สำหรับการลงพื้นที่ประจำเดือนพฤษภาคมนี้ ข้าพเจ้านาย ธรรมรักษ์ ขลิบกลาง ได้ลงพื้นที่เพื่อไปสอบถามผู้ค้าผลิตภัณฑ์กล้วยในตำบลดงอีจาน โดยศึกษาในส่วนของอุตสาหกรรมปลายน้ำของกล้วยไม่ว่าจะทางด้านการกระจายตัวของสินค้า การทำการตลาดของแบรนด์ (เช่น การสร้างความแตกต่าง การสร้างการรับรู้ในแบรนด์) รวมไปถึงปัญหาและความช่วยเหลือที่ต้องการ เหล่านี้เพื่อที่จะได้ข้อมูลจริงของผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีความแข็งแรงและเติบโตมากขึ้นในอนาคต
สายการผลิต
1.กล้วยเบรกแตก 2.กล้วยปาปริก้า 3.กล้วยอบเนย
4.กล้วยรสเค็ม 5.เผือกอบเนย 6.มันอบเนย
รูปแสดงตัวอย่างสายการผลิต
ช่องทางการกระจายสินค้า
สำหรับการขายผลิตภัณฑ์ประเภทกล้วย รวมไปถึงเผือกและมัน ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าผู้ที่ทำการผลิตจะมีอายุมากแล้วแต่ก็ยังสามารถที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ช่องทางการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันมาใช้เป็นช่องทางการกระจายสินค้าด้วย เช่น ทางแอพพลิเคชั่น Facebook, Instagram, Line, Shopee เป็นต้น รวมไปถึงวิธีดั้งเดิมที่นับว่ามีประสิทธิภาพนั่นก็คือการขายสินค้าที่หน้าร้านพร้อมทั้งมีการบอกปากต่อปาก เหล่านี้จึงทำให้มีลูกค้าเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์แปรรูปของชุมชนดงอีจานเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นขาจรที่อาจแวะเวียนมาเป็นครั้ง
คราว หรือร้านค้าและพ่อค้าคนกลางที่รับสินค้าไปกระจายอีกต่อหนึ่งหรืออาจเป็นขาประจำที่ติดใจในรสชาติของสินค้าของชุมชนจนทำให้วนกลับมาซื้อสินค้าซ้ำเรื่อยๆ
การสร้างความแตกต่าง
ในขั้นตอนนี้เรามุ่งมั่นจะใช้เป็นหนึ่งในหัวใจหลักในการดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆให้มีความสนใจในผลิตภัณฑ์ของตำบลดงอีจาน โดยผลจากการสำรวจคือผู้ผลิตบางรายได้ชูแนวคิดการสร้างความแตกต่างที่แตกต่างกัน เช่น บางรายได้สร้างความแตกต่างโดยการชูว่ากล้วยของตนนั้นถูกปลูกอยู่ในเขตพื้นที่สารน้ำแร่(มีคุณค่ามากกว่ากล้วยปกติ)และอยู่ในพื้นที่ชุดดินภูเขาไฟ เป็นต้น
ปัญหาที่พบและความต้องการความช่วยเหลือ
สำหรับปัญหาหลักที่ผู้ค้าผลิตภัณฑ์จากกล้วยกำลังพบเจอคือผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด 19 ที่ส่งผลต่อลูกค้าขาประจำที่มักจะเป็นลูกค้าจากจังหวัดอื่นเช่น กรุงเทพ ลพบุรีเป็นต้น ทำให้ไม่สะดวกที่จะมารับสินค้าและเกิดความกังวลในเรื่องของความปลอดภัย ทำให้ยอดขายในช่วงที่เกิดการกระจายตัวของโควิดมักจะมียอดขายลดลง(แต่ในช่วงซบเซาของวิกฤตก็สามารถคงตัวของยอดขายได้)
และปัญหาถัดมาคือในเรื่องของการยังไม่ได้รับการรับรองจากส่วนกลางหรือก็คือ อย. ด้วยผู้ผลิตมักจะเป็นในกลุ่มของผู้สูงอายุ ที่ทำการผลิตแบบดั้งเดิมมายาวนานนั่นจึงมักจะประสบในเรื่องของเทคโนโลยีและมาตรฐานของสินค้า
และสุดท้ายในด้านของความต้องการขยายการผลิต ด้วยแนวทางการผลิตแบบดั้งเดิมที่ไม่ตอบโจทย์ต่อปริมาณความต้องการของสินค้าในยามปกติ แต่ทางด้านของผู้ผลิตเองที่คาดแคลนทุนทรัพย์ที่จะซื้อเครื่องจักรราคาแพงมาใช้ในการผลิตสินค้าหรือซื้อรถกระบะเพื่อนำมาใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์