มาตรฐานการผลิตขั้นต้น หรือ Primary GMP คือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดี ขั้นต้น ในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย เพื่อควบคุม กระบวนการผลิตให้มีมาตรฐาน ลดและขจัดความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจ เกิดจากกระบวนการผลิต โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่อาคาร สถานที่ผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต การคัดสรรวัตถุดิบ กระบวนการผลิต บุคลากร การจัดเก็บผลิตภัณฑ์จนกระทั่งการขนส่งผลิตภัณฑ์ จนถึงมือผู้บริโภค โดยมีหลักการที่สำคัญ 3 ประการได้แก่
- ป้องกันการปนเปื้อนเบื้องต้น
- ลดยับยั้งทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค
- ป้องกันการปนเปื้อนซ้ำหลังการแปรรูป
ผู้ประกอบการผลิตอาหารที่เข้าข่าย ต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตตามมาตรฐานการผลิตขั้นต้น หรือ Primary GMP คือผู้ผลิตอาหารประเภทใด มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ผู้ประกอบการผลิตอาหาร ที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน การผลิตขั้นต้น คือ ผู้ประกอบการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อม จำหน่าย แต่ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการผลิตอาหารแปรรูปฯ ที่เป็นอาหารพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ของกิน ของฝาก เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร OTOP ผลิตภัณฑ์อาหารจากกลุ่มแม่บ้านและเกษตรกรในชุมชน และวิสาหกิจ ชุมชนฯลฯ ที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน คือ สถานที่ผลิตที่มีคนงานน้อยกว่า 7 คน และใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม คำนวณเป็นแรงม้ารวมแล้วได้ น้อยกว่า 5 แรงม้า และผลิตภัณฑ์ยังไม่มีเลขสารระบบอาหาร (เลข อย. หรือเลข 13 หลักในกรอบเครื่องหมาย อย. )โดยกฎหมายมีผลบังคับสำหรับผู้ผลิตหรือนำเข้าอาหารแปรรูปรายใหม่ ทันทีแต่สำหรับผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ที่ได้รับอนุญาตอยู่เดิมนั้นจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป
มาตรฐานการผลิตเบื้องต้น เป็นหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี ขั้นต้น ในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ที่สามารถชี้วัดถึงคุณภาพการผลิตอาหารที่ได้มาตรฐานประกอบด้วย 6 หัวข้อ ดังนี้
1.สถานที่ตั้งและอาคารการผลิต
1.1 สถานที่ตั้งและอาคารการผลิตต้องหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่อการผลิตและผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1.ไม่มีวัตถุอันตรายและสารเคมีที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับกระบวนการผลิต
2.ไม่มีฝุ่นควันมากเกินปกติ
3.ไม่มีน้ำขังแฉะและสกปรก
4.มีท่อหรือทางระบายน้ำนอกอาคารเพื่อระบายน้ำทิ้ง
5.ไม่มีคอกปศุสัตว์หรือสถานเลี้ยงสัตว์รวมถึงสัตว์เลี้ยง
6.ไม่มีการสะสมสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
7.ไม่มีการสะสมสิ่งปฎิกูลหรือขยะที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคต่างๆ
1.2 อาคารผลิตหรือบริเวณที่ผลิต
1.สะอาดถูกสุขลักษณะ
2.มีการระบายอากาศ
3.มีท่อระบายน้ำทิ้ง
4.มีแสงสว่างเพียงพอ
5.มีการแยกบริเวณผลิตอาหารออกเป็นสัดส่วนจากที่พักอาศัย
6.สามารถป้องกันแมลงและสัตว์เข้าสู่บริเวณหรือสัมผัสอาหารได้
- เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
2.1 ติดตั้งอยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายแก่การทำความสะอาด
2.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ รวมถึงพื้นผิวหรือโต๊ะปฏิบัติงาน ที่สัมผัสกับอาหาร ทำด้วยวัสดุ ผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ทนต่อการกัดกร่อน สภาพสะอาด
- การควบคุมกระบวนการผลิต
3.1 วัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆ และภาชนะบรรจุ
- มีการคัดเลือกวัตถุดิบและ ส่วนผสมที่สะอาด มีคุณภาพ
- มีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ตามที่กฎหมายกำหนด
- มีการล้างทำความสะอาด และเก็บรักษาอย่างเหมาะสม
3.2 การขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะ ที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน
3.3 มีการควบคุมกระบวน การผลิตอย่างเหมาะสม
3.4 น้ำและน้ำแข็งที่สัมผัสกับอาหาร ต้องสะอาด บริโภคได้ มีคุณภาพ มาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
3.5 ผลิตภัณฑ์
- มีการคัดแยกหรือ ทำลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม
- มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม และการขนส่งในลักษณะที่ป้องกัน การปนเปื้อนและการเสื่อมสลาย
- การสุขาภิบาล
4.1 น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต หมายถึง น้ำที่ไม่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำสะอาด เช่น น้ำที่ใช้ล้างมือ ภาชนะ เครื่องมือ เป็นต้น
4.2 มีภาชนะสำหรับใส่ขยะพร้อมฝาปิด ตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมและเพียงพอ รวมถึงมีวิธีการกำจัดที่เหมาะสม
4.3 มีการจัดการระบายน้ำทิ้ง และสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ
4.4 ห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้า ห้องส้วมต้องแยกจากบริเวณผลิต หรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
4.5 ห้องส้วมอยู่ในสภาพ ที่ใช้งานได้ สะอาด และมีจำนวนเพียงพอ กับผู้ปฎิบัติงาน
4.6 มีอ่างล้างมือและอุปกรณ์ พร้อมสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและ อุปกรณ์ทำให้มือแห้ง อยู่ในสภาพ ที่ใช้งานได้ เพียงพอ และสะอาด อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
- การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
5.1 มีวิธีการหรือมาตรการดูแลทำความสะอาด อาคารผลิตอย่างสม่ำเสมอ
5.2 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ การผลิต มีการทำความสะอาดอย่าง สม่ำเสมอ และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
5.3 มีการเก็บสารเคมีทำความสะอาด หรือสารเคมีอื่นๆ และต้องมีป้ายแสดงชื่อ แยกให้เป็นสัดส่วนและปลอดภัย
- บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
6.1 ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรค หรือพาหะของโรค ตามที่ระบุในกฎกระทรวง
6.2 ผู้ปฎิบัติงานที่ทำหน้าที่สัมผัสกับอาหารขณะปฎิบัติงาน ต้องปฎิบัติดังนี้ – แต่งกายสะอาด มีเสื้อคลุม ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดจมูก ถุงมือ เป็นต้น
6.3 มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ ในบริเวณผลิตอย่างเหมาะสม
6.4 ไม่สวมใส่เครื่องประดับ
6.5 มือและเล็บต้องสะอาด
6.6 ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนเริ่มปฎิบัติงาน
6.7 มีการสวมหมวกตาข่ายหรือผ้าคลุมผมอย่างดอย่างหนึ่งตามความจำเป็น
6.8 มีการแสดงคำเตือนห้ามมิให้บุคคลใดแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในสถานที่ ผลิตอาหาร เช่น สูบบุหรี่ บ้วนน้ำลาย เป็นต้น
6.9 มีวิธีการหรือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้อง เข้าไปในบริเวณผลิต เช่น ผู้เยี่ยมชม เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข