ดิฉัน นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลสวายจีก
โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
หลักสูตร : MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
คณะทำงานได้แก่
1. นางสาวธัญญลักษณ์ ปลงใจ
2. นางสาวกิตติยา เหิมฉลาด
3. นายคฑาวุธ บุตรสุด
ได้รับมอบหมายงานให้รับผิดชอบลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ.
1. หมู่ที่ 9 บ้านหนองปรือน้อย มีจำนวน 186 ครัวเรือน
2. หมู่ที่ 14 บ้านสวายจีก มีจำนวน 166 ครัวเรือน
3. หมู่ที่ 15 บ้านโคกเปราะ มีจำนวน 118 ครัวเรือน
รวม มีจำนวน 470 ครัวเรือน
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 คณาจารย์ และคณะทำงานที่เข้าร่วมโครงการทุกท่านได้ทำความรู้จักแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันและร่วมประชุมวางแผนแนะแนวทางการทำงาน ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนเป้าหมายและแบ่งกลุ่มการทำงานเพื่อมอบหมายหน้าที่และเป็นไปตามขอบข่ายการทำงานของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 คณาจารย์ และคณะทำงานที่เข้าร่วมโครงการรับเอกสารข้อมูลแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน(01)และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19(02) เพื่อนำไปสำรวจข้อมูลในชุมชนที่ตนรับผิดชอบ
เริ่มลงพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ณ. หมู่ 15 บ้านสวายจีกโดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนและชุมชน (01) และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด 19 (02) ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างดีบริบทของชุมชนน่าอยู่มีอาชีพหลักคือการทำการเกษตรอาชีพเสริมคือ การทำน้ำปลาร้า ขนมจีนและจักรสานบางชนิด ผู้นำชุมชนมีการวางแผนที่จะทำแลนด์มาร์คจุดเช็คอินของชุมชนบริเวณสระน้ำประจำหมู่บ้าน
ต่อมาได้ลงพื้นที่นะหมู่ 9 บ้านหนองปรือน้อยโดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนและชุมชน (01) และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด 19 (02) ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างดี บริบทในชุมชนน่าอยู่มีการปลูกต้นไม้อย่างหลากหลายชุ มชนแยกกันออกเป็นกลุ่มๆ อาชีพหลักคือการทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน อาชีพเสริมคือ การปลูกฝรั่ง ซึ่งฝรั่งส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นพันธุ์กิมจู ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชนและยังมีชมพู่ซึ่งมีซึ่งเป็นผลไม้ที่มีจำนวนมากในชุมชน ชาวบ้านในชุมชนมีความต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยจัดเสริมความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปฝรั่งซึ่งเป็นผลไม้ที่ชุมชนมีอยู่เป็นส่วนใหญ่
หมู่บ้านสุดท้ายได้แก่หมู่ที่ 15 บ้านโคกเปราะโดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลและครัวเรือนและชุมชน 01 และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด 19 (02) ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างดีบริบทของชุมชน น่าอยู่ร่มรื่น อาชีพหลักส่วนใหญ่ของชุมชนคือ การทำการเกษตร ทำไร่และทำสวน อาชีพเสริมส่วนใหญ่คือ การรับจ้างทำงานในตัวเมือง ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในบ้านขณะที่ลงพื้นที่สำรวจคือผู้สูงอายุ ซึ่งมีการทอผ้า จักสาน เลี้ยงสัตว์ดังเช่น วัว ควาย เป็นอาชีพเสริม
องค์ความรู้ที่ได้
ชุมชนแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันแล้วแต่บริบทของพื้นที่นั้นๆแต่ชาวบ้านก็สามารถหาจุดเด่นของชุมชนตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านพื้นที่หรือทรัพยากรมาเพิ่มมูลค่าให้กับตนเองและครอบครัวและยังนำจุดเด่นตรงนั้นมาสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วยเพราะเช่นนี้ ชาวบ้านในชุมชนจึงใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
วีดีโอการปฏิบัติงาน