หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชุน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

สินค้าผ้าทอเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยจะมีเอกลักษณ์ของตนเองที่
แตกต่างกัน ทั้งในด้านการผลิต ลวดลายผ้า และสีสันบนผ้าที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมความเชื่อ รวมถึงค่านิยมในสังคมที่สืบทอดกันมา ผ้าทอจึงเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจสูงทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ สามารถทำรายได้ให้แก่ชุมชน และเพื่อให้ผ้าทอเป็นสินค้าที่มีคุณค่า มีเครื่องหมายแสดงถึงคุณภาพที่ได้มาตรฐาน จึงต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยมาตรฐานนั้นก็คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) 

 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)                               

THAI COMMUNITY PRODUCT STANDARD

ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ

ขอบข่าย

  1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนีครอบคลุมเฉพาะผลิตภัณฑผ้าทอมือแบบใช้งานทั่วไปและแบบใชงานที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย โดยทําจากผ้าทอมือเป็นวัสดุหลัก  และใช้เส้นใยธรรมชาติ เส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยผสม
  2. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์และเสื้อผ้าสําเร็จรูปที่ทําจากผ้าทอมือหรือตกแต่งด้วย ผ้าทอมือ ที่ได้ประกาศเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว

ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือแบ่งตามการใช้งานเป็น 2 แบบ

  1. แบบใช้งานทั่วไป เช่น กล่องอเนกประสงค์รูปภาพติดผนัง
  2. แบบใช้งานที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย เช่น หมวก ผ้าเช็ดหน้า ผ้าอ้อมเด็ก

ขนาด

ความกว้างและความยาว (ถ้ามี) ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก การทดสอบให้ใช้อุปกรณ์วัดที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร หรือ 1 ส่วน 8 นิ้ว แล้วแต่กรณี และมี ความยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร

คุณลักษณะที่ต้องการ

ลักษณะทั่วไป

  1. ต้องสะอาด  ประณีต  สวยงาม  มีรูปแบบและรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน  สีและลวดลายสวยงาม ผสมผสานกลมกลืนตลอดชิ้นงาน ไม่มีขอบคมและปลายแหลมยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน ไม่มีข้อบกพร่องที่เกิดจากกรรมวิธีการทําและมีผลเสียต่อการใช้งาน เช่น รอยขาด รอยแยก รู เส้น ดายขาด เส้นด้ายแตก เส้นดายหลุดลุ่ย รอยเปรอะเปื้อนจากสีพิมพ์ รอยต่อของลวดลายไม่ตรงกันสีไม่ สม่ำเสมอยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน เมื่อจับหรือสัมผัสแล้วสีต้องไม่ติดมือ
  2. กรณีที่มีการตกแต่งด้วยด้ายปักหรือดิ้นปัก ต้องไม่คลายตัวหรือแยกออกจากกัน ไม่ขาด แตก หัก งอ กรณีดิ้นทําจากโลหะต้องไม่มีสนิมหรือมีตําหนิ

การเย็บ (ถ้ามี)

  1. ต้องเรียบร้อย ประณีต ฝีเข็มสม่ำเสมอทั้งนอกและในตัวผลิตภัณฑ์และไม่น้อยกว่า 36 ฝีเข็มต่อความยาว 10 เซนติเมตร ตะเข็บด้านในต้องเย็บพันริมผ้า (พ้ง)ไม่ย้วยหรือหลุดลุ่ยเพื่อกันการหลุดลุ่ย ริมผ้าต้องเรียบแน่น
  2. การบุด้วยแผ่นฟองน้ำ (ถ้ามี) ต้องมีผ้าหุ้มหรือปิดทับและเย็บให้เรี้ยบร้อย แน่น ไม่ย้วยหรือหลุดลุ่ย ฝีเข็มสมํ่าเสมอทั้งนอกและในตัวผลิตภัณฑ์และไม่น้อยกว่า 32 ฝีเข็มต่อความยาว 10 เซนติเมตร
  3. การเย็บหุ้มริมผ้าหรือกุ้น (ถ้ามี) ต้องเรียบร้อย ประณีต ฝีเข็มสม่ำเสมอทั้งนอกและในตัวผลิตภัณฑ์ และไม่น้อยกว่า 32 ฝีเข็มต่อความยาว 10 เซนติเมตร
  4. การติดกระดุมหรือซิป (ถ้ามี) ต้องเรียบร้อย แน่น และไม่ย่น กรณีเป็นโลหะต้องไม่มีสนิม ขอบคม และปลายแหลม

การประกอบ (ถ้ามี)

ต้องเรียบร้อย ประณีต ติดแน่น สวยงาม เหมาะสมกับชิ้นงาน ไม่มีรอยแตกร้าวหรือรอยเครื่องมือจากการ ประกอบชิ้นงาน รอยต่อต้องไม่แยกออกจากกัน ไม่มีกลิ่นของสารเคมีและรอยเปรอะเปื้อนของสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน

การประกอบหรือตกแต่งด้วยวัสดุอื่น (ถ้ามี)

