เมื่อในวันที่ 6 มีนาคม 2564 ที่ผ่านข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ในหมู่บ้านทุ่งพัฒนา ตำบลทุ่งจังหัน ขังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นวันที่ชุมชนมีประเพณีประจำปีนั้นก็คือ ประเพณีบุญผะเหวด ซึ่งจะจัดทำบุญผะเหวด ปีละ1 ครั้ง ระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงกลางเดือน 5 ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ 1 ถึงกัณฑ์สุดท้าย การจัดงานบุญผะเหวด หรือ งานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุต มาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง และให้โชค ลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทำบุญมหาชาติ

เป็นงานบุญประเพณีที่สื่อให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจ ร่วมรักสามัคคีของคนในชุมชนมาแต่โบราณกาล ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ใน 4 ด้าน คือ

1)ทางด้านจริยธรรม ประชาชนประพฤติตนดีงาม

2 ) ด้านพฤติกรรม มีการแสดงออกทางกาย วาจา ใจดีขึ้น

3) ด้านการศึกษา ประชาชนมีความรู้ดีขึ้น

4) ด้านคุณภาพชีวิต

คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นอันเป็นผลมาจากความสามัคคี สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นได้จากงานบุญผะเหวดนั่นก็คือ การสร้างงานศิลปะ อันสื่อให้เห็นถึงความละเมียดละไมทางจิตใจของผู้สร้างสรรค์งานศิลป์ เพราะศิลปะเปรียบดังภาษาที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน บ่อเกิดของ อารยะธรรมแหล่งต่าง ๆ ของมนุษยชาติต่างก็มีแนวโน้มที่ให้อิทธิพลสืบต่อกันมาอย่างไม่จบสิ้น

อื่นๆ

เมนู