ข้าพเจ้า นางสาวจุไรรัตน์ บัญดิษรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร ID:10 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
สืบเนื่องจากในช่วงนี้และเดือนที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในทุกทวีปทั่วโลก ซึ่งโรคดังกล่าวมีเชื้อที่รุนแรง สามารถติดต่อโดยการแพร่กระจายละอองฝอยของเชื้อโรคเหมือนเชื้อ กลุ่ม ไข้หวัด และการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดกลั่ง โดยจังหวัดบุรีรัมย์เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) เพิ่มขึ้นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ทางจังหวัดบุรีรัมย์ได้มีประกาศเป็นหนังสือออกมาจากทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ กำหนดมาตราการเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการเฝ้าระวังและควบคุมสถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในจังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยออกประกาศควบคุมพื้นที่สีแดงอย่างเข้มงวดให้งดจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมงานที่เบียดเสียด แออัด หรือมีการรวมกลุ่มเกินกว่า 20 คน ยกเว้นงานที่จัดตามพิธี เช่น งานศพ โดยมีมาตราการป้องกันตามสถานการณ์ของจังหวัด
สิ่งที่ได้กล่าวมานี้จึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ ทำให้การดำเนินงานการจัดอบรมโครงการครั้งที่ 1 ยังไม่แล้วเสร็จทันแผนที่วางไว้ ทางเราและทีมงานจึงนัดหมายประชุมกันเพื่อหาแนวทางในการวางแผนโครงการในช่วงที่ติดปัญหาสถานการณ์โรคติดต่อโคโรนา 2019 ( Covid-19) ทีมงานจึงได้ปรึกษากัน มีความคิดเห็นตรงกันว่าอยากเข้าไปสัมภาษณ์และขอคำแนะนำอยู่ 2 ท่าน คือ
1. คุณรัชกร ไผ่ดีนุกูล นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ ขององค์การบริการส่วนตำบลกระสัง ซึ่งท่านเคยได้เข้าไปให้ความรู้และส่งเสริมสนับสนุนชุมชนบ้านกระสังจนเกิดกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร และคุณรัชกรยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิทยากรที่มีความรู้เรื่องสบู่ เพื่อให้ทางทีมงานได้วิทยากรที่มีประสิทธิภาพความรู้ที่แน่นหนาชำนาญการ มาถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มอาชีพอีกด้วย
2. คุณสุนีย์ เหมืองทอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คือหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิต เมื่อได้ความรู้ด้านวิทยากรแล้วจึงอยากสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิตสบู่สมุนไพรในชุมชน ว่ากลุ่มผู้ผลิตมีความต้องการทางด้านใดขาดความเข้าใจหรือติดปัญหาด้านใดที่อยากให้เราส่งเสริมเพื่อนำคำตอบที่ได้ไปเสนอกับทางกลุ่มและวิทยากรที่นำมาถ่ายทอดความรู้ได้อย่างถูกทาง
และหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิต คือ คุณสุนีย์ เหมืองทอง เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกระสัง หมู่ที่ 1 คุณสุนีย์ เหมืองทอง ท่านได้ให้สัมภาษณ์อะไรกับเราบ้างหรือมีความต้องการอะไร เราไปดูกันเลยค่ะ
1. จุดริเริ่มในการสนใจทำสบู่สมุนไพรมาจากอะไรคะ *มาจากที่มีคนในหมู่บ้านได้นำสบู่สมุนไพรที่ตนเองมีมาให้ทดลองใช้ เมื่อใช้แล้วมีความรู้สึกว่าใช้แล้วดี ผิวหน้าดูเกลี้ยงขึ้น ขาวขึ้น จึงมีความรู้สึกอยากทำสบู่ใช้เองหรือทำเป็นอาชีพเพื่อสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ได้
2. เกิดการผลิตสบู่สมุนไพรในชุมชนได้อย่างไร
* จากข้อความข้างต้นคือมีความสนใจอยากทำสบู่สมุนไพรอยู่แล้ว แล้วมีกรมพัฒนาชุมชนได้เข้ามาข่วยถ่ายทอดความรู้ อบรม เพื่อสร้างสัมมาชีพให้กับชุมชนพอดี ทางชุมชนจึงเสนอว่ามีความต้องการทำสบู่สมุนไพร เพราะสบู่ไม่ใช่แค่นำไปใช้ในครัวเรือน แต่ยังสามารถนำมาเป็นอาชีพหลัก อาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับกลุ่มชุมชนได้ด้วย
3. เหตุผลที่ทำไมถึงอยากผลิตสบู่ที่เป็นสบู่สมุนไพร
* เพราะความคิดส่วนตัวคือสบู่สมุนไพรเป็นสบู่มีส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติ อาจจะเห็นผลช้า แต่มีความปลอดภัย เห็นผลดีกว่า เมื่ออยากนำมาผลิตต้นทุนก็ต่ำ เพราะสมุนไพรบางอย่างสามารถหาได้ในชุมชนเราเอง
