ข้าพเจ้านางสาวอัมรา จานรัมย์ ประเภทนักศึกษา ต.ดงอีจาน อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร: โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ยุค 4.0 และยกระดับมาตราฐานสินค้า OTOP โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ 2564  เวลา 09.00-17.00 น. ณ พื้นที่ หมู่ที่ 13 บ้านดงพัฒนา และ หมู่ที่ 4 บ้านดงเจริญ

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่หมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้านได้แก่ บ้านดงพัฒนา หมู่ที่ 13 และ บ้านดงเจริญ หมู่ที่ 4 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของชุมชนตามงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลชุมชนตามแบบฟอร์ม 01 โดย 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล

โดยการลงพื้นที่สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าพบคือชาวบ้านอัธยาศัยดี ชุมชนมีความสะอาด เป็นระเบียบแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของผู้นำและคนในชุมชน ทั้งสองหมู่บ้านประกอบอาชีพทำไร่เป็นหลัก คือการปลูกยางพารา มันสำปะหลัง รับจ้างกรีดยาง และพืชสวน คนในชุมชนให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี และทั้ง 2 หมู่บ้านนี้ยังมีจุดเด่นไม่พอที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้

ปัญหาที่พบคือ หนี้สินจำนวนมากเกิดจากการกู้เพื่อมาลงทุน ต่อยอดทำการเกษตร รายจ่ายมากกว่ารายรับ ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ปัญหาความยากจน ปัญหายาเสพติด และปัญหาการทำการเกษตรที่ไม่มีความรู้มากพอแต่เกิดจากการลองผิดลองถูกทำให้ได้ผลผลิตน้อยและคุณภาพไม่เพียงพอ ทำให้ถูกกดราคาจากพ่อค้า

และในการสำรวจผลกระทบจากโควิด-19 พบว่าผู้นำชุมชนมีการประกาศเสียงตามสายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิดเบื้องต้นเพื่อให้คนในชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด คนในชุมชนมีการป้องกัน เตรียมตัวรับมือและปฏิบัติตามแนวป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม

ทั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเรียบเรียงในเชิงวิชาการต่อไป

อื่นๆ

เมนู