ข้าพเจ้า นางสาวจุไรรัตน์ บัญดิษรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร ID:10 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ตามการจัดรูปแบบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ได้มีการจัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ได้มีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั่วประเทศเข้ามาดำเนินการโดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ทำงานประสานและร่วมงานกับจังหวัดและหน่วยงานอื่นๆมากมาย เพื่อให้การทำงานบูรณาการนี้ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลอย่างมีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปสู่การลดความยากจน ช่วยพัฒนาสินค้าบริการชุมชน การส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานชุมชน และการพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว อย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรพร้อมทีมงานได้มีการจัดอบรมให้กับชุมชนตามรูปแบบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ภายใต้หัวข้อการบรรยาย “มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน” ณ ห้องประชุมเล็ก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมี คุณอมรรัตน์ จันทร์ชูวงศ์ เป็นวิทยากรในการบรรยายถ่ายทอดความรู้ในการอบรม ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ทีมงานได้ทำการเชิญชวนและขอความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมรับฟังการบรรยายเพื่อนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานจนนำไปสู่การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หากผลิตภัณฑ์ชุมชนได้มาตรฐานก็จะเกิดการยอมรับจากผู้ซื้อผู้สนใจ จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคสินค้าได้มากขึ้น กิจกรรมในการอบรมเต็มไปด้วยความรู้และความสนุก วิทยากรและสมาชิกในชุมชนต่างร่วมกันตอบความถามในข้อสงสัยและมีการแจกของรางวัลกัน
ในการจัดอบรมท่านวิทยากรได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดบุรีรัมย์ ในเรื่องของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่จังหวัดบุรีรัมย์ได้ขอมากที่สุดคือ ผ้าทอ ส่วนใหญ่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจะเป็นของกลุ่มชุมชนอำเภอเมือง อำเภอนาโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ และอำเภอกระสัง ชุมชนอำเภอที่กล่าวถึงนี้จะมีความสามารถในด้านการทอผ้าเป็นอย่างมาก และได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว รองลงมาจะเป็นประเภทของใช้ ซึ่งส่วนใหญ่ของใช้จะเป็นของกลุ่มชุมชนอำเภอประโคนชัย อำเภอสตึก อำเภอคูเมือง และอำเภอละหานทราย ต่างก็ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว ส่วนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีการขอน้อยที่สุดจะเป็น ประเภทเครื่องดื่ม เพราะจะต้องมีการผ่านขั้นตอนหลากหลายขั้นตอน เช่น อ.ย. และในส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์อำเภอที่มีใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนมากที่สุดจะเรียงลำดับได้ดังนี้ คือ
1.อำเภอประโคนชัย
2.อำเภอเมือง
3.อำเภอนาโพธิ์
4.อำเภอลำปลายมาศ
5.อำเภอคูเมือง
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนต่างได้รับเป็นการการันตีว่าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชุมชนนั้นมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานเป็นการสร้างความไว้ใจทความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคได้ เพราะสิ่งแรกที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมให้ความสำคัญมากที่สุดคือด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน นั่นคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และช่วยในเรื่องผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร เราไปทำการศึกษากันเลยค่ะ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ ข้อกําหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด และสอดคล้องกับนโยบาย OTOP โดยในแต่ละผลิตภัณฑ์ก็จะมีข้อกําหนดที่แตกต่างกันไปทั้งนี้สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า สมอ. ได้มีโครงการจัดทํามาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือระดับพื้นบ้านที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
วัตถุประสงค์ของโครงการที่สําคัญคือ
1. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายการรับรอง
2. ส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย
3. สร้างความมั่นใจให้กบั ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศในการเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ชุมชน
4. เน้นให้ชุมชนมีการพัฒนาแบบยั่งยืน
5. สนับสนุนนโยบายสําคัญของรัฐบาลโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน
6. ให้ความสําคัญของการนําภูมิปัญญาชาวบ้านและทรัพยากรที่มีอย่ในท้องถิ่นมาพัฒนาและสร้าง มูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นมีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์มีการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้ เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ สร้างงาน สร้างรายได้
ประโยชน์ที่จะได้รับจากมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน
1.ผู้ผลิตผลิตภณั ฑ์ชุมชนมีความเข้าใจและมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ
2.สินค้าที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
3. สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ต้องการของตลาด
4. สามารถนําผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion (ระดับ5ดาว)
5.ได้รับการสนับสนุน เพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
1.คุณสมบัติผู้ยื่นคำขอ
– เป็นผ้ผู้ผลิตในชมุชนของโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ อํานวยการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ
– เป็นกลุ่มหรือสมาชิกของกลมุ่เกษตรกรกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มอื่นๆตามกฏหมายวิสาหกิจชมุชนเช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพก้าวหน้า กลุ่มธรรมชาติ เป็นต้น
2. การรับรอง
– ตรวจสอบสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิตตรวจสอบเพื่อพิจารณาออกใบรับรอง
– ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรอง โดยสุ่มซื้อตัวอย่างที่ได้รับการรับรองจาก สถานที่จําหน่ายเพื่อตรวจสอบ
2.1 การขอการรับรอง
ให้ยื่นคำขอต่อสานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสานักงานอุตสาหกรรม จังหวัด หรือจังหวัด พร้อมหลักฐานและเอกสารต่างๆ ตามแบบที่สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรมกําหนด
2.2 เมื่อได้รับคําขอแล้ว สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุสาหกรรมจะนัดหมายการตรวจสอบสถานที่ ผลิตเก็บตัวอย่างส่งทดสอบหรือทดสอบสถานที่ผลิต
2.3 ประเมินผลการตรวจสอบว่าป็นไปตามมาตรฐานผลิตภณัฑ์ชมุชนที่ได้กําหนดไว้หรือไม่
2.4 ใบรับรองผลิตภัณฑ์มีอายุ 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ระบุในใบรับรอง
2.5 การขอต่ออายใุบรับรองหรือการออกใบรับรองฉบับใหมเ่มื่อใบรับรองฉบับเก่าสิ้นอายุให้ดําเนินการตามข้อ2.2 ถึง 2.4
3. เงื่อนไขและการตรวจติดตาม
– ผู้ได้รับการรับรอง ต้องรักษาไว้ซึ่งคุณ ภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่กําหนดไว้ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับ การรับรอง
– การประเมินผลการตรวจสอบตัวอย่างที่สุ่มซื้อเพื่อตรวจติดตามผลต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภณัฑ์ชมุชนที่ กําหนด
– การตรวจติดตามผลทําอย่างน้อยปีละ1ครั้ง
4. การยกเลิกการรับรอง
สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจะยกเลิกใบรับรองกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
– ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชมุชน 2 ครั้งติดต่อกัน
– ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกใบรับรอง
– ไม่มีการประกาศแก้ไขหรือยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้กําหนดไว้
– เมื่อใบรับรองครบอายุ 3 ปี นับจากวันที่ได้รับการรับรอง
– กรณีมีการกระทําอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่กําหนดเช่นการอวดอ้างเกิน ความเป็นจริง โฆษณาการได้รับการรับรองครอบคลุม รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง
5.อื่นๆ
– ในกรณีที่ยกเลิกกใบรับรอง ผู้ได้รับการรับรองต้องยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา ที่มีการอ้างอิง การได้รับการรับรองทั้งหมด
– สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ไม่รับผิดชอบในการกระทำใดๆ ของผู้ได้รับการรับรองที่ได้กระทําไปโดยไม่สุจริตหรือ ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
6. ข้อแนะนําสำหรับผู้รับใบรับรองให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
1. ค่าใช้จ่าย ผู้รับใบรับรองไม่ต้องชำระค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าใชจ่ายในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชุมชน (ตัวอย่าง)
-ค่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เก็บจากสถานที่จำหน่าย -ค่านําส่งตัวอย่าง
7. การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
1.ผู้ได้รับใบรับรองต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นไปตาม
มาตรฐานเท่านั้น
2. การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การทเครื่องหมายและฉลาก
– การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ป ฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
– การทําเครื่องหมายและฉลากต้องมีข้อความครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและไดรับความเห็นชอบจาก สมอ.
– ระยะเวลาในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
8. การตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบของ สมอ.
-ในการควบคุมการใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. จะได้ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่มาตรวจสถานที่ผลิตเป็นครั้งคราวและเก็บตัวอย่างจากสถานที่ผลิตหรือจากแหล่งจําหน่ายไป ตรวจสอบ
– การมาตรวจสถานที่ผลิตเพื่อ ดูการทําและการใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. จะ ไม่แจ้งให้ผู้รับใบรับรองทราบล่วงหน้า ยกเว้นบางกรณี
– พนักงานเจ้าหน้าที่มาตรวจสถานที่ผลิต ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อเจ้าหน้าที่ของสถานที่ผลิตทุกครั้ง
– ในการตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่าง พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการดังนี้
– การตรวจสถานที่ผลิต
– การเก็บตัวอย่าง
9. การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ สมอ. จะส่งตัวอย่างที่เก็บ จากแหล่งต่าง ๆ ให้หน่วยตรวจสอบเพื่อตรวจสอบและแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบภายหลัง
10. การเลิกประกอบกิจการ ผู้รับใบรับรองต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ สมอ. ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันเลิกกิจการ
ข้อมูลมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ประกาศใช้ จำนวนทั้งหมด 1,346 มาตรฐาน สามารถคลิกที่บิงค์เข้าศึกษาได้เลยค่ะ
http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx
ขั้นตอนในการขอใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
ที่มา: https://www.tmbfoundation.or.th/images/knowledge-management/download_file/SDG03/ตัวอย่างคู่มือแนวทางพัฒนาเพื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน_
ตัวอย่างใบคำขอรับใบรับรอง
นี่คือข้อมูลความรู้ทั้งหมดเกี่ยวมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่นำมาฝากทุกคน ข้อมูลที่เสนอมาทั้งหมดนี้ข้าพเจ้าหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่านและศึกษาเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตนเองให้เป็นที่รู้จัก เป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพจนเป็นที่น่าจดจำได้