- ข้าพเจ้า นางสาวจริยา หมายบุญ ประเภทประชาชน ตำบลกระสัง
หลักสูตร ID 10 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชุน ตำบลกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในการทำงานของเดือน พฤษภาคม กลุ่มของข้าพเจ้าได้เข้าสำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิตสบู่สมุนไพร เพื่อทราบถึงประวัติความเป็นมาและการริเริ่มในการทำสบู่สมุนไพร
นางประเทือง แกจะสน (ภรรยาผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านกระสัง ) แกนนำในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ
นางประเทือง แกจะสน อายุ 56 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ 1 บ้านกระสัง ตำบลกระสัง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันทำอาชีพรับจ้างทำศาลพระภูมิและงานทั่วไปจากโครงการส่งเสริมอาชีพของภาครัฐ พี่ประเทืองจึงเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านที่สนใจมาสร้างกลุ่มอาชีพ นั้นก็คือ “สบู่สมุนไพร”
- ในพื้นที่ตำบลกระสัง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอะไร
อาชีพในเขตตำบลกระสัง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง อาชีพรองลงมา คือ อาชีพเกษตรกร ทำนา, ทำสวน , ทำไร่ และค้าขาย
- ความคิดริเริ่มในการจัดตั้งกลุ่มอาชีพทำสบู่สมุนไพร
เนื่องจากภาครัฐมีโครงการส่งเสริมอาชีพโดยมีพัฒนากรชุมชนเป็นผู้ดำเนินงาน พี่ประเทืองเห็นว่าบ้านกระสังเคยทำสบู่ ซึ่งมีอาจารย์ผกา เบญจกาญจน์ อาจารย์จากมหาวิทยาราชภัฏบุรีรัมย์ท่านเป็นคนในพื้นที่บ้านกระสัง หมู่ 12 เป็นผู้ให้ความรู้และฝึกทักษะการทำสบู่มาก่อน จึงเสนอพัฒนากรชุมชนในการทำสบู่สมุนไพร
- วัตถุดิบในการทำสบู่สมุนไพร มีดังนี้
- แม่พิมพ์ทำสบู่
- กลีเซอรีน หรือ เกล็ดสบู่ ( 1,000 กรัม )
- น้ำมันหอมระเหย ( 10 ซีซี )
- แอลกอฮอล์เช็ดแผล
- พลาสติกซีนสบู่
- หม้อสองชั้นทนความร้อน
- สีใส่สบู่
- สมุนไพร ( ขมิ้น, ว่านหางจระเข้, ตะไคร้, มะขามเปียก, น้ำผึ้ง )
- ขั้นตอนในการทำสบู่สมุนไพร
ขั้นตอนการทำง่ายไม่ยุ่งยาก แต่หากผสมผิดก็ทำให้สบู่ไม่ขึ้นรูปเป็นก้อน จึงต้องระมัดระวังในการผสมสูตร โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ละลายกลีเซอรีนในหม้อสองชั้น ตัดชิ้นส่วนของกลีเซอรีนให้มากเท่าปริมาณที่จะใส่ลงไปในแม่พิมพ์ที่ซื้อมาให้พอ แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ละลายได้ง่ายขึ้น แล้วใส่กลีเซอรีนชิ้นเล็กๆ ลงไปในหม้อสองชั้น เติมน้ำลงไปในหม้อชั้นล่างแล้วอุ่นด้วยไฟกลางจนกว่ากลีเซอรีนจะละลายทั้งหมด
2.ผสมน้ำมันหอมระเหยลงไป หยดน้ำมันลงไปเพียงแค่สองสามหยดก็พอ เพราะว่ามันมีความเข้มข้นมาก แค่นิดเดียวก็เอาอยู่แล้ว จากนั้นใช้ช้อนไม้ค้นให้หยดน้ำมันผสมผสานเข้ากับกลีเซอรีน หลังจากนั้นค่อยยกหม้อขึ้นออกจากเตา
3.เตรียมแม่พิมพ์สบู่. เตรียมไว้บนพื้นผิวเรียบและรองด้วยกระดาษด้านล่าง ใช้ขวดสเปรย์ที่จุแอลกอฮอล์ล้างแผลฉีดในแม่พิมพ์เบาๆ ให้ปกคลุมส่วนที่จะเทกลีเซอรีนลงไป แอลกอฮอล์จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดฟองอากาศที่จะเกิดในสบู่ในขณะที่มันกำลังเย็นและแห้ง ถ้าคุณไม่ใช้แอลกอฮอล์ ก็จะได้สบู่ที่มีฟองอากาศเป็นชั้นๆ เลย
4.รินสบู่ลงไป ยกหม้อชั้นที่สองขึ้นมาและค่อยๆ เทสบู่ลงในแม่พิมพ์ โดยเทให้ถึงขอบแม่พิมพ์ไปเลย ระวังอย่าเทเร็วเกินไป ไม่เช่นนั้นสบู่อาจออกมารูปร่างแปลกๆ ก็เป็นได้
5.ฉีดแอลกอฮอล์เพิ่มอีก ใช้ขวดสเปรย์ฉีดลงสบู่อีกครั้งหลังจากที่เทสบู่ลงไปในแม่พิมพ์ ในขณะที่สบู่ยังอยู่ในสถานะของเหลวอยู่ วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดฟองอากาศในสบู่ด้านเรียบเช่นกัน