  1. ต้องประณีต ติดแน่น สวยงาม กลมกลืนและเหมาะสมกับชิ้นงาน รอยต่อต้องไม่แยกออกจากกัน ไม่มีกลิ่นของสารเคมี  และรอยเปรอะเปื้อนของสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน  ไม่มีขอบคมและปลายแหลมยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน กรณีวัสดุประกอบหรือตกแต่งเป็นโลหะต้องไม่มีสนิม กรณีใชวัสดุจากธรรมชาติต้องไม่มีราหรือตําหนิที่เกิดจากการทําลายของแมลง กรณีใช้พลาสติกต้องไม่มีเสี้ยนหรือครีบ การทดสอบให้ทําโดยการตรวจพินิจ
  2. การใช้งาน (เฉพาะแบบใช้งานทั่วไป) ต้องสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
  3. ชนิดเส้นใยของผ้าที่ใช้ (เฉพาะแบบใช้งานที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย) ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก
  4. ความเป็นกรด-ด่าง (เฉพาะแบบใช้งานที่ตองสัมผัสกับร่างกาย) ต้องอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 8.0 ยกเว้นกรณียอมห้อมหรือครามต้องอยู่ระหว่าง 5.0 ถึง 8.5 การทดสอบให้ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม วิธีทดสอบสิ่งทอ เล่ม 32 ความเป็นกรด-ด่าง ของสารที่สกัดด้วยน้ำ มาตรฐานเลขที่ มอก.121 เล่ม 32
  5. สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน  24  ตัว   (ยกเว้นสยอมธรรมชาติ และสีธรรมชาติของเส้นใย) (เฉพาะแบบใช้งานที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย) แอโรแมติกแอมีนแต่ละตัวต้องไม่เกิน ๓๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
  6. การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและทําให้แห้ง (เฉพาะแบบใช้งานที่ตองสัมผัส ต้องไม่เกินร้อยละ 5 กับร่างกาย)
  7. ความคงทนของสีต่อการซัก (ยกเว้นผ้าสีขาวและสีธรรมชาติของเส้นใย)  (เฉพาะแบบใช้งานที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย) ต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี ยกเว้นกรณีย้อมสีธรรมชาติต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 2-3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี
  8. ความคงทนของสีต่อเหงื่อ ทั้งสภาพกรดและสภาพด่าง (ยกเวนผ้าสีขาวและสีธรรมชาติของเส้นใย) (เฉพาะแบบใช้งานที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย) ต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี ยกเว้นกรณีย้อมสีธรรมชาติต้องไม่น้อยกว่าเกรย์สเกลระดับ 2-3 ทั้งการเปลี่ยนสีและการเปื้อนสี

การบรรจุ

ให้หุ้มห่อหรือบรรจุผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม  สะอาด  แห้ง เรียบร้อย และสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือได้ การทดสอบให้ทําโดยการตรวจพินิจ

เครื่องหมายและฉลาก

  1. ที่ฉลากหรือุบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือทุกหน่วย  อย่างน้อยต้องมีเลข  อักษร  หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนีให้เห็นไดง่าย ชัดเจน

 

-ชื่อผลิตภัณฑ์ (ตามชื่อ มผช.)

-แบบ

-ชนิดเส้นใยของผ้าที่ใช้ (เฉพาะแบบใช้งานที่ต้องสัมผัสกับร่างกาย)

-ความกวางและความยาว (ถ้ามี) เป็นนิ้วหรือเซนติเมตร

-กรณีใช้สีธรรมชาติใหระบุพร้อมส่วนของพืชที่ ใช้ เช่น สีส้มจากเมล็ดคําแสด

-ข้อแนะนําในการใช้และการดูแลรักษา

-ประวัติผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)

-วัน เดือน ปีที่ทํา

-ชื่อผู้ทำหรือสถานที่ทํา พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครี่องหมายการค้าที่จดทะเบียน ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กําหนดไว้ข้างต้น

มาตรฐานผ้าทอที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงมาตรฐานเบื้องต้นที่ใช้ในการกำหนดคุณภาพ และยังมีรายละเอียดอีกมากที่ระบุไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ฉบับเต็มซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตามเอกสารอ้างอิง

โดยหลังจากที่ได้ทำการ SWOT กับทางกลุ่มทอผ้าชุมชนบ้านโนนรังนั้นได้ข้อสรุปดังนี้

จุดแข็ง

1.ชาวบ้านมีภูมิปัญญาในการทอผ้า
2.ในชุมชนมีผ้าขิตโบราณ
3.มีกลุ่มอาชีพที่ส่งเสริมในด้านการทอผ้า และการจำหน่ายผ้าอยู่ภายในชุมชน
4.ผลผลิตที่ได้จากกลุ่มทอผ้าเป็นที่ต้องการของตลาดด้วยความแน่นของลาย และความสวยงามของผลิตภัณฑ์

จุดอ่อน

1.ขาดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
2.มีปัญหาในด้านสุขภาวะด้วยคนในชุมชนที่ทอผ้านั้นมีอายุมากทำให้การทำงานไม่สามารถทำต่อเนื่องได้
3.ยังคงต้องนาเข้าวัตถุดิบอยู่จากายนอก
4.วัตถุดิบมีราคาแพง
5.ยังขาดช่องทางตลาดอื่นเพิ่มเติม

โอกาส

1. ชุมชนอยู่ใกล้ตัวเมืองและปัจจัยในการซื้อสินค้ายังคงมีอยู่
2. คนในชุมชนมีองค์ความรู้ที่หลากหลาย
3. มีการทำเกษตรอินทรีย์ และยังมีการขายสินค้าในตลาดสีเขียวของทางจังหวัด

อุปสรรค

1. ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการขาย
2. ขาดการต่อยอดจากคนรุ่นใหม่
3. ขาดวัตถุดิบและยังคงต้องนาเข้าวัตถุดิบอยู่จากภายนอก
4. ประชาชนที่ทอผ้ายังคงมีอาชีพอื่นเสริมอยู่เช่น เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
5. ยังขาดความรู้เกี่ยวกับช่องทางของตลาดอื่นเพิ่มเติมจากภายนอก

อ้างอิง

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. 2558. ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ. แหล่งที่มา : http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx?fbclid=IwAR07yogtC-qSQMyYkAoku25FD2ETJpy0ZOzkWtUwlHyzTM5sIX3Tzr66Agk. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564

คำถาม :https://forms.gle/rtFJfeFaDGXJcFXa6

 

อื่นๆ

เมนู