รู้หรือไม่ว่าก่อนที่จะมาใช้คำว่า”ประโคนชัย”เดิมคือ”เมืองตะลุง” คำว่า ตะลุง หมายถึง เสาใหญ่หรือเสาหินสำหรับผูกช้าง   (ซึ่งเชื่อกันว่ารัชกาลที่๑ ทรงผูกช้าง ณ บริเวณอำเภอประโคนชัย)

ประวัติความเป็นมาของอำเภอประโคนชัย

เดิมคือเมืองตะลุง อยู่ที่บ้านตะลุงเก่า ตำบลโคกม้า และอพยพย้ายมาอยู่บริเวณเนินกลางทุ่งประโคนชัย และก่อตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2440 เป็นชัยภูมิเหมาะแก่การตั้งเมือง มีคลองน้ำธรรมชาติได้แก่ห้วยตะโก และห้วยด้ามมีดล้อมรอบเนินบริเวณนี้ คำว่า “ตะลุง” หมายถึง เสาใหญ่ หรือ เสาหิน สำหรับผูกช้าง (ซึ่งเชื่อกันว่า ร.1 ทรงผูกช้าง หลังกลับจากการทำสงครามกับเขมร ณ บริเวณวัดโคน อำเภอประโคนชัย) เมื่อ ร.ศ.116 เมืองตะลุงได้ตั้งเป็นอำเภอชื่อ อำเภอประโคนไชย[1] ในปี 2460 เปลี่ยนเป็น อำเภอตะลุง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น อำเภอประโคนชัย คำว่าประโคนชัย เพี้ยนมาจากคำว่า “ปังกูล” ในภาษาเขมรที่แปลว่า เสาหิน ในปี 2482 ปัจจุบันอำเภอประโคนชัย ครบรอบ 120 ปีในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 และ คำว่า “ประโคน” ยังเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายนามสกุล เป็นต้นกำเนิดนามสกุลคนประโคนชัย และยังเป็นคำต่อท้ายนามสกุลที่ใช้มากที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย

 ที่ตั้งและอาณาเขต                                                                                                                                   

อำเภอประโคนชัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสองห้อง ตำบลเมืองฝาง ตำบลเสม็ด ตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และตำบลสำโรง  ตำบลสะเดา ตำบลจันดุม ตำบลป่าชัน อำเภอพลับพลาชัย

ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลทุ่งมน ตำบลตานี อำเภอปราสาท (จังหวัดสุรินทร์)

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเขาดินเหนือ ตำบลหินลาด ตำบลบ้านกรวด ตำบลหนองไม้งาม ตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด  และตำบลตาจง อำเภอละหานทราย

ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลยายแย้มวัฒนา ตำบลตาเป๊ก ตำบลอีสานเขต อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งการปกครองออกเป็น 17 ตำบล

1.เทศบาลตำบลประโคนชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลประโคนชัย

2.เทศบาลตำบลแสลงโทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสลงโทนทั้งตำบล

3.เทศบาลตำบลโคกม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกม้าทั้งตำบล

4.เทศบาลตำบลเขาคอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาคอกทั้งตำบล

5.องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไทรทั้งตำบล

6.องค์การบริหารส่วนตำบลละเวี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละเวี้ยทั้งตำบล

7.องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้มาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจรเข้มากทั้งตำบล

8.องค์การบริหารส่วนตำบลปังกู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปังกูทั้งตำบล

9.องค์การบริหารส่วนตำบลโคกย่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกย่างทั้งตำบล

10.องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไพศาลทั้งตำบล

11.องค์การบริหารส่วนตำบลตะโกตาพิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะโกตาพิทั้งตำบล

12.องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบอนทั้งตำบล

13.องค์การบริหารส่วนตำบลโคกมะขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกมะขามทั้งตำบล

14.องค์การบริหารส่วนตำบลโคกตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกตูมทั้งตำบล

15.องค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประทัดบุทั้งตำบล

16.องค์การบริหารส่วนตำบลสี่เหลี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสี่เหลี่ยมทั้งตำบล

แหล่งท่องเที่ยวและประเพณี

ปราสาทบ้านบุ

ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ ตำบลจระเข้มาก การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับทางไป ปราสาทเมืองต่ำ โดยปราสาทบ้านบุจะอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 2221 ห่างจากทางแยกเข้าปราสาทเมืองต่ำไปทางประโคนชัย 1.5 กม.