4. ทำไมการผลิตสบู่สมุนไพรจึงขาดการผลิตที่ต่อเนื่อง
* เพราะการตลาดไม่กว้าง สบู่จำหน่ายแข่งกับรายใหญ่ไม่ได้ จะจำหน่ายได้แค่ภายในชุมชน เมื่อมีงานพิธี เช่น งานศพ จะมีคนมารับเป็นของชำร่วย และผลตอบแทนค่อนข้างน้อย กลุ่มอาชีพมีรายได้ที่ไม่เพียงพอ จึงออกไปรับจ้างทำงานกันส่วนใหญ่ ทำให้การผลิตไม่เกิดความต่อเนื่อง
5. คิดว่าสบู่สมุนไพรของชุมชนมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรบ้าง
* จุดแข็งคงเป็นที่ยอมรับว่าสบู่สมุนไพรมีคุณภาพและความปลอดภัยต่อผิว วัสดุหลักธรรมชาติก็หาง่ายในชุมชน
*จุดอ่อน คงจะเป็นสบู่สมัยนี้หาซื้อง่ายวางขายทั่วไป ลูกค้าอาจมีตัวเลือกหลากหลาย รูปแบบธรรมดาเกินไป
ที่มา : https://so-lot.com/product/herbal-soap/
6. อุปสรรคในการผลิตสบู่สมุนไพรคืออะไร
*คู่แข่งข้างนอกมีมาก ต้นทุนการตลาดเขาดีกว่า ทำให้การผลิตของเราโตช้า
7. กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากลุ่มใด
*เป็นกลุ่มผู้หญิงวัยกลางคน เป็นกลุ่มที่ทะนุถนอมผิวให้คงอยู่และอ่อนกว่าวัย คนที่มีผิวแพ้ง่าย เพราะสบู่สมุนไพรมีคุณประโยชน์มากในการสมานผิว และกลุ่มครัวเรือนที่มีงานพิธี เมื่อต้องการของชำร่วย จะมีการมาเหมาสบู่ไปเป็นของชำร่วยได้ แต่ตลาดไม่กว้างพอ พอไม่มีงานพิธีก็ยังหาที่ส่งไม่ได้
8. วัตถุประสงค์ในการอยากทำสบู่สมุนไพรคืออะไร
*1. เพื่อสร้างอาชีพให้กับตัวเอง
*2. เพื่อสร้างรายได้จากการจำหน่าย
*3. เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
9. ผลตอบแทนจากการผลิตสบู่สมุนไพรเป็นอย่างไร
* ผลตอบแทนไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะต้นทุนที่มีน้อย ผลิตออกมาได้น้อย ผลตอบแทนก็ออกมาน้อย
10. สุดท้าย อยากให้โครงการของเราเข้ามาช่วยในเรื่องอะไร
* กลุ่มสัมมาชีพในหมู่บ้านมีพื้นฐานในการทำสบู่อยู่แล้วคงไม่ยาก แค่อยากให้ช่วยปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยสร้างสรรค์ มีการทำการสื่อสารการตลาดประชาสัมพันธ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพราะเด็กสมัยนี้รู้โซเชียล สามารถหาช่องทางจำหน่ายได้ง่าย อาจจะช่วยให้การทำสบู่มีการผลิตที่ต่อเนื่องได้
ที่มา : https://paperbagprint.com/beautiful-soap-box-to-attract-customers/
สาระน่ารู้!!!
บรรจุภัณฑ์เป็นกุญแจสำคัญที่มีผลต่อกิจการของเรา หรือสินค้าของเราต่างหากไม่ใช่หรือที่เป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งก็ไม่ผิด แต่อย่าลืมว่ากล่องสินค้าที่ดีสามารถทำให้ผู้บริโภครู้สึกยินดีที่ได้รับสินค้าคุณภาพดี ที่ใส่ใจในทุกๆรายละเอียดนอกเหนือไปจากตัวผลิตภัณฑ์และการบริการ นั่นหมายถึง เราจะได้ลูกค้าที่มีความภักดีต่อแบรนด์ ลูกค้าจะไม่เปลี่ยนใจจากคุณ แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้นได้ คุณนั้นต้องคำนึงถึงการออกแบบกล่องสินค้าที่ควรจะแตกต่างจากสินค้าอย่างอื่น เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถจดจำได้และยังส่งผลให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้ง่าย ซึ่งสิ่งที่ลูกค้าจำได้เป็นอันดับต้นๆ คือลักษณะของกล่องสินค้า เพราะฉะนั้นควรรอบคอบในการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ทำออกมาครั้งเดียวแล้วปังงงงเลย
ที่มา : https://www.d2design.co/blog/ออกแบบกล่องสบู่/
เห็นกันไหมคะ จากการสัมภาษณ์และสาระน่ารู้ทั้งหมดนี้ ทำให้เราได้ข้อมูลมากมายเพื่อนำไปวางแผนต่อไปและได้ทราบถึงความต้องการของกลุ่มอาชีพ ที่ยังต้องการให้สนับสนุนส่งเสริมเพื่อต่อยอดขับเคลื่อนพัฒนาทักษะการ ถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้กลับไปสร้างทีมอย่างต่อเนื่อง และจัดโครงการอบรมอาชีพให้กับกลุ่มอาชีพ เพื่อมุ่งหมายให้ชุมชนมีความรู้ และ ปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่ม จัดตังเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป
แบบทดสอบบทความ
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfPhdeFqYpVMLgIpIbx-xU2a0igrJ1zw_UAf_RHmhiRcQQ86g/viewform?usp=sf_link