การป้องกันกำจัดโรคและแมลงในการผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษ

 

1.ความหมายและหลักการการผลิตพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษ

             หมายถึง การผลิตพืชหรือผัก ผลผลิตที่ได้จะต้องไม่มีสารพิษตกค้าง และถ้ามีก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด(กระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทางเคมีและวิธีวิเคราะห์ (มาตรฐานสากล)

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษ 

             พันธุ์พืชหรือผัก การเขตกรรม ความอุดมสมบูรณ์ของดิน การบรรจุ  การเก็บเกี่ยว การตลาด  การขนส่ง การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

             หลักการ คือ การปลูกพืชหรือผักที่ไม่ใช้สารเคมีหรือใช้สารเคมีในการผลิตให้น้อยที่สุด หรือใช้ตามความจำเป็นและใช้อย่างถูกต้อง โดยยึดหลักการนำวิธีผสมผสานมาประยุกต์ใช้กับการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรของผู้บริโภค และรักษาสิ่งแวดล้อม

1.1ประโยคของการผลิตพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษมี ดังนี้

  1. พืชหรือผักที่มีคุณภาพดีสวยงามปลอดภัยต่อผู้บริโภค
  2. ผู้ผลิตพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
  3. ลดต้นทุนในการผลิตหรือผักปลอดภัยจากสารพิษ
  4. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
  5. ลดปริมาณการนำเข้าสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชหรือผัก

1.2 สาเหตุการเกิดสารพิษตกค้างในพืชหรือผักมีหลายสาเหตุ ดังนี้

     1.พฤติกรรมของผู้บริโภค

    2.ผู้ผลิตเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวไม่คำนึงถึงผู้บริโภค

    3.ผู้ผลิตขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชหรือผัก

    4.ประชาชนมีรายได้และค่าครองชีพต่ำ

 

2.วิธีการผลิตพืชหรือผักให้ปลอดภัยจากสารพิษมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

2.1 เลือกพื้นที่ปลูกเหมาะสมควรเป็นดังนี้

  1. สภาพพื้นที่
  2. ลักษณะดิน
  3. แหล่งน้ำ

2.2 การเลือกชนิดและพันธ์พืชหรือผักให้เหมาะสม     

2.3 การคัดเลือกและเตรียมเมล็ดพันธุ์มีวิธีดังต่อไปนี้

  1. แช่เมล็ดในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 50- 55 องศาเซลเซีย เป็นเวลา 10-15 นาที ช่วยกำจัดเชื้อรากระตุ้นการงอกของเมล็ด
  2. โดยการคลุกเมล็ดตอนเพาะกล้า เช่น เมทาแลคซิล38%SD(เอพรอน)

2.4 การเตรียมพื้นที่และดินปลูกมีขั้นตอนดังนี้

    1.ปรับพื้นที่ให้เรียบ

    2.จัดทำคูระบายน้ำในแปลงให้เพียงพอ

    3.ทำลายพื้นที่ที่เป็นแหล่งหลบซ่อนของศัตรูพืชหรือผักที่เราปลูกให้หมด

    4.กำจัดวัชพืชบนแปลงปลูกให้หมด 

    5.เตรียมดินไถตากดินไว้ประมาณ 7 วัน    

    6.ไถครั้งที่ 2 หรือไถพรวนพร้อมที่จะปลูก

    7.ปรับสภาพดิน(ดินกรด) ด้วยการหว่านปูนขาว ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมท์ ให้ดินมีสภาพเป็นกลาง

2.5 การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการผลิตพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษทำได้ดังนี้

  1. ปรับปรุงดินทางด้านกายภาพ เช่น ขนาด รูปทรง สี ความหยาบละเอียด ฯลฯ
  2. การปรับปรุงทางด้านเคมีได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่างปริมาณอินทรีย์วัตถุปริมาณธาตุอาหารต่างๆ
  3. การปรับปรุงดินทางด้านชีวภาพจำนวนของจุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เล็กไปหาใหญ่

2.6การควบคุมวัชพืชในการผลิตพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษ

ประเภทของวัชพืชที่ขึ้นแข่งขันกับพืชผักในแปลงแบ่งได้ดังนี้

    1.วัชพืชใบแคบ ได้แก่ พืชพวกตระกูลหญ้าต่างๆ    

    2.วัชพืชใบกว้าง ได้แก่ พวกพืชที่มีใบเลี้ยงคู่ เช่น ผักขม ผักเนี้ยหิน

    3.วัชพืชน้ำ เช่น กก

2.7การป้องกันกำจัดโรคเพื่อการผลิตพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษมีขั้นตอนดังนี้ 

  1. การทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์
  2. การเลือกพื้นที่ปลูก
  3. การใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์
  4. การเลือกระยะเวลาปลูกให้เหมาะสม
  5. การทำความสะอาดแปลงปลูกหลังเก็บเกี่ยว
  6. การปลูกพืชหมุนเวียน
  7. การเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นให้กับพืชหรือผัก
  8. ปฏิบัติดูแลอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ
  9. การใช้เชื้อราควบคุมโรค
  10. การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดโรค

2.8 การป้องกันกำจัดแมลงศตรูพืชหรือผักโดยวิธีกล

2.8.1. การใช้กับดักกาวเหนียว มีขั้นตอนการใช้ดังนี้

    1.เหลาปลายไม้ใช้เสียบกับปากกระป๋องพลาสติกสีเหลือง(ยาว60 เซนติเมตร) และเสี้ยมโคนให้แหลม

    2.นำกระป๋องพลาสติกสีเหลืองครอบลงปลายไม้ ใช้ตะปูตอกยึดกับดักไว้กับไม้เสียบให้แน่น

    3.นำกลับดักสีเหลืองไปติดตั้งในแปลงปลูกพืชหรือผักโดยใช้ระยะห่าง 4 × 4 เมตรสูงจากพื้น 30 – 50 เซนติเมตร

    4.ในช่วงฤดูหนาวแมลงศัตรูมีมากอาจใช้ 15-20 กับดัก/ไร่ หากเป็นช่วงฤดูฝน แมลงศัตรูมีมากอาจเพิ่มเป็น 60- 80 กับดัก/ไร่

    5.ทากาวเหนียวที่เตรียมไว้ลงบนกับดักสีเหลืองให้ทั่ว

    6.หลังจากที่กาวเหนียว(คินริว แทงเกิลฟุตไบโอกลู-ซี) ได้ประมาณ 10 – 15 วัน จึงนำกาวเหนียวมาป้ายครั้งใหม่อีกที (ควรทำความสะอาดกับดักเก่าให้เรียบร้อยก่อนนำมาใช้ใหม่

 

2.8.2. การใช้กับดักแสงไฟ เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกประหยัดมีประสิทธิภาพสูง ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีได้มาก  หลอดไฟที่ใช้ควรเป็นหลอดไฟสีม่วงหรือสีน้ำทะเล ซึ่งอาจใช้ภาชนะที่บรรจุน้ำหรือน้ำมันเครื่อง(ผสมผงซักฟอก) หลอดไฟอยู่สูงจากพื้นประมาณ 1.50 เมตร และหลอดไฟอยู่ห่างจากภาชนะรองรับแมลงประมาณ 30 เซนติเมตร (ควรปิดส่วนบนของหลอด)

2.8.3. การใช้พลาสติกสีเทา-เงิน คลุมแปลง ช่วยป้องกันแมลงพาหะโรคพืชหรือผัก เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไร นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน

2.8.4. การใช้มุ้งตาข่ายไนล่อน หรือที่เราเรียกว่าผักกางมุ้ง

2.9 การป้องกันกำจัดแมลงสัตว์ศัตรูพืชหรือผักโดยอาศัยศัตรูธรรมชาติ

            สำหรับวิธีการป้องกัน วิธีนี้นิยมนำมาใช้กับผัก ได้แก่ แมลงตัวห้ำและตัวเบียน หรืออาจใช้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย ไส้เดือนฝอย ได้แก่

      1.ตัวห้ำ เป็นแมลงที่สามารถทำลายศัตรูพืชหรือผักได้ทุกวัย ตัวห้ำที่เป็นแมลงศัตรู เช่น ด้วงเต่า มวนพิฆาต มวนเพชณฆาต แมลงช้างปีกใส ฯลฯ

     2.ตัวเบียน หมายถึง แมลงประเภทที่เบียดเบียนเหยื่อหรือเกาะกินอยู่กับเหยื่อจนกระทั่งเหยื่อตายเพื่อการดำรงชีวิต ได้แก่ แตน เบียน ไข่ไตรโคแกรมม่า

 

      3.เชื้อไวรัสมีการนำเชื้อไวรัสมาใช้กับการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ NPV (Nuclear Pelyhedrosis Virus) ซึ่งมีหลายตัว NPV ของหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย

 

      4.เชื้อแบคทีเรีย เป็นจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่งทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืชผักได้ ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ บาซิลัส ทรูลิงเจนสิลหรือที่เรียกว่า “บีที”(BT) โดยสามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชหรือผักได้หลายชนิด เช่น หนอนใหญ่ผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก

 

       5.ไส้เดือนฝอย เป็นศัตรูธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งของแมลง ไส้เดือนฝอยได้พัฒนาเป็นสารชีวพันธุ์สามารถป้องกันกำจัดหนอนแมลงศัตรูพืชหรือผักได้ เช่น ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้หอม

 

2.10 การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผักโดยใช้สารสกัดจากสะเดา

2.11 การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี

 

3.สรุปการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ มีดังนี้

   1.เลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการผลิต

   2.ควรมีแหล่งน้ำที่เพียงพอและไม่ปนเปื้อนสารพิษ

   3.อยู่ใกล้กลับแหล่งวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิตพืชหรือผัก

   4.ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากการเจือปนหรือมีโรคและแมลงทำลาย(เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง)

   5.ผู้ผลิตควรมีการวางแผนล่วงหน้าในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษ

   6.นำเอาวิธีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชหรือผักปลอดภัยจากสารพิษมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม

อื่นๆ

เมนู