แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์หรือ Creative Economy นั้นเป็นแนวคิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยมีพื้นฐานการพัฒนาตั้งอยู่บนการประยุกต์แนวคิด การใช้องค์ความรู้(Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ทางสังคม และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ เช่น บ้านหนองเงือก จ.ลำพูน ที่มีการผูกภูมิปัญญาพื้นบ้านผ้าทอมือที่มีประวัติความเป็นมาคือแต่เดิมได้ตั้งถิ่นฐานในประเทศเมียนม่าก่อนจะย้ายเข้ามาตั้งรากฐานในไทยภายหลังเพื่อมาดึงดูดการท่องเที่ยวของจังหวัด หรือการตามรอยซีรี่ส์ดังของเกาหลีใต้ เป็นต้น

  โดยสำหรับการส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้หลายช่องทางไม่ว่าจะด้วยการพัฒนาและสร้างประชากรที่มีความคิดสร้างสรรค์ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่เพิ่มขึ้น
เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพใหม่เช่น อาชีพมัคคุเทศก์ งานด้านขนส่ง ช่างฝีมือของท้องถิ่น พนักงานต้อนรับมีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งยังมีการเสริมความแข็งแกร่งแก่นโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้าง สรรค์ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาครัฐต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยผ่านการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการฝึกอบรม ส่วนภาคเอกชนรับผิดชอบในการสนับสนุนตนเอง ให้ข้อมูลในเรื่องที่คลุมเครือ และสร้างเครือข่ายของตนเองในประเด็นปัญหาที่มีร่วมกัน โดยหน่วยงานภาครัฐสามารถประสานงานกับหน่วยงานที่มีอยู่ในเมือง และสร้างประโยชน์ร่วมกันผ่านความคิดริเริ่มของภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศ

 

ภาพสภาพทรัพยากรและครัวเรือนโดยทั่วไปของชุมชนหนองตะไก้

จากการลงพื้นที่สำรวจสภาพชุมชน ทรัพยากรและสำรวจความเป็นอยู่แต่ละครัวเรือนเพื่อมุ่งพัฒนาสู่การเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนหนองตะไก้ตำบลดงอีจาน จังหวัดบุรีรัมย์นั้นทำให้ทราบว่าจุดยืนในปัจจุบันของชุมชนหนองตะไก้ค่อนข้างมีอุปสรรคอย่างมากในการพัฒนาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยสาเหตุหลายประการเช่น ทรัพยากรและพื้นเพดั้งเดิมของชุมชนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาไปสู่รูปแบบนั้นเพราะชุมชนนี้มีแหล่งท่องเที่ยวที่ค่อนข้างน้อยมากๆชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมักประกอบอาชีพรับจ้างเป็นซะส่วนใหญ่ อีกทั้งในด้านของโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ เช่น ถนนที่ยังมีหลุมเป็นจำนวนมากและการเดินทางเข้าในที่ชุมชนนี้ค่อนข้างลำบากอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัด หรือแม้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถไม่เทียบเท่ากับจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังในประเทศไทยได้

  ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มการพัฒนาไปได้ยากในช่วงระยะเวลานี้ แต่อย่างน้อยที่สุดแนวโน้มการพัฒนาที่ดูจะสามารถพัฒนาได้มากที่สุดด้วยความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนดั้งเดิมนั้นคือหันมาทำการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยผูกกับวิถีชีวิตการผลิตและการเกษตรซึ่งในปัจจุบันก็มีบ้างแล้วถึงแม้จะไม่ใช่การท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบแต่อย่างน้อยที่สุดคือการดึงดูดผู้คนจากที่อื่นให้เข้ามาสนใจในชุมชนหนองตะไก้ เช่น การมีบุคคลภายนอกมาดูงานที่สวนยางหนองตะไก้ เป็นต้น

ภาพการลงพื้นที่สอบถามแนวคิด ความเป็นไปในการพัฒนาชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

http://https://www.youtube.com/watch?v=iLTms3aq-04

อื่นๆ

เมนู