สายพันธุ์ไผ่
ข้าพเจ้านางสาวนภัสนันท์ ลาศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานที่ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
การลงพื้นที่
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน และการจัดกิจกรรมการประชุมหารือเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT Alnaysis) ของชุมชนร่วมกับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชน ทำให้ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทราบข้อมูลในด้านต่างๆของพื้นที่ชุมชน รวมถึงความต้องการและแนวทางในการพัฒนาชุมชนให้มีความน่าสนใจ ที่จะสามารถช่วยยกระดับชุมชนให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวตามวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ โดยที่ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชนของตน จากข้อมูลที่ได้ดังกล่าวข้าพเจ้าและทีมงานได้นำมาประชุมหารือกันเพื่อวางแผนการดำเนินในขั้นตอนต่อไป
ข้าพเจ้าและทีมงานได้วางแผนการดำเนินงานโดยเริ่มจากการปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ในชุมชนให้มีความน่าสนใจ สะอาดและสวยงาม เริ่มจากการสร้างแนวความคิดในการปลูกต้นไผ่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชาวบ้านและชุมชน โดยจะเริ่มจากการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์ไผ่ไว้ดังต่อไปนี้
สายพันธุ์ไผ่
การแบ่งประเภทของไผ่ได้เป็น 3กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ
1.พันธุ์ไผ่ที่ใช้ประโยชน์ในการ อุปโภค-บริโภค
2.พันธุ์ไผ่ที่หลากหลายสี เช่น ดำ เหลือง ทอง แดง ม่วง ชมพู
3.พันธุ์ไผ่ที่สวยงามแปลกตา เช่นไผ่น้ำเต้า น้ำเต้าลาย-ทอง
การจำแนกสายพันธุ์ไผ่ที่พบในเมืองไทย
1.สกุลอะรันดินาเรีย มีอยู่2ชนิดคือ ไผ่โจด และไผ่เพ็ก (หญ้าเพ็ก)
ไผ่โจด พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำต้นมีสีเขียวอมเทามีความสูงประมาณ5เมตร ปล้องค่อนข้างสั้น 10-20 ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ7-10 มม. ไม่มีหนามหน่อมีสีเทาแกมเหลือง ลำต้นใช้ทำด้ามไม้กวาด จุดเด่นคือเหง้ามีลักษณะเด่นแปลกตา จึงนิยมมาทำเครื่องประดับภายในบ้าน อาจปลูกเป็นแนวรั้วและปลูกเป็นไผ่ประดับในบริเวณบ้าน หน่อใช้รับประทานได้
ไผ่เพ็กหรือหญ้าเพ็ก ไผ่ชนิดนี้พบได้ในไทย เวียดนามและกัมพูชา ส่วนในประเทศไทยพบมากทางอีสาน เจริญได้ดีในเขตแห้งแล้ง จึงเกิดไฟไหม้ป่าไผ่ชนิดนี้อยู่เป็นประจำ ลำต้นสูงไม่เกิน3เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 มม.ขนาดของปล้องมีความยาว20-30 ซม. ขึ้นรวมเป็นกอ นิยมเอามาทำแผงตากสาหร่ายทะเล
2.สกุลแบมบูซ่า แบ่งออกได้ 11ชนิด คือ ไผ่บง ไผ่ป่า (ไผ่หนาม) ไผ่ลำมะลอก ไผ่เหลือง(ไผ่จีน) ไผ่หอบ(ไผ่หอม) ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่บงหวาน ไผ่คันร่ม(ไผ่เปร็ง) ไผ่ดำ(ไผ่ตาดำ) และไผ่น้ำเต้า
ไผ่บง พบได้ทั่วไปตามป่าดงดิบ เป็นไผ่ขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางของปล้อง6-10ซม. ความยาวปล้อง 20-30ซม. สูงประมาณ9-12เมตร ลำต้นนิยมใช้ทำเสื่อลำแพนและเยื่อกระดาษหน่ออ่อนนิยมมารับประทาน แม้จะมีรสขมอยู่บ้าง
