ข้าพเจ้านางสาวอังคณา ขวัญศิวิไลย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลลำดวน หลักสูตร: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายได้ในตำบล MS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ในเดือนตุลาคม 2564 เวลา ณ. ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
เดือนตุลาคม ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติ โดยแบ่งออกเป็น 8 หัวข้อหลัก คือ 1. แผนที่ตำบลลำดวน 2. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน 3. สถานที่ท่องเที่ยวในตำบลลำดวน 4. วัฒนธรรมและประเพณี 5. กิจกรรมการท่องเที่ยว 6. ผลิตภัณฑ์ชุมชน 7. อาหารพื้นถิ่น 8. โฮมสเตย์ ซึ่งได้จัดกลุ่มเพื่อลงพื้นที่ตำบลลำดวน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในหัวข้อดังกล่าว
นอกจากนี้ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติได้ร่วมกิจกรรมการอบรมเรียนรู้วิธีการใช้ App Museum Pool และแฟลตฟอร์ม นวนุรักษ์ กับบริษัท Nectec ภายใต้โครงการ U2T Hackathon ซึ่งแฟลตฟอร์มดังกล่าว เป็นแฟลตฟอร์มที่แสดงข้อมูลเกี่ยวข้อมูลชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้อมูลทางชีวภาพ รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยว และการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวในตำบลลำดวน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้ทราบถึงข้อมูลเชิงลึกของชุมชน ได้ทราบ Story Telling เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือผ้าไหม โดยการสร้างคิวอาร์โค้ด เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลชุมชน
วันอังคาร ที่ 5 ตุลาคม ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติ ลงพื้นที่ถ่ายทำสื่อประชาสัมพันธ์ เน้นความเป็นเอกลักษณ์วิถีชุมชนตำบลลำดวน โดยถ่ายทอดเรื่องราวการทอผ้าไหม รวมถึงการสืบสานประเพณีความเชื่อท้องถิ่น การแซนโฎนตา บุญเดือน 10 ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย เป็นการเซ่นผีบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นประเพณีที่ชาวเขมรถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ
วันพุธ ที่ 6 ตุลาคม ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในหัวข้อ สถานที่ท่องเที่ยว ตำบลลำดวน ซึ่งชุมนตำบลลำดวนมีทั้งหมด 18 หมู่บ้าน มีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ดังนี้ แม่น้ำลำชี โครงการฟาร์มตัวอย่าง ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ วัดยาง วัดบ้านลำดวน บ้านโบราณ นอกจากนี้ชุมชนบ้านลำดวนยังมีความโดดเด่นทางทางวัฒนธรรม ดนตรีกันตรึมโบราณ และที่พักโอมสเตย์สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว ตามแบบฉบับวิถีชุมชนตำบลลำดวนอีกด้วย
วันพุธ ที่ 10 ตุลาคม จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอ โดยการแปรรูป การทำพวงกุญแจจากเศษผ้า กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 7 กลุ่ม เป็นการอบรมให้ความรู้ สร้างเสริมอาชีพแก่ชุมชน เป็นการนำเศษผ้าที่เหลือใช้ ทำเป็นพวงกุญแจดอกทิวลิปและดอกลำดวน เพื่อเพิ่มมูลค่า การทำพวงกุญแจเป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นงานฝีมือ ซึ่งต้องใช้ความปราณีต และที่สำคัญทำให้ชุมชนต่อยอด สร้างรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
วันจันทร์ ที่ 11 ตุลาคม ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการจัดการอบรม หัวข้อเรื่อง Design Thinking โดย ดร.เพิ่มสิทธิ์ นำประสิทธิผล (ดร.ปัง) ภายใต้โครงการ U2T Hackathon ได้รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิด วิเคราะห์ องค์ประกอบของการทำนวัตกรรม “นวัตกรรม ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากทำ แต่นวัตกรรมคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ” “ไม่ว่าคุณอยากทำอะไร ขอให้เริ่มจากเข้าอกเข้าใจ User ของคุณก่อน” นอกจากนี้ยังมีเกมส์สนุกๆ ระดมความคิด ซ่อนแนวคิดมาให้ร่วมสนุกกับเพื่อนๆในทีม จึงทำให้เข้าใจถึงมุมมองความต้องการของกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น
วันพฤหัส ที่ 14 ตุลาคม ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการจัดการอบรม เพื่อพบปะพูดคุย ขอคำแนะนำต่างๆจาก Mentor ซึ่งมี Mentor มีความรู้ความสามารถด้านต่างๆ ในส่วนของทีมผการันดูลได้เลือก Mentor 3 ท่าน คือ 1. คุณภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์ 2. คุณวิณ โชคคติวัฒน์ และ 3. คุณพีระวัฒน์ อุรพีพัฒนพงศ์ ภายใต้โครงการ U2T Hackathon ได้รับความรู้และคำแนะนำต่างๆ การเล่าเรื่องผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีความน่าสนใจ (Story Telling) รวมถึงการออกแบบลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลลำดวน การผสมผสานลายร่วมสมัย ผ้าไทยประยุกต์ อีกทั้งการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยเน้นความยั่งยืน
จากข้อมูลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนตำบลลำดวนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆที่จัดขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับชุมชน รวมถึงการได้เรียนรู้และต่อยอด ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะมีกิจกรรมสร้างมัคคุเทศก์น้อยในตำบล โดยเน้นการเสริมองค์ความรู้ให้คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน