การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ในครั้งนี้ข้าพเจ้านางสาวจุฑามาศ แซ่อึง เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนธันวาคม ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ปฏิบัติการเก็บข้อมูล CBD ในเขตตำบลทุ่งจังหันในการลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลในเดือนนี้จะมี10หัวข้อดังนี้ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งห้องเที่ยว 3.พี่พัก/โรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.อาหารประจำถิ่น 6.เกษตรกรในท้องถิ่น 7.พื้นในท้องถิ่น 8.สัตว์ในท้องถิ่น 9.ภูมิปัญญาในท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น และนี้คือหัวข้อทั้งหมดที่ข้าพเจ้าจะทีมงานต้องลงพื้นที่ไปสำรวจ เนื่องจากทางตำบลทุ่งจังหันของเรามีขนาดใหญ่และมี2โซน ทางทีมงานของเราจึงจัดแบ่งทีมเราแยกเป็น2ทีมซึ่งทีมที่1จะแบ่งไปโซนทุ่งจังหันเหนือ และทีมที่2จะไปทุ่งจังหันโซนใต้ เพื่อให้การเก็บข้อมูลมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการที่ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ ก็พบว่าในตำบลของเรานั้นมีแหล่งน้ำมากมายหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นโซนเหนือหรือใต้ จึงทำให้ประชากรในตำบลทุ่งจังหันปลุกผัก กล้วย ทุเรียน มันสำปะหลัง และพื้นพันธุ์ต่างๆอีกมากมายหลายชนิด และยังมีการเลี้ยงสัตว์ที่พบเยอะๆเลย ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงวัวและการเลี้ยงแพะ ภูมิปัญญาในท้องถิ่นส่วนใหญ่ชาวบ้านจะท่อผ้าใหม่ตีนแดง ซึ่งเป็นที่นิยมของคนบุรีรัมย์นั้นเอง และในหมู่บ้านยังมีร้านอาหารอร่อยๆมากมาย ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้เห็นภูมิปัญญาและความน่ารักของชาวบ้านในตำบลทุ่งจังหันที่ให้ความร่วมมือในการเข้าไปเก็บข้อมูลและการต้อนรับที่อบอุ่นมากเลยค่ะ
เขียนโดย นางสาวจุฑามาศ แซ่อึง