โคกหนองนา โมเดล
เป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเรื่อการจัดการน้ำ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร โดยมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน
ดังนี้ แหล่งน้ำ 30% ทำนา 30% ปลูกข้าว 30% ที่อยู่อาศัย 10%
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
นาย มนตรี เปียดประโคน เป็นเจ้าของโคกหนองนาโมเดล จากการที่ข้าพเจ้าสอบถามข้อมูลจากนายมนตรี นายมนตรีบอกว่า พัฒนาชุมชนได้หาครัวเรือนที่จะสมัครเข้าไปในโครงการพัฒนาชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร เขาก็ได้จัดสรรงบประมาณมาให้ ในตอนนั้นจะเป็นหมู่บ้านละ 1 คน แต่ก่อนจะลงมือทำ ได้ไปอบรม 5 วัน 4 คืน ที่จังหวัดนครราชสีมา นายมนตรีได้จัดสรรพื้นที่ในการทำ 3 ไร่ แบบมาตรฐาน 1 : 3 ทำมาแล้ว 1 ปี ได้ทำการปลูกข้าว ปลูกป่า ปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ นายมนตรีได้ทำการขุดหนองเพื่อเอาไว้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงด้วย ผลที่ได้ก็คือ ช่วยให้เราประหยัดมากขึ้น เพราะสามารถปลูกพืชต่างๆไว้ในพื้นที่ และสามารถใช้สอยได้ครอบคลุมทุกปัจจัย ช่วยลดความตึงเครียดด้านเศรษฐกิจ ลดความกังวลเรื่องรายรับในช่วงที่ติดขัดต่างๆได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังไม่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม หรือความแห้งแล้งภายในพื้นที่ และพื้นที่บางส่วนได้ปลูกหญ้าเอาไว้ให้วัวกินได้ แต่พึ่งจะปลูกต้นไม้ได้ 1 ปีส่วนผลผลิตยังไม่ได้เยอะไม่เท่าไหร่
ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะทำโคกหนองนา ก็คือ การทำโคกหนองนานั้นจะต้องมีความขยัน อดทน สู้แดด และต้องทำเอง เราจะได้รู้ว่าผลผลิตของเราเป็นอย่างไร อย่างบางคนเขาจ้างคนมาช่วยทำ แบบนี้ก็ไม่ขอแนะนำ
จากการศึกษาข้อมูลโคกหนองนาโมเดล ทำให้ทราบว่า การกักเก็บน้ำนี้สำคัญมากในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ช่วยในเรื่องเศรษฐกิจ หากไม่มีโคกหนองนา อาจทำให้เกิดภัยแล้งหรือน้ำท่วมภายในพื้นที่ได้