หลักสูตร ID10: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์การท่องเที่ยวของการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

จากการลงสำรวจพื้นที่ในเดือนที่ผ่านมานอกจากคนในชุมทั้ง4หมู่บ้านจะปลูกผักบุ้งเป็นหลักแล้วยังพบว่ามีหมู่บ้านเครือชุดหมู่4 ที่ทำผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่และยังมีกลุ่มที่ทำส่งขายมีทั้งหมด3หมู่บ้านในตำบลกระสัง ได้แก่ บ้านเครือชุดหมู่4 บ้านม่วงพัฒนาหมู่18 บ้านกลันทาหมู่10 และได้สอบถามกับคนที่ทำผลิตภํณฑ์จักสานจากบ้านเครือชุดหมู่4 พบว่าไม้ไผ่ไม่เพียงพอต่อการผลิตและยังไม่ได้มาตรฐานตามที่ควร และเพื่อให้เป็นไปตามมมาตรฐานผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

รูปภาพ: ไซบ้านเครือชุดและบ้านม่วงพัฒนา

รูปภาพ: ฝาชีบ้านกลันทา

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ทอหรือจักสานจากไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักและทำด้วยมือสำหรับใช้งานทั่วไป เป็นของใช้ ของประดับตกแต่ง และของที่ระลึก ไม่รวมผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่ใช้ในงานก่อสร้างหรือตกแต่ง เช่น หลังคา บุผนัง ฝ้าเพดาน ไม้พื้น

1.2 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ไม่ครอบคลุมดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ เครื่องเรือนไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากไม้ไผ่ และผลิตภัณฑ์ตกแต่งหรือหุ้มด้วยถักสานจากพืชที่ได้ประกาศเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว

2. บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้มีดังต่อไปนี้

2.1 ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำไม้ไผ่มาตัดและจักเป็นเส้นตอก แล้วนำมาสานเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป อาจมีกรรมวิธีอื่นด้วย เช่น ทอ ถัก พัน อาจแต่งสีหรือย้อมสี เคลือบด้วยสารเคลือบผิวประกอบหรือตกแต่งด้วยวัสดุอื่นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงหรือความสวยงาม เช่น โลหะ ไม้ หวาย พลาสติกเชือก ผ้า เอ็น ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะกร้า กระจาด กระเป๋า กระติ๊บ

2.2 เส้นตอก หมายถึง ไม้ไผ่ที่นำมาทำความสะอาด กรีดหรือจักให้เป็นเส้นที่มีขนาดตามต้องการ ทำให้แห้งอาจมีการป้องกันเชื้อรา ฟอกสีหรือย้อมสีเพื่อความสวยงาม

3. คุณลักษณะที่ต้องการ

3.1 ลักษณะทั่วไป

ต้องประณีต สวยงาม มีรูปแบบรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ผุ ไม่มีรา หรือตำหนิที่เกิดจากการทำลายของมอด ปลวก หรือแมลงอื่น ไม่มีขอบคมและปลายแหลมยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงานไม่มีเส้นขน เสี้ยน ฝุ่นผง รอยแตก รอยร้าว บิด โก่ง หัก งอ หรือตำหนิในชิ้นงานให้เห็นเด่นชัด ยกเว้นรอยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงานซึ่งไม่มีผลเสียต่อการใช้งาน กรณีเป็นชุดเดียวกันต้องมีรูปแบบ ลวดลาย และสีที่กลมกลืนเข้ากันได้ พื้นผิวด้านในและบริเวณที่สัมผัสได้ต้องขัดผิวให้เรียบการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

3.2 การประกอบ (ถ้ามี)

ต้องเรียบร้อย ประณีต สวยงาม ติดแน่น เหมาะสมกับชิ้นงาน ไม่มีกลิ่นของสารเคมีและรอยเปรอะเปื้อนของสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกันการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

3.3 การเย็บ (ถ้ามี)

3.3.1 ต้องเรียบร้อย ประณีต ฝีเข็มสม่ำเสมอทั้งนอกและในตัวผลิตภัณฑ์ ริมต้องเรียบแน่น ไม่ย้วยหรือหลุดลุ่ย

3.3.2 การบุด้วยแผ่นฟองน้ำ (ถ้ามี) ต้องมีผ้าหุ้มหรือปิดทับและเย็บให้เรียบร้อย แน่น ไม่ย้วยหรือหลุดลุ่ยฝีเข็มสม่ำเสมอทั้งนอกและในตัวผลิตภัณฑ์

3.3.3 การเย็บหุ้มริมผ้าหรือกุ้น (ถ้ามี) ต้องเรียบร้อย ประณีต ฝีเข็มสม่ำเสมอทั้งนอกและในตัวผลิตภัณฑ์

3.3.4 การติดกระดุมหรือซิป (ถ้ามี) ต้องเรียบร้อย แน่น และไม่ย่น กรณีเป็นโลหะต้องไม่มีสนิม ขอบคมและปลายแหลม

