มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ซึ่งครอบคลุมทั้งหมด 60 ตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้านางสาวอังคณา ดวงดี เจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนิน การสำรวจกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกกล้วยในตำบลทุ่งจังหัน โดยได้ลงพื้นที่ร่วมกับทีมต้นน้ำที่รับผิดชอบงานในด้านของการสำรวจการเพาะปลูกกล้วยของเกษตรกรโดยได้ทำการสำรวจตั้งแต่การเริ่มปลูก การดูแลการเก็บเกี่ยว ปัญหา การขาย และเรื่องของราคา เป็นต้นซึ่งอยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพ ตลอดห่วงโซ่การผลิตและแปรรูปกล้วย ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร มีรายได้เพิ่มขึ้น
โดย ได้ลงพื้นที่สำรวจสวนกล้วยของนายเกือบ เกิดประโคน บ้านทวีทรัพย์ ตำบลทุ่งจังหัน พื้นที่การเพาะปลูก 2 ไร่ ซึ่งได้ปลูกบริเวณริมถนน และในสวน ซึ่งบริเวณที่เพาะปลูกนั้นไม่เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ดินมีแร่ธาตุมากเพราะน้ำ ในบริเวณดังกล่าวเป็นน้ำแร่ โดยได้ปลูกกล้วยรวมแล้วประมาณ 190 ต้น สองสายพันธุ์คือ กล้วยพันธุ์น้ำหว้า 150 ต้น และกล้วยพันธุ์หอมทอง 30-40 ต้น ปัญหาการปลูกกล้วยที่พบเจอนั้น คือปัญหาการขาดน้ำ กล้วยมีใบเหลือง และหากฝนตกหนักน้ำเยอะกล้วยก็เป็นใบเหลือง โดยวิธีการแก้ปัญหาคือถากทิ้ง และมีปัญหาลมแรงทำให้ต้นล้ม ใบแตก เป็นต้น ในส่วนการปลูกนั้นก่อนที่จะทำการปลูกกล้วยได้มีการเตรียมหน่อ รองพื้นด้วยปุ๋ยคอก การให้น้ำนั้นก็จะให้เป็นบางครั้งส่วนใหญ่จะปล่อยตามธรรรมชาติเมื่อได้ผลผลิตก็จะตัดมาขาย ส่วยตลาดทีส่งขายนั้น ส่วนใหญ่จะขายให้พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อ 50 เปอร์เซ็นต์ ขายหน้าร้านของตนเอง 30 เปอร์เซ็นต์ และขายให้กลุ่มแปรรูปกล้วย 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนราคานั้นก็จะขึ้นอยู่กับฤดูกาลหากเป็นหน้าฝนกล้วยก็จะมีราคาถูก แต่ถ้าเป็นหน้าร้อนกล้วยจะมีราคาแพง เป็นต้น
ทั้งนี้ในการสำรวจแหล่งปลูกกล้วยนั้น ถือได้ว่าตำบลทุ่งจังหันเหมาะแก่การทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่งและเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกกล้วยด้วย