การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตลอดทั้งเดือน ตุลาคม ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ การปฏิบัติงานของดิฉัน นางสาวปานตะวัน พ่อค้า (บัณฑิตจบใหม่)
MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ ปัญญายงค์
จากการลงพื้นที่สอบถามประวัติของชุมชน หมู่บ้านทั้ง ๑๘ หมู่บ้านของตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่าแต่ล่ะหมู่บ้านจะ ตั้งชุมชนจะเริ่มต้นความเป็นมาที่แตกต่างกัน หมู่ ๑ บ้านลำดวนจะก่อตั้งก่อนลำดับแรก และมีบ้านแสลงพัน บ้านหนองพลวง บ้านยาง ต่อมามีการเริ่มแยกหมู่บ้านเพราะแต่ล่ะหมู่เริ่มมีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงต้องขยายหมู่บ้านออกมาตามลำดับ บ้านโน่นสว่าง บ้านแซว บ้านกระเจา บ้านประดู่ บ้านกระโดน บ้านหินโคน บ้านบุ บ้านหนองกุ้ง บ้านขามโคกโพธิ์ บ้านตาเหือง บ้านหนองแช่เสา บ้านลำดวนใต้ บ้านไทรทอง และ บ้านศรีสนวน เป็นลำดับสุดท้าย ตำบลลำดวนเป็นตำบลที่ใหญ่มีประชากรมากมายหลากหลายอาชีพ และมีที่ท่องเที่ยวมากมาย ธรรมชาติที่สวยงาม ลำชี ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร อาหาร พืชผลทางการเกษตร เป็นต้น
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สรุปข้อมูล จากการลงไปสำรวจของ บ้านไทรทอง หมู่ที่ ๑๗ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีสถานที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเหมาะแก่การไปท่องเที่ยว และมีประวัติที่น่าสนใจ ดังนี้
ประวัติของชุมชน การเกิดของชุมชนเดิมชุมชนรวมกันกับบ้านยางและเมื่อสมัยปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้แยกออกจากบ้านยางมาเป็นหมู่ ๑๗ บ้านไทรทอง ผู้บุกเบิกคนแรกคือนายยุทธพล ทะนวนรัมย์ ส่วนใหญ่ประชากรอพยพมาจากตำบลเพี้ยราม ตำบลบึง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ตั้งชุมชนบ้านไทรทองนี้ขึ้นก่อนหน้านั้นบ้านยางก็ คือ บ้านหนองไทรเมื่อแยกออกจากบ้านยางก็ให้ใช้ ” ไทร ” ยังอยู่ ตามคำลงท้ายของคำว่า “ ทอง ” คำว่า” ไทรทอง ” หมายความว่า อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร อาหาร พืชผลทางการเกษตร ชาติพันธ์ชุมชน เป็นชาวเขมร ภาษาพูดพื้นบ้านใช้ภาษาเขมร
สภาพทางภูมิศาสตร์ บ้านไทรทอง เป็นที่ราบลุ่มอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ ลำน้ำชี รูปทรงของชุมชนเป็นลักษณะสี่เหลี่ยม ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่พบหรือปรากฏการณ์ต่างๆ เหตุการณ์ที่สำคัญคือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้จัดตั้งหมู่บ้านไทรทองนี้ขึ้นประมาณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกอบต.ขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้ทำการเลือกตั้งผู้นำของหมู่บ้านซึ่งได้นายพรวน ชมโคกกรวด เป็นผู้นำ
บุคคลสำคัญ/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน คุณนิวัติ ทะนวนรัมย์ ชาวบ้านยกย่องว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านทางด้านผู้นำจิตใจ ทำพิธีในงานแต่ง พิธีทางพราหมณ์ ทำพิธีเรียกขวัญ และพระวิริยะ ปันหอม (พระวัดบ้านยาง) ชาวบ้านยกย่องว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ด้าน ศาสนา,พิธีกรรมต่างๆโดยเคยเป็นวิทยากรบรรยาย ทางธรรม ให้กับชาวบ้านในขณะประชุมและ สอนเด็กในชุมชนเล่นดนตรีพื้นบ้าน (เรือมตรด) , สอนชาวบ้านทำ (โลง) คือ กันชุ = โลง “เขมร เรียกว่า มะชุ” สถานที่สำคัญของชุมชน โรงเรียนบ้านยางการศึกษา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ชาวบ้านได้ปลูกสร้างอาคารโรงเรียนเกิดขึ้นเพื่อให้เด็กและประชาชนได้เข้าเรียนและมีวิชาความรู้จนถึงปัจจุบันนี้ และมีพระครูวิชิต ธรรมคุณ (หลวงตาชิต) เจ้าอาวาสวัดบ้านลำดวนและเจ้าคณะตำบลลำดวน ท่านได้ช่วยสร้างโรงเรียนจนเสร็จดังปัจจุบัน แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน วัดบ้านยางเป็นศูนย์กลางของชุมชน สถาปัตยกรรมมีบรรพบุรุษแต่โบราณที่มีศาลเจ้าพ่อ คือ มีต้นตราดขนาดใหญ่ อายุประมาณ ๒๐๐ ปี ประชาชนนับถือเพราะส่วนของตรงนี้มีการฝังกระดูกของบรรพบุรุษตั้งแต่ปี ๒๔๔๔ เป็นที่เคารพนับถือ บูชาของชุมชน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีพระองค์หนึ่งจากตำบลลำดวน คือ หลวงตาพริมไชยา ได้ชักชวนให้ชาวบ้านได้ช่วยกันปลูกสร้างวัด เดิมเป็นวัดท่าสว่าง หมู่ที่ ๗ ต.ลำดวน อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ต่อมาเปลี่ยนเป็น ชื่อว่าวัดยาง-หินโคน เพื่อเป็นศาสนาสถานในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดยางหรือวัดบ้านยาง
ภาพแหล่งท่องเที่ยว + ปราชญ์ชาวบ้าน ของชุมชนหมู่บ้านไทรทอง
🎬 ประมวลภาพกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูป จากเศษผ้าไหม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นสินค้าของฝาก วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ โดย วิทยากร คุณสุริสา มุ่งดี วิทยากร ร่วมกับอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง และทีมงาน U2T ตำบลลำดวน นายวันเฉลิม ปิ่นแก้ว ณ ศูนย์ศิลปาชีพ ตำบลดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูป จากเศษผ้าไหม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นสินค้าของฝาก ………..โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ที่ศูนย์ศิลปาชีพตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับเกียรติ โดยวิทยากรคุณสุริสา มุ่งดี หลังจากบรรยายเรียบร้อยแล้วได้ให้ชาวบ้านช่วยกันทำพวงกุญแจและเข็มกลัดดอกลำดวน จากเศษผ้าไหม ไว้ขายเป็นสินค้าประจำตำบล และทีมปฏิบัติงานได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย เพื่อให้มีความรู้ และไว้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เป็นที่รู้จักบุคคลภายนอกมากยิ่งขึ้น การนำผ้าทอมาแปรรูปเป็น พวงกุญแจและเข็มกลัด เป็นการสร้างรายได้ให้คนภายในครอบครัวได้มากยิ่งขึ้น ต้องขอขอบคุณ ตัวแทนทุกหมู่บ้านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างยิ่ง 🙏🙏🥰🥰
ภาพกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแปรรูป จากเศษผ้าไหม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นสินค้าของฝาก
วีดีโอสรุปกิจกรรม