3.3.5 กรณีที่มีการซับใน (ถ้ามี) ต้องเย็บเรียบร้อย แน่น ไม่หลุดลุ่ยง่าย สีผ้าซับในต้องสีเดียวกันหรือใกล้เคียงกับสีของผลิตภัณฑ์ยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงานการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

3.4 ลวดลาย (ถ้ามี)

ต้องประณีต เรียบร้อย สวยงาม สม่ำเสมอ การต่อลวดลายต้องตรงตามลักษณะของลวดลายการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

3.5 สี (ถ้ามี)

ต้องมีสีสม่ำเสมอ ติดแน่น ไม่ด่าง หลุด ลอก หรือเปรอะเปื้อน ยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงานเมื่อจับหรือสัมผัสแล้วสีต้องไม่ติดมือ กรณีที่ใช้งานซึ่งอาจสัมผัสกับอาหารโดยตรง พื้นผิวด้านในและบริเวณที่สัมผัสกับอาหารต้องไม่ใช้สีการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

3.6 การเก็บริม (ถ้ามี)

ต้องประณีต เรียบร้อย สวยงาม สม่ำเสมอตลอดชิ้นงานการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

3.7 การประกอบหรือตกแต่งด้วยวัสดุอื่น (ถ้ามี)

ต้องประณีต ติดแน่น สวยงาม กลมกลืน และเหมาะสมกับชิ้นงาน รอยต่อต้องไม่แยกออกจากกัน ไม่มีกลิ่นของสารเคมีและรอยเปรอะเปื้อนของสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน ไม่มีขอบคมและปลายแหลมยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน กรณีใช้วัสดุประกอบหรือตกแต่งเป็นโลหะต้องไม่มีสนิม กรณีใช้วัสดุจากธรรมชาติต้องไม่มีราหรือตำหนิที่เกิดจากการทำลายของแมลง กรณีใช้พลาสติกต้องไม่มีเสี้ยนหรือครีบการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

3.8 การเคลือบผิว (ถ้ามี)

ต้องเรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด เป็นคราบ แตก หลุด หรือลอก และไม่ทำให้ชิ้นงานขาดความสวยงามกรณีที่ใช้งานซึ่งอาจสัมผัสกับอาหารโดยตรง พื้นผิวด้านในและบริเวณที่สัมผัสกับอาหารต้องไม่เคลือบผิวการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

3.9 การใช้งาน

ต้องสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานการทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

4. การบรรจุ

4.1 ให้หุ้มห่อหรือบรรจุผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สะอาด แห้ง เรียบร้อย และสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ได้การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ

5. เครื่องหมายและฉลาก

5.1 ที่ฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน

(1) ชื่อผลิตภัณฑ์ (ตามชื่อ มผช.) หรือชื่อที่สื่อความหมายตาม มผช. เช่น ที่รองแก้วจักสานไม้ไผ่ตะกร้าจักสานไม้ไผ่ กระจาดจักสานไม้ไผ่

(2) ขนาดหรือมิติ (ถ้ามี) เป็นเซนติเมตรหรือนิ้ว

(3) กรณีใช้สีธรรมชาติย้อมเส้นตอกให้ระบุ พร้อมส่วนของพืชที่ใช้ เช่น สีแดงจากครั่ง

(4) ข้อแนะนำในการใช้และการดูแลรักษา (ถ้ามี)

(5) ประวัติผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)

(6) เดือน ปีที่ทำ

(7) ชื่อผู้ทำหรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน

ในกรณีใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

6. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

6.1 รุ่น ในที่นี้หมายถึง ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่ทำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน

6.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้

6.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบการใช้งาน การบรรจุ และเครื่องหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน ๕ ตัวอย่าง เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.9 ข้อ 4. และข้อ 5. ทุกรายการ จึงจะถือว่าผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่รุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

6.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป การประกอบ (ถ้ามี) การเย็บ (ถ้ามี)ลวดลาย (ถ้ามี) สี (ถ้ามี) การเก็บริม (ถ้ามี) การประกอบหรือตกแต่งด้วยวัสดุอื่น (ถ้ามี) และการเคลือบผิว (ถ้ามี) ให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 6.2.1 แล้ว จำนวน 5 ตัวอย่าง เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.8 ทุกรายการ จึงจะถือว่าผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่รุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

6.3 เกณฑ์ตัดสิน

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ต้องเป็นไปตามข้อ 6.2.1 และข้อ 6.2.2 ทุกข้อ จึงจะถือว่าผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่รุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้

อ้างอิง

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่.2559 แหล่งที่มา: tcps0040_59(ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่).pdf สืบค้นเมื่อ16 เมษายน 2564

ลิงก์แบบทดสอบ

https://docs.google.com/forms/d/1aZgy2IigTRJCf2biodFnSMTqkFhvoZNF-cf8A4-EPRY/edit

ลิงก์วิดีโอบทความ

อื่นๆ

เมนู