ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ )
ข้าพเจ้า นางสาววนาวิน ศรีสอาด ประเภท นักศึกษา
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมกับทีมงานในเดือน มีนาคม พุทธศักราช 2564 ที่หมู่ 3 บ้านไทรโยงและหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน และคนในชุมชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย( จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ)
หลักสูตร ID 10: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
แหล่งท่องเที่ยวเมืองโบราณบ้านไทรโยง -ทัศนีย์ภาพในชุมชน
เมืองไทรโยง ตั้งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง หมู่ 3 บ้านไทรโยง และหมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 ประมาณ 6 กิโลเมตรถึงสี่แยกกระสังเลี้ยวขวา ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ประมาณหลัก กม. ที่ 112 ถึงเมืองไทรโยง
ภาพมุมสูงชุมชนโบราณบ้านไทรโยง
ภาพจาก http://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/1713
ทัศนีย์ภาพของคนในชุมชน พบว่าความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมีการ พึ่งพาอาศัยกันอยู่กันแบบเครือญาติ คนในชุมชนประกอบอาชีพหลากหลายทั้งทำการเกษตร เช่น ทำนา ปลูกพืชผัก ปลูกข้าวโพด เพาะเห็ด มีการทำปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่บ้าน ไก่ชน เลี้ยงหมู เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย มีการทำงานหัตถกรรมฝีมือ เช่น ทอเสื่อ ไม้กวาดทางมะพร้าว มีอาชีพรับจ้างทั่วไป และยังมีบุคคลว่างงาน ผู้ที่อยู่บ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุคนวัยหนุ่มสาวจะออกไปทำงานนอกพื้นที่
ส่วนมากคนในชุมชนเป็นผู้สูงอายุว่างงาน บางบ้านก็จะประกอบอาชีพในหมู่บ้านของตนเอง เพื่อเลี้ยงชีพในแต่ละวันโดยการปลูกเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัว และงานหัตถกรรมฝีมือ สานไม้กวาดทางมะพร้าว ทอเสื่อ เพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัวในแต่ละวัน
ลักษณะเด่นของชุมชนมีคูน้ำล้อมรอบทำให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากคูน้ำในการดำเนินชีวิต ทั้งเป็นแหล่งผลิตปะปาหมู่บ้าน และยังเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในทางการเกษตร บรรยากาศดีเหมาะแก่การสร้างเป็นแหล่งสวนสาธารณะ ล้อมรอบคูน้ำเพื่อสร้างเป็นแลน์ดมาคดึงดูดความสนใจจากคนนอกพื้นที่เข้ามาดูแหล่งโบราณ อีกทั้งยังทำให้คนในชุมชนมีรายได้
อีกทั้งคนในชุมชนยังมีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาโบราณภายในแหล่งที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยมีคุณตาท่านหนึ่ง มีนามว่า ตาน้อย คุณตาเล่าว่าหลายปีก่อนได้ไปไถหญ้าในสวนของตนเองเพื่อที่จะปลูกพืชผักสวนครัว อยู่ๆคันไถก็ได้ไปสะดุดกับบางสิ่งคุณเลยลงไปดูพบว่าเป็น โถใส่น้ำ ไห โบราณ และกำไรเหล็กโบราณ ที่ยังมีสภาพเกือบสมบูรณ์ จึงทำไห้คนในชุมชนเชื่อว่าหมู่บ้านของตนเป็นแหล่งเมืองโบราณสถาณ เก่าแก่มาก่อนหลายร้อยปี
สรุปการลงพื้นที่
ข้าพเจ้าและทีมงานมีความสนใจเกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่ และต้องการให้ผู้คนในพื้นที่ได้มองเห็นความสำคัญ ความโดดเด่นของพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ ร่วมกันพัฒนาพื้นที่และยกระดับพื้นที่ให้มีความน่าสนใจ ดึงดูดคนนอกพื้นที่เข้ามาเยี่ยมชม ทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน