มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งครอบคลุมทั้งหมด 60 ตำบล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้า นางสาวดวงใจ สายบุตร เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า ได้ดำเนินการสำรวจชุมชนตำบลทุ่งจังหัน เพื่อถ่ายทำคลิปแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวร้านอาหาร จัดทำเพจโปรโมท กิน เที่ยวที่ทุ่งจังหัน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนกันยายน พ.ศ.2564 จากการสำรวจชุมชนตำบลทุ่งจังหัน มีสถานท่องเที่ยว และร้านอาหาร อาทิ เช่น วัด ธนาคารผลผลิตเกษตร ด้านการประมง สระว่ายน้ำโรงเรียนทุ่งจังหัน บ้านทุ่งเศรษฐีทอผ้า ร้านส้มตำ และร้านก๋วยเตี๋ยว ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สถานที่ต่างๆจัดตั้งอยู่ในตำบลทุ่งจังหันทุกสถานที่ปัจจุบันหากให้ชุมชนนิยามตนเองว่าการดำเนินการท่องเที่ยวที่ชาวบ้านจัดทำขึ้นควรเรียกอย่างไร จะพบว่ามีชื่อเรียกถึง ๔ ชื่อด้วยกันในกลุ่มชุมชนที่ทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ แต่ไม่ว่าจะถูกเรียกชื่ออย่างไร เราอาจนิยามความหมายของ “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” ที่ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนได้ดังนี้

– เป็นการท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นเจ้าของ ชาวบ้านในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางและตัดสินใจ

– เป็นการท่องเที่ยวที่ช่วยดำรงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่น สร้างเสริมความภาคภูมิใจในวิถีวัฒนธรรมของตนเอง เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียม

– เป็นการท่องเที่ยวที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนระหว่างคนต่างวัฒนธรรม

– สามารถสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับท้องถิ่น

– เป็นการท่องเที่ยวที่เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น

การท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ได้เกิดจากการตอบคำถามว่า “ชุมชนจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการท่องเที่ยว” แต่เป็นการสร้างโจทย์ใหม่ว่า “การท่องเที่ยวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างไร” ความเป็นจริงอย่างหนึ่งคือ ชุมชนแต่ละแห่งมีศักยภาพไม่เท่ากันและไม่เหมือนกันในการจะพัฒนาไปสู่ “ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” ได้ ชุมชนที่มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา มีวิถีชีวิตแบบชุมชนท้องถิ่นที่แท้จริง มิใช่ปรุงแต่งมาเพื่อการท่องเที่ยว และมีประเพณีท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง สามคุณลักษณะสำคัญนี้สามารถสะท้อนถึงศักยภาพของชุมชนนั้น ๆ ในการพัฒนาไปสู่ “ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” หากกล่าวอย่างสรุปก็คือ ต้องเป็นชุมชนที่มีรากเหง้าและมีความเข้มแข็ง

ศาสนสถาน

เกษตรประมง

กลุ่มวิสาหกิจแม่บ้านทอผ้า

อื่นๆ

เมนู