ไผ่ป่า หรือไผ่หนาม พบได้ทุกภูมิภาคของประเทศ ต้นอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดมีสีเขียวอมเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามคมและขนมาก เส้นผ่าศูนย์กลางของปล้อง10-15 เซนติเมตร ลำต้นใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้างหรือทาสีอาคาร และทำเครื่องจักสานอื่น หน่อใช้รับประทานได้
ไผ่ลำมะลอก พบได้ในทุกภูมิภาคของประเทศ แต่ในภาคใต้จะพบน้อยกว่าภาคอื่น ลำต้นมีสีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม ข้อเรียบ กิ่งก้านและใบเกิดที่บริเวณลำต้น สูงจากพื้นดิน 6-7 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร สูงเฉลี่ย 10-15 เมตร ลำต้นค่อนข้างไม่อัดแน่น นิยมนำมาใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง ทำเสาโป๊ะ เฟอร์นิเจอร์ และงานจักสานที่ไม่ต้องการความปราณีต หน่อใช้รับประทานได้
ไผ่เหลือง หรือ ไผ่จีน ไผ่ชนิดนี้สันนิษฐานว่านำเข้าจากประเทศจีน จึงไม่พบทั่วไป ลำต้นมีสีเหลือง มีลายเส้นเป็นแถบสีเขียวพาดตามความยาวของปล้อง ผิวเกลี้ยง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ความยาวปล้องประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความสูงเฉลี่ย10-15 เมตร หน่อมีสีเหลืองอ่อน นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากลำต้นมีสีสวยงาม หน่อใช้บริโภคได้แต่ไม่เป็นที่นิยม
ไผ่หอบ หรือ ไผ่หอม พบมากที่จังหวัดเชียงราย ลำต้นสูงประมาณ 10 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของปล้อง 7.5-15 เซนติเมตร และยาว 40 เซนติเมตร ใบมีขน เมื่อสัมผัสผิวหนังจะรู้สึกระคายเคืองและคัน ลำต้นใช้ประโยชน์ได้น้อย หน่อมีรสขม จึงไม่มีการนำมารับประทาน
ไผ่เลี้ยง พบมากในภาคกลาง ลำต้นมีสีเขียวสด เป็นไผ่ขนาดเล็ก ปล้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร และยาว 20-25 เซนติเมตร ลำต้นไม่มีหนาม นิยมใช้ทำคันเบ็ดและส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ ลำต้นแข็งแรง เนื้อต้นเกือบไม่มีช่องว่างภายใน บางแห่งนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หน่อรับประทานได้ แต่ไม่นิยมรับประทาน
ไผ่สีสุก พบได้ทั่วไป แต่พบมากในบริเวณภาคกลางของประเทศ เป็นไผ่ชนิดที่สูงใหญ่ ลำต้นสีเขียวสด หน่อสีเทาอมเขียว ปล้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร ยาว10-30 เซนติเมตร บริเวณข้อมีกิ่งคล้ายหนามหน่อมีขนาดใหญ่ มีขนสีน้ำตาล น้ำหนักหน่อประมาณ 3-4 กิโลกรัม ไผ่ชนิดนี้มีเนื้อหนาแข็งแรง ทนทานและเหนียว จึงนิยมนำไปใช้ประโยชน์มากกว่าไผ่ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะทำเครื่องจักสาร เฟอร์นิเจอร์ นั่งร้านในการก่อสร้าง และนอกจากนี้ส่วนโคนของลำต้นยังนิยมใช้ทำไม้คานสำหรับหาบหามได้ดีมาก
ไผ่บงหวาน พบได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบมากที่สุดที่จังหวัดเลย ลำต้นอ่อนมีสีเขียวใบไม้ เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เส้นผ่านศูนย์กลางของปล้อง 5-8 เซนติเมตร สูง 5-10 เมตร มีหน่อสีเขียว น้ำหนักประมาณ 5 ขีด ลำต้นนิยมนำมาทำตอกมัดสิ่งของ ทำไม้ค้ำยัน บันไดและเครื่องจักสาน หน่อมีรสหวานหอมอร่อย นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด
ไผ่คันร่ม หรือ ไผ่เปร็ง พบมากที่จังหวัดปราจีนบุรี ตราด และระยอง ลำต้นอ่อนมีสีเขียวใบไม้ เมื่อแก่จัดสีเขียวเข้ม เส้นผ่านศูนย์กลางของปล้อง 3-5 เซนติเมตร ต้นสูง 8-10 เมตร หน่อมีสีเขียวอมเทา แต่เปลือกหน่อจะมีสีแดง ลำต้นมีเนื้อหนา จึงนิยมนำมาทำบันไดโป๊ะ และหลักของการเลี้ยงหอยแมลงภู่
ไผ่ดำ หรือ ไผ่ตาดำ พบมากในป่าทึบ แถบจังหวัดกาญจนบุรี และจันทบุรี ต้นมีสีเขียวคล้ำเกือบเป็นสีดำ ไม่มีหนาม เส้นผ่านศูนย์กลางของปล้อง 7-10 เซนติเมตร และยาว 30-40 เซนติเมตร สูง 10-12 เมตร มีเนื้อหนา นิยมนำลำต้นไปใช้ทำนั่งร้านก่อสร้างและเครื่องจักสานต่างๆ หน่อใช้รับประทานได้
ไผ่น้ำเต้า พบได้ทั่วไป เป็นไผ่ที่มีปล้องสั้น ลำมีสีเขียว อาจมีแถบสีเหลือตามปล้อง และจะโป่งออกตอนกลางปล้องและตอนกลางของกิ่ง ปล้อง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-8เซนติเมตร สูง 3-4 เมตร แขนงแตกออกจากต้นที่สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 1.5 เมตร หน่อมีสีเหลือง ไผ่ชนิดนี้เชื่อว่านำเข้าจากประเทศจีน ไผ่น้ำเต้าส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในบริเวณบ้านหรือปลูกในกระถางไว้โชว์
- สกุลเซฟาลอสทาคียัม มี 2 ชนิด คือ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮียะ หรือ ไผ่เหียะ
ไผ่ข้าวหลาม พบมากบริเวณตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน มีปล้องยาว 30 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่เฉลี่ย 5-7.5 เซนติเมตร ลำไผ่มีสีเขียวอมเทา มีความสูงเฉลี่ยระหว่าง 7-8 เมตร หน่อมีขนาดใหญ่ กาบน้ำสีหมากสุก ต้นไผ่นิยมนำมาทำกระบอกข้าวหลาม หน่อรับประทานได้แต่ไม่เป็นที่นิยม
ไผ่เฮียะ หรือ ไผ่เหียะ ลำไผ่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ มีกิ่งเพียงเล็กน้อย เนื้อหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีความสูง10-18 เมตร ลำต้นนำไปทำโครงสร้างบ้านเรือนและเครื่องจักสานต่างๆ หน่อรับประทานได้แต่ไม่เป็นที่นิยมกัน
- สกุลเดนโดรคาลัส ได้แก่ ไผ่ชาง หรือไผ่นวลหรือไผ่ปล้อง ไผ่หก หรือไผ่นวลใหญ่ ไผ่เป๊าะ หรือไผ่เปราะ ไผ่ตง
ไผ่ซาง หรือ ไผ่นวล หรือ ไผ่ปล้อง พบในป่าดิบทั่วไป ลำต้นมีสีเขียวนวล ปล้องยาว 50-70 เซนติเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-12 เซนติเมตร ลำต้นสูง 8-10 เมตร ไม่มีหนาม หน่อมีสีน้ำตาลปนส้มและมีขนสีน้ำตาล ไผ่ชนิดนี้เนื้ออ่อนและเหนียว สามารถจักดอกเป็นเส้นเล็กๆได้ จึงนำยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสานที่ต้องการรายละเอียดสูง หน่อรับประทานได้ ไผ่ซางหรือไผ่นวล พบมากที่ภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศ ลำต้นใช้ทำนั่งร้านก่อสร้าง ทำเครื่องจักสาน และเยื่อกระดาษ หน่อใช้รับประทานได้
ไผ่หก หรือ ไผ่นวลใหญ่ พบมากในภาคเหนือและจังหวัดกาญจนบุรี ไผ่ชนิดนี้ลำต้นมีสีเขียวอมเทา และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-20 เซนติเมตร ปล้องมีความยาว 40-50เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำไผ่นิยมนำมาทำเผื่อกระดาษ และเครื่องจักสานต่างๆ หน่อใช้รับประทานได้แม้มีรสเข้มอยู่บ้าง
ไผ่เป๊าะ หรือ ไผ่เปราะ พบที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำต้นมีสีเขียว มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตร เนื้อแข็งเปราะ ข้อเรียบ ปล้องยาวประมาณ30 เซนติเมตร ลำต้นสูงถึง 30 เมตร หน่อมีขนาดใกล้เคียงกับลำผ่และมีสีเหลืองอมขาว ไผ่ชนิดนี้นิยมนำมาทำกระบอกข้าวหลาม ไม่นิยมนำมาทำเครื่องจักสาน เนื่องจากมีเนื้อแข็งและเปราะ
ไผ่ตง มีมากในจังหวัดปราจีนบุรี ไผ่ตงเป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-15 เซนติเมตร ปล้องยาว 20 เซนติเมตร ปล้องยาว 20 เซนติเมตร ไม่มีหนาม โคนต้นมีลายสีขาวสลับเทา ลำต้นมีขนสั้นๆขึ้นอยู่ หน่อมีน้ำหนักประมาณ 3-10 กิโลกรัม ไผ่ตงแบ่งออกเป็นไผ่ตงเขียว ไผ่ตงดำ ไผ่ตงหม้อ และไผ่ตงหนู เนื้อไม้นิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสานและไม้จิ้มฟัน หนอนิยมนำมาปรุงอาหารได้หลากชนิด
5.สกุลไดโนเคลา ได้แก่ ไผ่ลาน หรือไผ่เลื้อย
ไผ่ลาน หรือ ไผ่เลื้อย พบมากในภาคใต้ของประเทศ ลำต้นมีลักษณะคลายเถาวัลย์เลื้อยหรือพาดไปตามต้นไม้ที่อยู่ใกล้เคียง ลำต้นมีสีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไผ่ประมาณ 1 เซนติเมตร เนื้อบาง ใบและลำต้นมีขนสีน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ปล้องยาว10 -20 เซนติเมตร ไผ่ชนิดนี้นิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสมุนไพรรักษาโรค
- สกุลจิกแอนโทเคลา ได้แก่ ไผ่มัน หรือไผ่เปาะ ไผ่ไร่ ไผ่ไล่ลอ ไผ่แนะ หรือไผ่คาย ไผ่ผาก ไผ่คายดำ ไผ่บงคาย
ไผ่มัน หรือ ไผ่เปาะ พบมากในภาคใต้ของประเทศ ลำไผ่สีเขียวมัน ไม่มีหนาม เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 8-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร ทรงกอโปร่ง ลำต้นสูง 10 -15 เมตร หน่อมีสีน้ำตาลแก มีน้ำหนักเฉลี่ย 3-4 กิโลกรัม ลำไผ่ใช้ทำส่วนประกอบโครง สร้างบ้านเรือนและเครื่องจักรสานต่างๆ หน่อใช้รับประทานได้
ไผ่ไร่ พบได้ทุกภาคของประเทศ ลำต้นมีสีเขียวปนเทา ผิดสาก แต่ไม่มีหนาม มีขนทั่วลำต้น เป็นไผ่ขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น เพียง 1.5 – 2.5 เซนติเมตร ปล้องยาว 30 เซนติเมตร การแตกกอหนาแน่นมาก นิยมนำมาใช้ค้ำยัน หรือทำเสาหลักในการเกษตรบางชนิด
ไผ่ไล่ลอ ลำต้นสีเขียวอ่อน พบมากที่ภาคเหนือ ขณะแทงกิ่งผลิใบ ต้นไผ่กาบจะหลุดออกมาหมด มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น 3-8 เซนติเมตร และมีปล้องยาว 14-50 เซนติเมตร ลำไผ่นิยมนำมาทำรั้วบ้าน คอกสัตว์ และทำเครื่องเรือนได้ดี หน่อใช้รับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมกัน
ไผ่แนะ หรือ ไผ่คาย พบมากในป่าดิบภาคใต้ มีลำต้นสีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-35 เซนติเมตร มีความสูงเพียง 3-4 เมตร หน่อมีสีเหลือง ลำไผ่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หน่อใช้รับประทานได้ ไผ่ตากวาง พบในป่าดิบภาคใต้ ผิวลำต้นเกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่ 4-6 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร สูงประมาณ 5 เมตร ลำต้นใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หน่อใช้รับประทานได้
ไผ่ผาก พบมากที่ภาคใต้และจังหวัดกาญจนบุรี มีลำต้นสีเขียว ไม่มีหนาม ไผ่ชนิดนี้เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่ 10-13 เซนติเมตร มีหน่อขนาดใหญ่ มีน้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม ลำไผ่ทำเข่งใส่ถ่านเพื่อจำหน่าย เครื่องใช้ในครัวและเยื่อกระดาษ หน่อมีรสขม ก่อนนำมาประกอบอาหารต้องต้มในน้ำร้อนและเททิ้ง 1-2 ครั้ง ก็ใช้ได้