ปราสาทเมืองต่ำ

ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2478 และได้เข้ามาทำการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2539 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งปราสาทหินเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ศิลปะขอมโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17 มีลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลงอันเดียวกัน เรียงเป็น 2 แถวตามแนวทิศเหนือใต้ แถวหน้า 3 องค์ องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์อื่น ส่วนแถวหลังมีปรางค์อิฐจำนวน 2 องค์ วางตำแหน่งให้อยู่ระหว่างช่อง ของปรางค์ 3 องค์ ในแถวแรก ทำให้สามารถมองเห็นปรางค์ทั้ง 5 องค์ พร้อมกันโดยไม่มีองค์หนึ่งมาบดบัง ซึ่งเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากปราสาทแห่งอื่นๆ ที่จะมีปรางค์องค์ใหญ่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยปรางค์ขนาดเล็กกว่าทั้ง 4 มุม ปรางค์ประธาน ปัจจุบันมีสภาพให้เห็นเฉพาะฐานเท่านั้น โดยมีผนังเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมขนาด 7 x 7 เมตร โครงสร้าง โดยรวมนั้นมีลักษณะ เหมือนกับปรางค์บริวารทั้ง 4 องค์ จะต่างกันก็เพียงแต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้า ส่วนปรางค์บริวารไม่มี ปรางค์ประธานจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเป็นด้านที่มีประตูเข้าสู่ภายในองค์ปรางค์เพียงด้านเดียว ส่วนที่เหลืออีก 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกนั้น ทำเป็นรูปประตูหลอก จากการขุดค้นเพื่อทำการบูรณะ ปราสาทเมืองต่ำของกรมศิลปากร ได้ขุดพบหน้าบันและทับหลังของมุขปราสาทปรางค์ประธานทำจากหินทราย หน้าบันจำหลักเป็นรูปพระอินทร์ประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาสนะ คือ นั่งชันเข่าขวาขึ้น ขาซ้ายพับ เหนือช้างเอราวัณสามเศียรในซุ้มเรือนแก้วอยู่บน หน้ากาล ลักษณะของซุ้มหน้าบันนี้ เป็นศิลปะเขมรแบบบาปวน มีอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาททั้ง 5 จะล้อมรอบด้วยระเบียงคดซึ่งมีทับหลังและซุ้มประตูแกะสลักด้วยหินทรายอย่างงดงาม มีสระน้ำ หรือบาราย กรุด้วยศิลาแลง ทั้ง 4 ทิศ มุมสระมีพญานาคหินทราย 5 เศียร ทอดตัวยาวรอบขอบสระน้ำ ชั้นนอกปราสาทมีกำแพงศิลาแลงอีกชั้น

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน

ห่างจากตัวอำเภอประโคนชัยเพียง 3กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย ประโคนชัย – บุรีรัมย์ เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์ที่ สวยงาม เป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบินเก่า มีพื้นที่ประมาณ 3,568 ไร่ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้เป็นที่จอดเครื่องบินเพื่อส่งเสบียงอาหาร และเมื่อสงครามยุติทางราชการจึงให้พื้นที่นี้เป็นสาธารณประโยชน์ และที่พักผ่อนของชาวอำเภอประโคนชัย มีนกน้ำชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พบนกที่หาได้ยากในธรรมชาติ ได้แก่ นกอ้ายงั่ว ห่านเกรย์เลกหรือห่านเทาปากสีชมพู นกกาบบัว นกเป็ดหงษ์ เป็ดดำหัวดำ ฯลฯ เป็นแหล่งดูนกน้ำที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติ

เมืองโบราณแสลงโทน

เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในเขตบ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 2445 สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงตัดผ่ากลางชุมชนโบราณ มองเห็นคันดินเป็นแนวสูงประมาณ 5-7 เมตร อยู่สองข้างทาง เมืองโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็นรูปกลมรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก มีพื้นที่ในเขตเมืองโบราณโดยประมาณทั้งสิ้น 1.19 ตารางกิโลเมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดิน 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายเข้าใจว่าเคยมีศาสนสถาน แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เทวรูปเก่าและใบเสมาเก่า ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ

ประเพณีแห่เทียนพรรษาประโคนชัย

ความเป็นมาของงานแห่เทียนเข้าพรรษาของอำเภอประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ มีความเป็นมาช้านานกว่า78ปี ช่วงแรกเริ่มจะเป็นการแห่เทียนพรรษาโดยเกวียนก่อนจะแทนที่ด้วยโดยกระบะ แล้วมาเป็นรถ6ล้อหรือ10ล้อ จนปัจจุบันได้กลายมาเป็นรถห้วตัด ช่วงแรกรางวัลชนะเลิศจะเป็นน้ำมันก๊าช1ปี๊ป แห่เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ช่วงหลังมานี้เริ่มมีการแข่งขันกันสูงแต่ยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอำเภอประโคนชัยไว้ ว่ากันว่างานแห่เทียนเข้าพรรษาอำเภอประโคนชัยเที่ยบชั้นงานแห่เทียนระดับประเทศ จากการจัดอันดับของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยกให้งานแห่เทียนพรรษาอำเภอประโคนชัยยิ่งใหญ่เป็นอันดับ3ของประเทศ รองจากงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่ จ.อุบลราชธานี และงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่ จ.นครราชสีมา

ประเพณีแห่ตาปู่แสลงโทนและประเพณีสงกรานต์โบราณแสลงโทน

เป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมาเป็น 100 ปี ซึ่งพิธีบูชาศาลเจ้าพ่อแสลงโทน หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่าตาปู่ หรือ กระท่อมเนี๊ยะตา จัดขึ้นในช่วงประมาณเดือน เม.ย. – พ.ค. ของทุกปี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ ให้แก่ชาวบ้านรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับการเกษตรในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกในแต่ละปี เพื่อบันดาลให้ฝนตกมา น้ำท่าอุดมสมบูรณ์และอยู่เย็นเป็นสุข โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญเจ้าพ่อแสลงโทนหรือตาปู่ แห่รอบตัวหมู่บ้าน 3 วัน พร้อมทั้งมีการละเล่นที่สนุกสนานผนวกรวมกันกับประเพณีสงกรานต์โบราณ

อุทยานน้ำหนองระแซซัน

เป็นบึงน้ำและสวนสาธารณะขนาดใหญ่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนในพื้นที่ เส้นทางโดยรอบเปิดตลอด 24 ชั่วโมง พื้นที่ออกกำลังที่เกาะกลางบึง จะเปิดปิดเป็นเวลา เช้าและเย็น หรือ หากมีการใช้สถานที่เพื่อจัดกิจกรรม เส้นทางรอบบึงน้ำ มีความร่มรื่น โดยรอบมีร้านอาหาร

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน อำเภอประโคนชัยยังไม่หยุดพัฒนา พัฒนาในเรื่องการเกษตร กลุ่มOTOP กลุ่มท่องเที่ยว  กลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน กุ้งจ่อม,กระยาสารท เป็นของขึ้นชื่อของอำเภอประโคนชัย ประเพณีแห่เทียนพรรษาประโคนชัย แห่เทียนยิ่งใหญ่ 1ใน 3 ของประเทศ

อ้างอิง                                                                                                                                                                                         

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 27 หน้า 993 [1]Flag map of Thailand.svg บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย                        https://th.m.wikipedia.org/wiki

อ้างอิงรูปภาพ                                                                                                                                  https://www.google.com/search

อื่นๆ

เมนู