6.ปล่อยให้สบู่เย็นตัวลง และแกะมันออกมา ทิ้งให้สบู่เย็นตัวในแม่พิมพ์ประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง จนกว่าจะแข็งตัวทั้งหมด แล้วแกะออกมาจากพิมพ์ด้วยการกลับด้านแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้สบู่จากกลีเซอรีนของคุณเอง
อ้างอิง : https://th.wikihow.com
- สบู่กลีเซอรีน 1 กก. ทำสบู่ได้กี่ก้อน
เริ่มต้นเลยต้อง “รู้” ก่อนว่าสบู่ที่ทำนั้นน้ำหนักสบู่กี่กรัม นั่นหมายถึงต้องมีแม่พิมพ์ก่อนแล้ว ต้องรู้ด้วยว่า ปกติที่ขายใช้แม่พิมพ์ทำสบู่กี่กรัม เช่น แม่พิมพ์ วงรี 50 กรัม นั่นหมายความว่าคุณจะทำสบู่ได้น้ำหนักโดยประมาณ 50 กรัม บวกลบ ไม่เกิน 5 กรัม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ กับ “มือคนเท” เทไม่ถึงขอบ น้ำหนักก็หาย อาจเหลือแค่ 45 กรัม เทล้นน้ำหนักก็เกินได้และถ้าคุณใส่ผงสมุนไพรก็ทำให้น้ำหนักเปลี่ยนได้ เมื่อทราบน้ำหนักแล้ว มาถึงขั้นตอนการคำนวณว่า “สบู่ 1 กก. หรือ 1000 กรัม” ทำสบู่ได้ กี่ก้อน นำน้ำหนักของเบสสบู่ 1000 กรัม หาร น้ำหนักของสบู่ถ้าสบู่ขนาด 50 กรัม จะทำสบู่ได้ 20 ก้อน โดยประมาณยังไม่รวมส่วนผสมอื่นๆ ที่ใส่เข้าไปและส่วนที่ติดภาชนะ หรือ เทเกิน เทไม่เต็ม
- ต้นทุนในการผลิตสบู่สมุนไพร
พี่ประเทืองบอกถึงต้นทุนในการผลิต เช่นการทำสบู่ 100 ก้อน ต้นทุนจะอยู่ที่ 1,800-2,000 บาท ขายก้อนละ 15 บาท ทำให้ขาดทุน จึงอยากให้ช่วยพัฒนาหรือส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าให้สูงกว่านี้ เพราะการใช้สมุนไพรมีข้อดีหลายอย่าง การนำเสนอหรือรูปแบบอัตลักษณ์ยังไม่เป็นที่น่าสนใจหรือแตกต่างจากสบู่ในท้องตลาดทั่วไป
![]() |
![]() |
รูปสินค้าที่ผลิต | รูปตัวอย่างที่ต้องการพัฒนา |
- ข้อดี – ข้อเสีย ในการทำสบู่สมุนไพร
ข้อดี | ข้อเสีย |
1.เป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว | 1.ต้องหาช่องทางในการจำหน่าย ไม่มีตลาดรองรับ |
2.เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรท้องถิ่น | 2.ต้องสร้างอัตลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยไม่ให้ขาดทุน |
3.สร้างความสามัคคีในชุมชน | 3.กลุ่มผู้ผลิตขาดความเชื่อมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ไม่กล้าขาดสินค้า |
4.นำผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรมาใช้ในครัวเรือนสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ |
- เป้าหมายในการส่งเสริมอาชีพการทำสบู่สมุนไพร
สามารถผลิตและพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์สบู่จากสารพืชสมุนไพร เพื่อเพิ่มรายได้และเป็นประโยชน์ในการพึ่งพาตนเอง เกิดการรวมกลุ่มในชุมชน และเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับพืชสมุนไพรในท้องถิ่นในอนาคตต่อไป
- รัฐบาลมีส่วนร่วมสนการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพอย่างไร
รัฐบาลมีโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมกลุ่มอาชีพ จึงให้พัฒนากรชุมชนสำรวจกลุ่มอาชีพและส่งเสริมในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มเติมความรู้แนะนำขั้นตอน วิธีการทำเทคนิคต่างๆ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เข้ารับการอบรม และนำไปฝึกปฏิบัติด้วย
จากการสัมภาษณ์พี่ประเทืองจึงทราบถึงเป้าหมายในการสร้างกลุ่มอาชีพ เพื่อเกิดรายได้ให้กับคนในชุมชนไม่มากก็น้อย โดยการนำความรู้ ขั้นตอน วิธีทำ และเทคนิคต่างๆ ไปพัฒนาหรือต่อยอดเสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัว สุดท้ายนี้ขอขอบคุณพี่ประเทือง แกจะสน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ครั้งนี้