ไผ่คายดำ พบที่จังหวัดกาญจนบุรีและระนอง ลำต้นมีสีเขียวเข้ม ปล้องห่าง ข้อใหญ่ ไม่มีหนาม เป็นไผ่ที่มีลำต้นสูงใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง ของลำไผ่ประมาณ 7-10 เซนติเมตร หน่อมีสีเขียว ไผ่ชนิดนี้ใช้ประโยชน์ได้น้อย ไม่เหมาะนำมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากเนื้อไผ่เปราะหักง่าย หน่อมีรสขม จะไม่นิยมนำมาประกอบอาหาร
ไผ่บงคาย พบมาที่จังหวังเชียงราย ลำต้นมีสีเขียวอ่อน ข้อปล้องมี 2 ชั้น ชั้นล่างเรียบ ส่วนชั้นบนมีปมราก ข้อต่อมีสีเขียวหม่น เส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่ 5-8 เซนติเมตร และยาว 40-50 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-13 เมตร ลำต้นใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี หน่อไม้นิยมนำมาประกอบอาหารเนื่องจากมีรสชาติดี
- สกุลมีโลแคนนา ไผ่สกุลนี้มีเพียงชนิดเดียวคือ ไผ่เกรียบ พบในป่าทึบทั่วไป เป็นไผ่มีลำต้นขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-15 เซนติเมตร ปล้องยาว 50-120 เซนติเมตร เนื้อหนาเฉลี่ยครึ่งเซนติเมตร ข้อเรียบ แขนงเล็ก ต้นสูง 10-15 เมตร หน่อมีขนาดใหญ่ สีเขียวกาบสีเหลืองอมส้ม บริเวณข้อมีสีแดง ไผ่ชนิดนี้นำมาใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่ปลูกไว้ประดับสวน
8.สกุลนีโอฮูซัว พบเพียงชนิดเดียวคือ ไผ่หลอด พบที่จังหวัดตราดลำต้นสีเขียวเป็นมัน ไผ่ชนิดนี้เป็นไผ่ขนาดมีขนาดเล็ก ปล้องยาว 10-15 เซนติเมตร มีความสูงเพียง 4 เมตร หน่อมีขนาดเล็ก สีเทาในอดีตนิยมนำมาทำหลอดด้าย แต่เนื่องจากมีการนำสารสังเคราะห์มาใช้ทดแทน ปัจจุบันจึงไม่มีการนำมาทำหลอดด้ายอีก
- สกุลซูโดซาซา พบมาในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีเพียงชนิดเดียว แต่ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด
- สกุลไซโซสตาคียัม มี 3 ชนิด คือ ไผ่โป และไผ่เฮียะ พบมากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง แต่ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด
11.สกุลเทียโนสตาคียัม มี 2 ชนิด คือ ไผ่เฮียะเครือ และไผ่บงเลื้อยพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดใกล้เคียงยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด
- สกุลไธโซสตาซัส มี 2 ชนิด คือ ไผ่รวก พบมากที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นไผ่ที่มีลำต้นขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกอเป็นพุ่มแน่นพอประมาณ ลำต้นนิยมทำวัสดุก่อสร้าง ไม้ค้ำยันต้นไม้และใช้ทำเยื่อกระดาษ หน่อใช้รับประทานได้ ส่วนใหญ่เก็บถนอมด้วยวิธีทำหน่อไม้ปี๊ป และไผ่รวกดำ พบมากในภาคเหนือ ลำต้นมีสีเขียวเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร ปล้องยาว 23-30 เซนติเมตร ลำต้นสูง 10-15 เมตรเนื่องจากลำต้นมีเนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน จึงนิยมนำมาทำโครงร่มกระดาษและพัด เครื่องประดับอื่นๆ และเฟอร์นิเจอร์
(ที่มา: https://sites.google.com/site/bamjitra761/say-phan. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 เวลา 11.00 น.)
การลงพื้นที่
จากการลงพื้นที่ พบว่าในบริเวณพื้นที่ของทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านไทรโยง หมู่ที่ 3 บ้านไทรโยงเหนือ หมู่ที่ 19 และบ้านกลันทา หมู่ที่ 10 นั้น พบว่า ทั้ง 3 หมู่บ้านนี้มีสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างต่างกันออกไป แต่จะมีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกันรวมถึงการทำเกษตรกรรม การทำนา ทำไร่ ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งชาวบ้านบางส่วนเลือกที่จะทำในอาชีพนี้ และมีบางส่วนเลือกที่จะทำอาชีพรับจ้างทั่วไป เพราะไม่มีความรู้ความสามารถด้านเกษตรกรรม แต่ส่วนในเรื่องของการปลูกไผ่นั้นจากการลงพื้นที่ของกลุ่มข้าพเจ้า พบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่จะปลูกต้นไผ่ไว้ใช้งาน เช่น ปลูกไว้ใช้ทำเครื่องมือจักสาน สร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆหลากหลายชนิด ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทราบถึงสายพันธ์ุของต้นไผ่และประโยชน์ของต้นไผ่เท่าที่ควรนัก เนื่องจากสายพันธุ์ไผ่นั้นมีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดจะใช้ประโยชน์แตกต่างกันออกไป บางชนิดใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ บางชนิดใช้ทำเครื่องเรือน บางชนิดยังใช้ในการรักษาโรคได้อีกด้วย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงมีความคิดเห็นว่าจะจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับต้นไผ่ โดยจะอบรมในหัวข้อของสายพันธุ์ไผ่แต่ละชนิด วิธีการปลูกและวิธีการดูแลรักษา รวมไปถึงประโยชน์ของต้นไผ่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวบ้านและชุมชนในการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวจากการใช้ประโยชน์จากต้นไผ่ต่อไป
ซึ่งสาเหตุหลักในการเลือกใช้ต้นไผ่ในการปรับภูมิทัศน์นั้น เนื่องจากต้นไผ่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น หน่อสามารถนำมารับประทานหรือประกอบอาหารได้ ลำต้นสามารถนำไปใช้ทำเครื่องจักสาน เฟอร์นิเจอร์ คอกสัตว์ สิ่งก่อสร้างและสิ่งต่างๆอีกมากมาย ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าคิดว่าต้นไผ่นี้สามารถก่อเกิดประโยชน์ต่อชาวบ้านและชุมชนเป็นอย่างดีในอนาคต หากชาวบ้านร่วมด้วยช่วยกันหมั่นดูแลรักษาผลผลิตที่ได้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย หากบางท่านอาจจะคิดว่าการปลูกไผ่นั้นเป็นเรื่องยากสำหรับการปรับภูมิทัศน์ ต้นไผ่อาจชี้ไปคนละทิศคนละทาง ซึ่งมันอาจจะดัดยาก แต่กลุ่มของข้าพเจ้ากลับคิดว่า หากเราเริ่มดัดในส่วนของลำต้นตั้งแต่ต้นยังเล็กค่อยๆดัดไปเรื่อยๆหมั่นแวะเวียนกันมาดูแลรักษา ก็อาจจะสามารถดัดให้เป็นไปตามความต้องการของเราได้ ดังเช่น ที่ไร่ดินชุ่มฟ้า อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการปลูกไผ่บงหวานกินสดหรือไผ่เพชรน้ำผึ้ง ซึ่งใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย และเป็นที่นิยมในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงมีความคิดเห็นว่าหากต้องการจะปรับภูมิทัศน์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชาวบ้านและชุมชน ก็ควรปลูกต้นไผ่ช่วยในเรื่องของการปรับภูมิทัศน์สืบต่อไป
( ที่มา:ภาพถ่ายจาก ไร่ดินชุ่มฟ้า อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์)
แบบทดสอบประจำเดือน