ข้าพเจ้าน.ส.ปิยดา รักพร้า

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 1-18 เมษายน  2564 เวลา 08.30 -17.30 น. ณ หมู่ที่ 9 บ้านดอนพัฒนา

จากการลงพื้นที่พบว่า คนในชุมชน การเลี้ยงแพะ โดยทั่วไปสามารถแบ่งรูปแบบการเลี้ยงได้ 4 แบบ ดังนี้

– การเลี้ยงแบบปล่อย ให้แพะหากินเองตามธรรมชาติและ ผสมพันธุ์เอง มักเลี้ยงบริเวณที่มีหญ้า กลางวันจะต้อนให้อยู่ที่มีร่มเงา มักไม่มีการสร้างคอกหรือโรงเรือน แต่จะปล่อยให้อาศัยตามร่มไม้

– การเลี้ยงแบบผูกล่าม เป็นการผูกล่ามแพะไว้กับที่ อาจเป็น หลักไม้ปักหรือเป็นตอไม้หรือต้นไม้ที่บริเวณโดยรอบมีหญ้าให้แพะ กินเพียงพอ วันหนึ่งอาจมีการย้าย 2-3 จุด เพื่อให้ได้กินหญ้าได้มาก ส่วนตอนเย็นจะย้ายมาขังคอก

– การเลี้ยงแบบกึ่งขังคอก ลักษณะคล้ายการเลี้ยงแบบปล่อย แต่จะสร้างคอกหรือโรงเรือนสำหรับกักขังตอนกลางคืน โรงเรือนมี แต่หลังคาเท่านั้น ตอนเช้าต้อนให้แพะออกหากินตามทุ่งหรือที่มีหญ้า

– การเลี้ยงแบบขังคอกเป็นการเลี้ยงในคอกหรือโรงเรือนตลอดเวลา โดยให้น้ำ และอาหารในคอก แต่อาจมีการปล่อยแพะออกไปหากิน ข้างนอกบ้าง พื้นคอกมักยกสูง และลาดเอียงหรืออาจเป็นพื้นดิน ธรรมดา แต่มักรองพื้นด้วยแกลบ เกษตรกรสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตนเองโดยพิจารณาจากวัตถุดิบ ประสบการณ์จำนวนแพะ จำนวนทุน และสภาพแวดล้อมที่เลี้ยง

จากการสำรวจข้อมูลคนในชุมชนส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพรองส่วนอาชีพหลักจะเป็นการทำเกษตร ควบคู่การเลี้ยงสัตว์

ปศุสัตว์อำเภอได้มีการติดตามและฉีดวัคซีนให้อยู่เสมอ และแนะนำการปฏิบัติขณะมีโรคระบาดให้แก่คนในชุมชน

Tags:

อื่นๆ

เมนู