ข้าพเจ้านางสาว สุกัญญา นุชาญรัมย์ ประเภทประชาชน ต.ลำดวน

หลักสูตร : ประเพณีแซนโฎนตา เดือนตุลาตม ปี 2564 ได้ลงพื้นที่กับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ใน ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสืบทอดและการดำรงค์อยู่ของงานบุญประเพณีแซนโฎนตา หรือ“บ็อน (แค) เบ็ณฑ์” ในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรปัจจุบัน ของหมู่บ้านกระเจา ต. ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ โดยมีสมมติฐานว่า ชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมร หมู่บ้านแห่งนี้มีควาพยายามรักษาและสืบทอดประเพณีแซนโฏนตา โดยคงองค์ประกอบหลักและสาระสำคัญตามฐานความเชื่อเดิม แต่มีการดัดแปลงรูปแบบบางอย่างสิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตา แต่ละบ้านจะทำพิธีแซนโฎนตาแล้วแต่เวลาตามสะดวก สิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตา ได้แก่

  • กรวยดอกไม้ 5 กรวย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 ใส่พานพร้อมทั้งเงินทองของมีค่า
  • เสื้อผ้าใหม่ ผ้าโสร่ง และผ้าซิ่นไหม ที่ยังไม่ได้ใช้ 1 สำรับ พร้อมแป้งหอม น้ำหอม น้ำอบ หวี กระจก
  • สำรับกับข้าว 1 สำรับ เป็ดต้ม 1 ตัว ไก่ต้ม 1 ตัว หรือมีหัวหมู ตามแต่ฐานะ
  • กับข้าวต่างๆ
  • ขนมต่างๆ ได้แก่ ขนมข้าวต้มห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ขนมข้าวต้มหมู ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ ขนมกันเตรือม ขนมกันตางราง ขนมนางเล็ด
  • ขนมไข่หงส์ ขนมข้าวเกรียบ ขนมข้าวพอง
  • ผลไม้ต่างๆ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ มะพร้าวอ่อนและกล้วยน้ำว้าสุก
  • น้ำดื่ม เหล้า ตามแต่เห็นสมควร
  • เทียน 2 เล่ม จุดไว้อย่าให้ดับ
  • กระถางธูปและธูป ไว้สำหรับจุดเวลาเซ่น และจะใช้ปักไว้ตามจานอาหารด้วย

เดือนตุลาคม ของทุกปีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์พุทธศาสนาและผีหรือดวงวิญญาณ อันเป็นหัวใจของงานบุญหรือประเพณีแซนโฎนตา ยังคงได้รับการสืบทอดมาอย่างโบราณ นับตั้งแต่การเตรียมงาน พิธี“โซดดารเบ็ณฑ์ตูจ” พิธี“กันซ็อง” พิธี“ฉลองซ็อง”
พิธี“แซนโฎนตา” พิธี“จูนโฎนตา” พิธี“จะกันเจอโฎนตา” พิธี“โซดดารเบ็ณฑ์ทม” และพิธี“จูนโฎนตาหลบสรุก”  ทุกกิจกรรมเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดยมีความเชื่อเกี่ยวกับดวงวิญญาณบรรพบุรุษเป็นจุดเชื่อมร้อยถึงแม้ชาวชุมชนจะพยายามรักษาและสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพชน  เพียงใด แต่ปัจจัยภายนอกบางประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจสังคม เวลาสถานที่ และ กระแสโลกาภิวัตณ์
ต้องมีการปรับรูปแบบ ขั้นตอน หรือรายละเอียดของกิจกรรมและพิธีกรรมบางช่วงตอน หากแต่สาระสำคัญของประเพณีที่มุ่งเน้นให้คนที่มีชีวิตอยู่ได้ตอบแทนบุญคุณคนตาย คนเป็น และพุทธศาสนา ผ่านทุกช่วงกิจกรรมยังคงได้รับการรักษาและสืบทอดไว้อย่างมั่นคงตามฐานความเชื่อเดิม ลักษณะเช่นนี้ช่วยตอกย้ำให้เห็นความเข้มแข็งและจิตวิญญาณด้านการอนุรักษ์ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมร ความสำคัญประเพณีแซนโฎนตา  การสืบทอด การดำรงค์อยู่ของประเพณีและพิธีกรรมดั้งเดิม

 

 

อื่นๆ

เมนู