บทความเดือนมิถุนายน

        เรื่อง สรุปผลภาพรวมของกิจกรรม

ข้าพเจ้า นางสาววนาวิน ศรีสอาด ประเภท นักศึกษา

      ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานในเดือน มิถุนายน พุทธศักราช2564 ที่ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

      ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

      การลงพื้นที่

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน และการจัดกิจกรรมการประชุมหารือเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Alnaysis) ของชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชน ทำให้ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทราบข้อมูลในด้านต่างๆของพื้นที่ชุมชน รวมถึงความต้องการและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้มีความน่าสนใจ ที่จะสามารถช่วยยกระดับชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยที่ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ จากข้อมูลที่ได้ดังกล่าวข้าพเจ้าและทีมงานได้นำมาประชุมหารือกันเพื่อวางแผนการดำเนินในขั้นตอนต่อไป

ข้าพเจ้าและทีมงานได้วางแผนการดำเนินงานโดยเริ่มจากต้องการปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ในชุมชนให้มีความน่าสนใจ โดยการเสริมสร้างแนวคิดสร้างสรรค์การปลูกต้นไผ่ เพื่อความสวยงามทางด้านการท่องเที่ยว หรือเป็นจุดแวะถ่ายรูป รวมถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไผ่ ที่มีหลากหลายสายพันธุ์

สำหรับเนื้อหาบทความประจำเดือนมิถุนายนนี้ ข้าพเจ้าได้เขียนเพื่อนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ สรุปผลภาพรวมในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เรื่องต้นไผ่ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

 

กิจกรรมของเดือนนี้มีการแบ่งการจัดกิจกรรมเป็น2ช่วง คือช่วงเช้าและช่วงบ่าย ตลอดการจัดกิจกรรมก็จะมีการนั่งเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในตอนเช้าเริ่มการลงทะเบียน 7.30-8.00 น. เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม เวลา8.00-8.30 วิทยากร นายเมคิน โล่ห์นารายณ์ ผู้จัดการไร่ดินชุ่มฟ้า ได้มาบรรยาย เรื่อง ความสำคัญของต้นไม้และประโยชน์ของต้นไม้ ชนิดและสายพันธ์ของต้นไม้

เวลา8.30-10.30 น.เริ่มการอบรม กิจกรรมที่1 เรื่อง วิธีการเพาะชำต้นไผ่ และวิธีการดูแลรักษาต้นไผ่  ไม้ไผ่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงมาก และคนไทยได้ใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ เวลา10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10.45-12.15 น. บรรยายกิจกรรม เรื่อง วิธีการเพาะชำต้นไผ่ และวิธีการดูแลรักษาต้นไผ่ ต่อ

12.15-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันและเริ่มการอบรมกิจกรรมที่2 เรื่อง การปลูกต้นไผ่เพื่อเสริมกายภาพพื้นที่ด้านการท่องเที่ยว เพื่อความสวยงามทางด้านการท่องเที่ยว หรือเป็นจุดแวะถ่ายรูป รวมถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไผ่ ที่มีหลากหลายสายพันธุ์

ตลอดการจัดกิจกรรม ก็จะมีการแสดงความคิดเห็นในเรื่องการรปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ในชุมชน โดยมีชาวบ้านในชุมชนร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆว่า จะสามารถปรับภูมิทัศน์ส่วนไหนของชุมชนได้บ้างไห้มีความน่าสนใจ คนภายนอกผ่านมาสามารถแวะชม ถ่ายภาพได้

15-15 -17-15 น. คนในชุมชนร่วมกันปลูกต้นไผ่เพื่อปรับภูมิทัศน์ พื้นที่ในชุมชนให้เกิดความสวยงาม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 17.15-17-30 สรุปเนื้อหาและปิดการอบรม ในหัวข้อ การอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เร่องต้นไผ่ เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

 

อื่นๆ

เมนู