ข้าพเจ้านายสุมิตร สกุลเจริญ ผู้รับจ้างงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลบ้านปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) และคณะได้มีการลงพื้นที่พบผู้นำชุมชน ชาวบ้านโดย เดือนที่ผ่านมานี้ ได้เข้าไปยังพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลชุมชนตำบลบ้านปรือ ได้เห็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและเป็นกันเองช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำไร่ ทำนา ค้าขายตามอัตภาพในพื้นที่ชนบทแห่งนี้ ในการปฏิบัติงานในเดือนพฤษภาคม
ข้าพเจ้าได้ทำการกรอกข้อมูล 01 02 ของหมู่บ้านที่เหลือลงในระบบให้เสร็จก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม และได้ลงพื้นที่กับคณะปฏิบัติงานในการสำรวจข้อมูลทั้ง 10 ด้าน คือ
1) ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
2) แหล่งท่องเที่ยว
3) ที่พัก/โรงแรม
4) ร้านอาหารในท้องถิ่น
5) อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น
6) เกษตรกรในท้องถิ่น
7) พืชในท้องถิ่น
8) สัตว์ในท้องถิ่น
9) ภูมิปัญญาท้องถิ่น
10) แหล่งน้ำในท้องถิ่น และนำข้อมูลด้านต่างๆบันทึกลงในแอป U2T ของทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation) เพื่อเป็นข้อมูลของตำบลบ้านปรือแล้วจะนำข้อมูลในส่วนนี้ไปใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ข้าเจ้าจึงเห็นว่ามีโครงการหนึ่งที่เหมาะนำมาช่วยเหลือประชากรในพื้นที่แห่งนี้เป็นอย่างมากคือ โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ที่จะช่วยลดปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นได้ โครงการธนาคารน้ำใต้ดินเป็นโครงการที่จะกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงฤดูฝนไว้ใต้ดิน ตั้งแต่ระดับใต้ดินถึงความลึกของหลุมที่ขุด เพื่อให้น้ำกระจายออกในแนวระนาบ (เปิดอากาศให้ผิวดิน) เพราะหากเราไม่จัดเก็บน้ำลงสู่ใต้ดิน แล้วปล่อยให้น้ำฝนไหลทิ้งตามผิวดิน เมื่อน้ำฝนที่ไหลทิ้งเหล่านี้ไปรวมตัวกันเยอะก็จะเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมขังดังเช่นในปัจจุบัน และหลุมนี้ยังเป็นการรักษาความชุ่มชื้นให้ชั้นผิวดิน จากดินที่แห้งแข็งก็จะนุ่มชุ่มชื้น ทำให้ต้นไม้ในบริเวณที่ทำธนาคารน้ำใต้ดิน จะอุดมสมบูรณ์ไม่แห้งแล้ง เปรียบเสมือนเราเปลี่ยนพื้นที่กันดารให้เป็นที่ชุ่มผืนใหญ่ หรือกระถางต้นไม้แบบแก้มลิงขนาดใหญ่ หากพวกเรานำโครงการธนาคารน้ำใต้ดินนี้มาใช้ ก็จะคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนป่าผืนดิน และรักษาแหล่งน้ำให้ยังคงมีน้ำเพียงพอสำหรับฤดูแล้ง
อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาเรื่องไฟป่าไปด้วยจากประโยชน์ที่ข้าพเจ้าได้รับความรู้จากแนวปฏิบัติของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินจึ่งเห็นว่าเป็นโครงการที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำเข้ามาช่วยเหลือปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนทรัยพากรน้ำของประชากรในชุมชนต่อไป