มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งครอบคลุมทั้งหมด 60 ตำบล ในจังหวัด บุรีรัมย์ ข้าพเจ้า นางสาวดวงใจ สายบุตร เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า ได้ดำเนินการสำรวจ หมู่บ้านไทรงาม ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 จากการสำรวจประชาชนผู้รับการฉีดวัคซีน sinovac เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
โควิด-19 กลุ่มเป้าคือแม่ค้าในชุมชน พบว่า นางสำราญ นาคสวัสดิ์ อายุ 55 ปี มีการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน ดังนี้
1.ไม่อดนอน พักผ่อนให้เพียงพอ
2.เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และชา-กาแฟ
3.ต้องไม่มีอาการไข้หรืออาการเจ็บป่วย
- 2 วันก่อนฉีดและหลังฉีดงดการออกกำลังกายอย่างหนัก
- ถ้ามีโรคประจำตัวควรแจ้งแพทย์ก่อนรับการฉีดวัคซีน
และการปฏิบัติตนเบื้องตนขณะที่ไปรับวัคซีน sinovac และหลังฉีดวัคซีน
1.ก่อนออกจากบ้านอย่าลืม
2.บัตรประชาชน วันเวลานัดการฉีดวัคซีน
3.รักษามาตรการป้องกัน พื้นฐานอย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
4.สวมใส่เสื้อแขนสั้นหรือเปิดบริเวณต้นแขนแขนได้ง่าย
5.วันที่ฉีดวัคซีนควรดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1,000 มิลลิลิตร ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด และหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก หลังฉีดแล้วเจ้าหน้าที่ จะให้รอดูอาการใน บริเวณที่ฉีดระยะเวลาประมาณ 30 นาที
6.ถ้ามีไข้ หรือปวดเมื่อยมาก สามารถทานยา พาราเซตามอลขนาด 500 มก. ครั้งละหนึ่งเม็ด ซ้ำได้ถ้าจําเป็น แต่ให้ห่าง 6 ชั่วโมง ห้ามทานยากลุ่มพวก NASIADs เช่น Ibuprofen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด
7.การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด19 ควรห่าง กับวัคซีนป้องกัน โรคไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อย 1 เดือน
8.ถ้ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ก็ให้กินยาตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้ว ให้กดนิ่งตรงตําแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที
ดังที่กล่าวมาเบื้องต้น นางสำราญ นาคสวัสดิ์ พบว่า ได้รับผลกระทบจากการรับวัคซีน sinovac คือ 3-4 วันหลังฉีดมีอาการปวดเมื่อย ชาตามตัว แขนขาอ่อนแรง เนื่องจากผู้รับวัคซีนมีโรคประจำตัวไมเกรน
ภาพขณะสัมภาษณ์ผู้ได้รับวัคซีน sinovac