอยู่ห่างออกมาประมาณ 5 กิโลเมตร บ้านเรือนค่อนข้างเป็นระเบียบ คนในชุมชนใกล้ชิดกันแบบเครือญาติ

 

 

 

 

 

 

 ชุมชนมีลักษณะเด่นคือมีคูน้ำสามชั้นล้อมรอบหมู่บ้าน ปัจจุบันเห็นคูน้ำชัดเจนสองชั้น ชาวบ้านมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักสิทธิ์ในพื้นที่ของหมู่บ้าน เรื่องเล่าตำนานของหมู่บ้าน ลักษณะที่อยู่อาศัยของชุมชนของหมู่ 10 บ้านกลันทาแบ่งออกเป็น 2 คุ้มใหญ่ คือคุ้มกลันทา และคุ้มหนองตามา บ้านเรือนค่อนข้างเป็นระเบียบ คนในชุมชนใกล้ชิดกันแบบเครือญาติ ชุมชนมีลักษณะเด่นคือ มีกลุ่มทอผ้า ปัญหาของทั้ง 3 ชุมชนที่พบส่วนใหญ่คือ ความยากจน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นหนี้ ไม่มีเงินออม การว่างงานรายได้ลดลงจากสถานการณ์โรคโควิด-19 และปัญหาเสียงดังจากรถที่ขับบนถนน ปัญหารถขับเร็ว โดยเฉพาะหมู่ 3 บ้านไทรโยง และหมู่ 19 คุ้มไทรโยงเหนือ ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

ซึ่งกลุ่มของข้าพได้ประชุมการวางแผนก่อนจะลงพื้นไปปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อมาวิเคราะแนวทางการสร้างแหล่งการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ของชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน ซึ่งผลการปฏิบัติงานของแต่ละเดือน จะมีเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อง่ายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเเต่ละหมู่บ้าน  สืบเนื่องจากข้าพเจ้าติดเรียนในวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ข้าพเจ้าจึงรับผิดชอบในด้านการกรอกข้อมูลออนไลน์จากการสำรวจมาเก็บไว้ เพื่อใช้ในการวิเคราะพัฒนาเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ของเเต่ละหมู่บ้านให้มั่นคงมากยิ่งขึ้น

 

                         สรุปการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้น

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเบื้องต้นหมู่ 3 บ้านไทรโยง หมู่ 10 บ้านกลันทา และหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดีในทุกเรื่อง ทั้งนี้ทีมงานจะได้นำข้อมูลส่วนนี้มาศึกษาเพื่อทำการพัฒนาชุมชนต่อไป

 

อื่นๆ

เมนู