นายอำนวย  จิตไทย ประเภทประชาชน

 

การดำเนินงานเดือนกรกฎาคม 2564 ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) รับผิดชอบในตำบลกระสังได้แก่ บ้านม่วงเหนือหมู่ 2 บ้านเครือชุด หมู่ 4 บ้านกลันทา หมู่ 10 บ้านลำดวน หมู่ 11 และบ้านม่วงพัฒนา หมู่ 16 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  ทีมปฏิบัติงานได้มีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจการอบรมการสานฝาชีเพื่อใช้ในครัวเรือนและจำหน่าย

ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างงานหัตกรรมจักสานไม้ไผ่ที่ใช้สร้างเป็นงานหัตถกรรมมีด้วยกันหลายชนิด เนื่องจากคุณสมบัติของไผ่แต่ละประเภทจะมีความเหมาะสมกับงานหัตถกรรมที่แตกต่างกัน จึงต้องเลือกใช้ชนิดไม้ไผ่ให้เหมาะสม เช่น ไม้ไผ่ที่นิยมใช้ทำเครื่องจักสานมากที่สุด คือ ไม้ไผ่สีสุก ซึ่งเป็นไม้ไผ่ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นราบมีอยู่ทั่วทุกจังหวัด ไม้ไผ่ที่นำมาใช้สำหรับการทำงานหัตถกรรมจักสานจะต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 2 ปี ต้องเลือกพันธุ์ไม้ไผ่ที่สามารถยืดหยุ่นได้ดี ลำต้นมีความยาว เมื่อใช้งานจะนำมาตัดและชักเสี้ยนไม้ทำให้ได้เส้นตอกที่ยาวเป็นเส้นบาง ๆ แล้วนำมาขัด สาน สอด ไขว้ ขึ้นโครงเป็นรูปทรงทำเป็นภาชนะเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวันจัดเป็นงานศิลปหัตถกรรม และหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความผูกพันและอยู่คู่กับวิถีชีวิตของชุมชนตำบลกระสัง แสดงได้ถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณจะมีอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดบุรีรัมย์

การการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการสานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ของกลุ่มตำบลกระสังในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ขณะนี้ดำเนินการสาธิตให้ความรู้ในการเตรียมวัตถุดิบการเลือกไม้ไผ่ การรมควันป้องกันเชื้อรา การจักตอกพร้อมที่จะอบรมการจักสานโดยใช้วิทยากรที่มีภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษและเทคนิคที่ชุมชนที่ต้องการจักสานเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพสามารถใช้งานในชีวิตประวันและสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้ โดยมีขั้นตอนการจักสานฝาชีที่ได้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่ได้สาธิตให้ความรู้และแสดงวิธีการทำดังต่อไปนี้

1.ขั้นตอนการเตรียมไม้ไผ่

1.1 นำไม้ไผ่ลนไฟแล้วนำไปตากแดด 1 วัน (ควรเลือกไม้ไผ่ที่มีอายุ 1-1.5 ปี) เพื่อป้องกันมอดไม้ไผ่ ต่อจากนั้นนำไปแช่น้ำให้ไม้ไผ่มีความชุ่มชื้น

1.2 นำไม้ไผ่มาเลื่อยปล้องแล้วผ่าออกเป็นซีกกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร

1.2 จากนั้นทำการผ่าตอกออกเป็นซีก ซึ่งไม้ไผ่ 1 ซีกจะได้ตอกประมาณ 4-5 เส้น

1.3 นำตอกที่ได้มาขูดด้วยเครื่องขูดตอก เพื่อให้ได้เส้นตอกที่เรียบเวลาสานจะทำให้สานได้ง่ายขึ้น
และมีความประณีตสวยงาม แล้วนำไปผึ่งแดด

1.4 ตัดไม้ไผ่ปล้องสั้น ความยาว 76 นิ้ว เพื่อทำการเหลาขอบ และไม้ปิดขอบ จากนั้นนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อทำลายน้ำหวานที่อยู่ในเนื้อไม้ จากนั้นนำไปตากแดด 2-3 แดด เพื่อให้แห้งและการอยู่ตัวของไม้ไผ่

1.5 นำไม้ไผ่ที่นำมาสำหรับปิดขอบรมควันเพื่อป้องกันมอดไม้

ภาพ 1 ประชุมสาธิตการเตรียมไม้ไผ่

2. ขั้นตอนการเตรียมส่วนประกอบ
2.1 การก่อฝาชีลายไทย โดยใช้ตอกก่อสานข้ามไปมาตามลายที่กำหนด
2.2 การวางแผนออกแบบและย้อมสีการสานฝาชีลายไทยตามขนาดที่ต้องการ

   

ภาพ 2 การเตรียมส่วนประกอบการสานฝาชี

  1. ขั้นตอนการประกอบ
    3.1 นำแผ่นฝาชีชโลมน้ำให้ชุ่มและหมักลงกาละมัง ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้แผ่นสานอยู่ตัว
    3.2 ทำการขึ้นเป็นฝาชี ตัดแต่งให้ได้รูปทรงใส่จุกจับให้เรียบร้อย
    3.3 นำฝาชี ผึ่งแดดให้แห้ง

3.4 นำฝาชีทาแล็คเกอร์เคลือบเงา จะได้ฝาชีตามภาพ

 

 

ภาพ 3 ฝาชีที่ได้จากการอบรมของตำบลกระสัง

         จากการอบรมการสานฝาชีเพื่อใช้ในครัวเรือนและจำหน่ายในความรับผิดชอบของตำบลกระสังได้แก่ บ้านม่วงเหนือหมู่ 2 บ้านเครือชุด หมู่ 4 บ้านกลันทา หมู่ 10 บ้านลำดวน หมู่ 11 และบ้านม่วงพัฒนา หมู่ 16 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเพื่อเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนนำ ความรู้การสานฝาชีตามขั้นตอนไปประยุกต์ใช้อย่างดีเยี่ยม

 

 

อื่นๆ

เมนู